Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16237
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอตินุช มาลากุล ณ อยุธยา-
dc.contributor.advisorพนมพร วานิชชานนท์-
dc.contributor.authorจิตติมา พุ่มกลิ่น-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-11-29T08:30:14Z-
dc.date.available2011-11-29T08:30:14Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16237-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบสอบถามวัดความสามารถในการบดเคี้ยวของผู้ป่วยไทยที่มีอาการเท็มโพโรแมนดิบูลาร์ดิสออเดอร์ เมื่อใช้อาหารไทยเป็นตัวประเมิน โดยทำการศึกษาในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การศึกษาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างแบบสอบถามวัดความสามารถในการบดเคี้ยว โดยสัมภาษณ์กลุ่มผู้ป่วยเท็มโพโรแมนดิบูลาร์ดิสออเดอร์ จำนวน 30 คนเกี่ยวกับชนิดอาหารที่มีผลต่ออาการเจ็บปวด แล้วนำรายการอาหารมาสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นต่อความเหนียว/แข็งของอาหาร เพื่อให้กลุ่มคนทั่วไปจำนวน 200 คน ให้คะแนนระดับความเหนียว/แข็งของอาหารนั้น ๆ ในขั้นตอนนี้ได้ตัวแทนอาหารทั้งหมด 7 ชนิดสำหรับแบบสอบถามวัดความสามารถในการบดเคี้ยว จากนั้นทดสอบความถูกต้องและความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามวัดความสามารถในการบดเคี้ยวที่สร้างขึ้นในขั้นตอนที่ 2 โดยทดสอบในกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มคนทั่วไปจำนวนกลุ่มละ 36 คน ทดสอบความถูกต้องตามเกณฑ์โดยเปรียบเทียบกับค่าสมรรถภาพการบดเคี้ยวด้วยวิธีตะแกรงร่อนของ Ernest วัดค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามด้วยการวัดซ้ำ โดยให้กลุ่มตัวอย่างทั้ง 72 คน ทำแบบสอบถามเดิมซ้ำหลังจากครั้งแรก 1 อาทิตย์ พบว่าแบบสอบถามที่สร้างขึ้นมีความถูกต้องในเนื้อหาและความถูกต้องในทัศนะของผู้เกี่ยวข้องในระดับหนึ่งอีกทั้งมีความถูกต้องในแง่ที่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลประกอบ คือแบบสอบถามวัดความสามารถในการบดเคี้ยวนี้สามารถแยกกลุ่มคนทั่วไปกับกลุ่มผู้ป่วยออกจากกันได้และสามารถแยกกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับอาการเจ็บปวดแตกต่างกันได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดน้อยจะมีค่าความสามารถในการบดเคี้ยวสูงกว่าผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดมากกว่า ความถูกต้องของการวัดโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง (correlation coefficient = 0.594) และแบบสอบถามนี้มีค่าความเชื่อถือได้ (correlation coefficient = 0.968)ด้วยวิธีการวัดซ้ำอยู่ในระดับสูง โดยสรุปแบบสอบถามวัดความสามารถในการบดเคี้ยวที่สร้างขึ้นสามารถนำมาวัดค่าความสามารถในการบดเคี้ยวในผู้ป่วยไทยที่มีอาการเท็มโพโรแมนดิบูลาร์ดิสออเดอร์ทางคลินิกได้สะดวก ไม่ยุ่งยากซับซ้อนและไม่ใช้อุปกรณ์ใด ๆ เพิ่มเติม แต่เนื่องจากการศึกษานี้เป็นการศึกษาเฉพาะกลุ่มพื้นที่ อาจมีข้อจำกัดในการขยายผลไปยังกลุ่มประชากรอื่น ๆen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to develop a chewing ability questionnaire for Thai TMD (Temporomandibular Disorders) patients, using a variety of Thai foods. The study was divided into two steps, and was conducted at the Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University. The first step was to create the questionnaire. A total of 30 TMD patients were interviewed about which kinds of food caused painful or non-painful symptoms when chewing. This list of foods was used to create the questionnaire, which involves the toughness and hardness of the various foods. Later, 200 normal subjects evaluated the foods using these criteria. We then selected a final list of appropriate foods to include in the questionnaire. The second step was to test the validity and reliability of the chewing ability questionnaire. The questionnaire was given to two groups of 36 people each: TMD patients, and a control group. In order to test the criterion validity of the questionnaire, we compared it with the masticatory performance by sieving technique of Ernest. One week later, 72 people again filled out the questionnaire. The results show that the chewing ability questionnaire has not only content validity and face validity, but also construct validity: meaning that the questionnaire is able to distinguish normal people from patients with TMD symptoms. Furthermore, it can accurately and precisely classify symptomatic patients by their level of pain (p<0.05). Patients with less pain were found to have more effective chewing ability than patients with more pain. Criterion validity was in an average range (correlation coefficient = 0.594). The questionnaire indicated a strong test-retest reliability (correlation coefficient = 0.968). In conclusion, this questionnaire is able to assess the chewing ability of TMD patients easily and conveniently in clinical usage, without any need for complicated methods or equipment. However, it should be noted that this study was limited to a small, local-area population.en
dc.format.extent1368057 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.505-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectฟัน -- โรคen
dc.titleการพัฒนาแบบสอบถามวัดความสามารถในการบดเคี้ยวอาหารของผู้ป่วยไทยที่มีอาการเท็มโพโรแมนดิบูลาร์ดิสออเดอร์en
dc.title.alternativeDevelopment of chewing ability questionnaire for Thai temporomandibular disorder patientsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมบดเคี้ยวes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAtinuch.K@chula.ac.th-
dc.email.advisorPhanomporn.V@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.505-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jittima_pu.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.