Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16247
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีณา จีระแพทย์-
dc.contributor.authorขนิษฐา จำปางาม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-11-30T14:57:59Z-
dc.date.available2011-11-30T14:57:59Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16247-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการตัดสินใจจัดอัตรากำลังของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลทุติยภูมิ ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการอบรมแบบมีส่วนร่วมและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำแนกประเภทผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลหัวหน้าเวรประจำหอผู้ป่วยสามัญและหอผู้ป่วยพิเศษทั้งหมด ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทุติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 17 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการอบรมแบบมีส่วนร่วมเรื่องการจัดอัตรากำลังสำหรับพยาบาลหัวหน้าเวร โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำแนกประเภทผู้ป่วย คู่มือแนวทางการจัดอัตรากำลังและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำแนกประเภทผู้ป่วย แบบบันทึกการตัดสินใจการจัดอัตรากำลังตามสถานการณ์จริงบนหอผู้ป่วย และแบบวัดความสามารถในการตัดสินใจจัดอัตรากำลัง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา แบบวัดความสามารถในการตัดสินใจจัดอัตรากำลังมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ ความสามารถในการตัดสินใจจัดอัตรากำลังของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลทุติยภูมิ หลังใช้โปรแกรมการอบรมแบบมีส่วนร่วมและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำแนกประเภทผู้ป่วย สูงกว่าก่อนใช้โปรแกรมการอบรมแบบมีส่วนร่วมและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจำแนกประเภทผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 ([x-bar] = 96.24, SD + 9.10; [x-bar] = 78.06, SD + 10.51 ตามลำดับ)en
dc.description.abstractalternativeThis study is a one-group pretest-posttest quasi–experimental research design. The objectives were to compare staffing decision making of in-charge nurses before and after using the participatory training program and the patient classification computer program. Subjects were 17 professional nurses who worked in an in-patient unit of a secondary level hospital under the jurisdiction of the Ministry of Public Health. The research instruments included staffing decision making training program for in-charge nurses, the patient classification computer program and the staffing decision making questionnaire which had content validity. The reliability of staffing decision making questionnaire was 0.91. Data were analyzed by using mean, standard deviation and dependent t-test. Major finding of the study was as follow : Staffing decision making of in-charge nurses after using the participatory training program and the patient classification computer program was significantly higher than that before using the participatory training program and the patient classification computer program at a level of 0.05 ([x-bar] = 96.24, SD + 9.10; [x-bar] = 78.06, SD + 10.51; respectively).en
dc.format.extent12705007 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.748-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพยาบาล -- อัตรากำลังen
dc.titleผลของโปรแกรมการอบรมแบบมีส่วนร่วมและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อการจำแนกประเภทผู้ป่วยต่อความสามารถในการตัดสินใจจัดอัตรากำลังของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลทุติยภูมิen
dc.title.alternativeThe effect of participatory training program and patient classification computer program on staffing decision making of in-charge nurse in the secondary level hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVeena.J@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.748-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Khanittha.pdf12.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.