Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16282
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนรลักขณ์ เอื้อกิจ-
dc.contributor.authorดวงกมล มงคลศิลป์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2011-12-04T09:04:04Z-
dc.date.available2011-12-04T09:04:04Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16282-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น เกิดจากแรงผลักดันภายในตนเอง และรองลงมาคือการชักชวนของเพื่อน ซึ่งเป็นแรงผลักดันจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการพัฒนาทักษะชีวิตจึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ในเด็กวัยรุ่นตอนต้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ในเด็กวัยรุ่นตอนต้น กรุงเทพมหานคร โดยใช้แนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิต (WHO, 1994) ร่วมกับกระบวนการเรียนรู้ตามทฤษฎีปัญญาสังคมของ Bandura (1986) กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มวัยรุ่นตอนต้นที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 คน จาก 2 โรงเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ด้วยการจับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ จำนวน 1 ครั้ง ระยะเวลา 8 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ประกอบด้วย แผนการสอน เอกสารความรู้ สถานการณ์จำลอง และสื่อการสอนที่ผู้วิจัยได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ได้แก่ วีซีดีเรื่อง โทษและพิษภัยจากบุหรี่ บทสัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคถุงลมปอดโป่งพอง โปสเตอร์และแผ่นพับเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่และพิษภัยของบุหรี่ ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนนำไปใช้ในการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่ แบบวัดความตระหนักในตนเองเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ แบบวัดทักษะการตัดสินใจ แบบวัดทักษะการแก้ไขปัญหา และ แบบวัดทักษะการปฏิเสธ ได้ค่าความเที่ยง .60, .60, .60, .70, .60 และ .60 ตามลำดับ เก็บข้อมูลก่อนทดลอง หลังการทดลอง 1 สัปดาห์ และระยะติดตามประเมินผล 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Repeated measures ANOVA และ สถิติการทดสอบค่าที (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ของเด็กวัยรุ่นตอนต้นในกลุ่มที่ได้รับกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ หลังการทดลอง 1 สัปดาห์ และระยะติดตามประเมินผล 1 เดือน สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ของเด็กวัยรุ่นตอนต้นในกลุ่มที่ได้รับกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่หลังการได้รับโปรแกรม 1 สัปดาห์ และระยะติดตามประเมินผล 1 เดือน สูงกว่ากลุ่มเด็กวัยรุ่นตอนต้นที่ได้รับความรู้ตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01en
dc.description.abstractalternativeThe intrapersonal and peer pressure are influences on adolescents smoking behavior. Developing life skills by learning process can have influence in prevention of smoking behavior in early adolescents. The purpose of this quasi–experimental research was to examine the effect of learning process for developing life skills on smoking prevention behavior in early adolescents, Bangkok Metropolis. Life skills (WHO, 1994) and Learning Process in Social Cognitive Theory (Bandura, 1986) were used as the conceptual frameworks to develop the program. A cluster sample consisted of 60 students of Prathomsuksa 6 students from 2 primary schools. A matched-pair technique was used to assign to experimental and control group. Each group consisted of 30 students. The control group received usual knowledge in smoking prevention while the experimental group received the learning process for developing life skills on smoking prevention behavior, including a health teaching plan, scenario, poster, and VCD about a harmful of smoking. They were tested for content validity by a panel of experts. Smoking prevention behavior questionnaire, knowledge in harmful of smoking questionnaire, awareness of smoking questionnaire, decision making skill questionnaire, problem solving skill questionnaire, and refusal skill questionnaire were used to collect data at three points of time; pre-test, post-test, and 1 month follow up. The questionnaires were tested for reliability with Cronbach’s alpha coefficients at .60, .60, .60, .70, .60, and .60, respectively. Data were analyzed using repeated measures ANOVA and Independent t-test. Major findings were as follows: 1. The mean post- test score at 1 week and 1 month follow up of smoking prevention behavior in the experimental group were significantly higher than those of the pre-test score (p <.01). 2. The mean scores of smoking prevention behavior of early adolescents in the experimental group at post-test 1 week and 1 month follow up were significantly higher than those of early adolescents in the control group (p<.01).en
dc.format.extent2164755 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1247-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสูบบุหรี่ -- การป้องกันen
dc.titleผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ในเด็กวัยรุ่นตอนต้น กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeThe effect of learning process for developing life skills on smoking prevention behavior in early adolescents, Bangkok metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNoraluk.U@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1247-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Duangkamon_mo.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.