Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16321
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนฤมล อรุโณทัย-
dc.contributor.authorเมธิรา ไกรนที-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialภูเก็ต-
dc.date.accessioned2011-12-07T10:07:41Z-
dc.date.available2011-12-07T10:07:41Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16321-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาค้นคว้าและนำเสนอภาพเกี่ยวกับพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานของชุมชนอูรักลาโว้ยในพี้นที่ภูเก็ต และเหตุผลของการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ปัจจุบัน 2. ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของชาวอูรักลาโว้ย และวิเคราะห์แนวทางการดำรงชีพและการตั้งถิ่นฐานตามแนวคิดนิเวศวัฒนธรรมและนิเวศชาติพันธุ์ 3. ศึกษาผลกระทบจากการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ-สังคม ทั้งจากภายนอกและภายในชุมชนอูรักลาโว้ยที่เกี่ยวเนื่องกับการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยของชาวอูรักลาโว้ย ในจังหวัดภูเก็ต และ 4. เสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมความมั่นคงในการอยู่อาศัยของชาวอูรักลาโว้ยในจังหวัดภูเก็ต โดยใช้แนวคิดการพัฒนาที่คำนึงถึงสิทธิชุมชน ในการวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลทั้งการศึกษาวิจัยเอกสารและการศึกษาวิจัยภาคสนาม เน้นข้อมูลจากประวัติศาสตร์บอกเล่าของบุคคลในพื้นที่ สืบสาวถึงความเป็นมาของการอพยพโยกย้ายที่เล่าขานต่อๆ กันมา นำเสนอผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ในการวิจัย อภิปรายผลตามกรอบแนวคิดที่แสดงถึงพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานชุมชนอูรักลาโว้ย ในพื้นที่ภูเก็ตจากมุมมองนิเวศวัฒนธรรม ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ชาวอูรักลาโว้ยส่วนใหญ่กล่าวว่า บรรพบุรุษของชาวอูรักลาโว้ยได้เดินทางมาจากด้านใต้ของคาบสมุทรมลายู ซึ่งปัจจุบันเป็นดินแดนของอินโดนีเซียและมาเลเซีย และเดินทางด้วยเรือมาเรื่อยๆ จนเข้าสู่ทะเลอันดามัน ซึ่งอาจจะมีสาเหตุเพื่อการทำมาหากิน การพักอาศัยตามเกาะหรือสถานที่ที่มีความเหมาะสม ตั้งแต่บริเวณหมู่เกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ และเกาะบุโหลน จังหวัดสตูล เดินทางต่อมาเรื่อยๆ ผ่านเกาะต่างๆ ในจังหวัดตรัง เช่น เกาะมุก เกาะไหง เกาะกระดาน จนมาถึงบริเวณจังหวัดกระบี่ ซึ่งชาวอูรักลาโว้ยบางคนก็มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เกาะลันตา บ้างก็เดินทางต่อมายังจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเดิมก็อาศัยอยู่บริเวณเกาะบอน เกาะเฮ เกาะโหลน แหลมกาใหญ่ ฯลฯ ก่อนที่จะเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ปัจจุบัน คือชุมชนบ้านหาดสะปํา ชุมชนบ้านแหลมตุ๊กแก (เกาะสิเหร่) และชุมชนบ้านหาดราไวย์ ซึ่งอย่างน้อยน่าจะเป็นระยะเวลากว่า 200 ปีมาแล้ว ปัจจัยในการเลือกสถานที่ตั้งถิ่นฐานของชาวอูรักลาโว้ย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านกายภาพและปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ที่นำมาเป็นตัวกำหนดการพิจารณาถึงสถานที่ที่มีความเหมาะสม ทั้งต่อการอยู่อาศัยและการทำมาหากิน และมีความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน อันแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีความมุ่งหวังเพื่อให้ตนมีชีวิตอยู่รอด เป็นการรักษาไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร และการแสดงออกซึ่งความผูกพันระหว่างชาวอูรักลาโว้ย ที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสถานที่ต่างๆ ทั้งในฐานะของผู้ใช้ประโยชน์และผู้รักษาไว้ให้คงอยู่ด้วยปัจจัยด้านการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี การเดินทางทางทะเลและการทำมาหากิน การรับอิทธิพลทางสังคม วัฒนธรรมจากสังคมใหญ่ และการที่พื้นที่ทำมาหากินและอยู่อาศัยจำกัดลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ชาวอูรักลาโว้ยต้องเปลี่ยนจากวิถีชีวิตแบบกึ่งเร่ร่อนในอดีต และท้ายสุดแล้วชาวอูรักลาโว้ยได้เลือกบางพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยอย่างกึ่งถาวรหรืออยู่อย่างถาวรมากขึ้นในปัจจุบัน ชุมชนอูรักลาโว้ยที่ตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวรในจังหวัดภูเก็ต ล้วนเป็นชุมชนที่เผชิญกับปัญหาเรื่องสิทธิพื้นฐาน และปัญหาความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย อันมีสาเหตุมาจากกระบวนการพัฒนา ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่เน้นนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก การส่งเสริมการท่องเที่ยว การพัฒนาระบบกรรมสิทธิที่ดินที่รับรองโดยใช้หลักฐานเอกสาร และปัจจัยภายในที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และความจำกัดของพื้นที่ ปัญหาความยากจนและหนี้สิน ความเกรงกลัวบุคคลภายนอกและการขาดการรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน ส่งผลให้ชาวอูรักลาโว้ยต้องมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องด้านที่อยู่อาศัยและการทำมาหากิน แนวทางในการส่งเสริมความมั่นคงในการอยู่อาศัยของชาวอูรักลาโว้ย ควรมีการยึดหลักสิทธิชุมชน ซึ่งต้องเปิดโอกาสให้ชาวอูรักลาโว้ยมีอำนาจในการจัดการทรัพยากรได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากชาวอูรักลาโว้ยมีวิถีการดำรงชีวิตที่อยู่ร่วมกับฐานทรัพยากร สามารถหากินและดูแลทรัพยากรในฐานะของเจ้าของฐานทรัพยากร ที่มีภูมิปัญญาที่ปรากฏออกมาในรูปแบบของความเชื่อ พิธีกรรมต่างๆ และมีการติดต่อกันระหว่างกลุ่มเดียวกันทั้งในรูปแบบการพึ่งพาอาศัย การหากินในบริเวณใกล้เคียงกันและการร่วมสืบทอดภูมิปัญญาเหล่านั้นให้คงอยู่ เพื่อความสงบสุขในการอยู่อาศัยที่ทุกคนสามารถเข้าถึงฐานทรัพยากรที่มีความอุดมสมบูรณ์ และในการดำเนินงานพัฒนา จะต้องได้รับความร่วมมือทั้งจากชาวอูรักลาโว้ย หน่วยงานรัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน ที่จะต้องทำงานแบบประสานความร่วมมือกัน โดยเฉพาะการจัดตั้งเป็นพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ เพื่อส่งผลให้ชาวอูรักลาโว้ยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการมีเอกลักษณ์ วัฒนธรรมที่มีความพิเศษและโดดเด่นท่ามกลางความเจริญ และความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเป็นการพัฒนาที่ส่งเสริมให้ชาวอูรักลาโว้ยได้ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง และไม่เป็นการทำลายวิถีวัฒนธรรมเดิมen
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims at 1) studying and presenting the development of Urak Lawoi community settlement in Phuket and the factors influencing the settlement; 2) studying Urak Lawoi local knowledge about settlement and analyzing local livelihood through cultural ecology perspective; 3) studying the impact of development and socio-economic change from internal and external factors, and the present state of Urak Lawoi settlement security in Phuket, and 4) suggesting the ways to promote settlement security for the Urak Lawoi in Phuket by using the concept of community rights. This thesis uses qualitative research method by conducting literature review and field research. The focus is on oral history which gives a trace of settlement development. The majority of the Urak Lawoi stated that their forefathers came from the southern part of Malay peninsula and travelled by boats through islands in the Andaman Sea, settled temporarily along suitable sites from Adang islands, Lipe island, Bulone islands in Satun, Mook island, Nagi island, and Kradan island in Trang, Lanta island in Krabi, and then to Bon island, He island, Lone island and Ka Yai cape around Phuket area. Over 200 years ago they frequented these places and eventually settled down permanently in Sapam beach, Koh Sireh, and Rawai beach. Factors influencing the settlement include physical and socio-economic factors. The Urak Lawoi also have beliefs and rituals on settlement that indicate physical and cultural adaptation to the environment and natural resources. The Urak Lawoi utilize local natural resources and they have practices to protect and conserve the environment as well. Choosing to settle down permanently is another way of adaptation for the Urak Lawoi. Consequently, they have to adjust their boats and fishing technology, and their livelihood has been affected by larger society. In addition, the Urak Lawoi fishing grounds have been decreased due to the development of the coastal areas and the establishment of protected areas. Nowadays, the Urak Lawoi communities in Phuket are all facing the problems of community rights and settlement security. Growth-oriented development, the expansion of tourism industry, and land title system based on legal documents have negative impact on the communities. Internal factors that escalate Urak Lawoi’s plight are population increase and limitation of settlement area, poverty and debt, fear of authority and influential outsiders, and the lack of self-organization. Settlement security should be promoted by using the concept of community rights. The Urak Lawoi should participate in decision-making and planning about their community and the use of natural resources. In the past, their traditional marine livelihoods and temporary settlements have proved that they could live harmoniously with the environment and natural resources for hundreds of years. Development process needs to consider their traditional knowledge and cultural competence. Their participation in the development process is crucial. Government agencies and non-profit organizations need to collaborate in working with the Urak Lawoi and developing special cultural areas in order to protect both the cultures and the peoples.en
dc.format.extent4877949 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.579-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอูรักลาโว้ยen
dc.subjectชาวเล -- ไทย -- ภูเก็ตen
dc.subjectการตั้งถิ่นฐานen
dc.subjectนิเวศวิทยามนุษย์en
dc.subjectวิทยาสังคมen
dc.titleพัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานชุมชนอูรักลาโว้ยในพื้นที่ภูเก็ตจากมุมมองนิเวศวัฒนธรรมen
dc.title.alternativeDevelopment of Urak Lawoi community settlement in Phuket from cultural ecology perspectiveen
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพัฒนามนุษย์และสังคมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorhnarumon@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.579-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
maytira_kr.pdf4.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.