Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16332
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิตติ กันภัย-
dc.contributor.authorชาลิน นุกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-12-08-
dc.date.available2011-12-08-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16332-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractศึกษาถึงลักษณะความเป็นผู้ชายและผู้หญิงในสมัยใหม่ที่ผ่านทางเพลงไทยยอดนิยม ว่าผู้ชายมีลักษณะอิตถีภาวะที่ปรากฏอย่างไรบ้าง และผู้หญิงมีลักษณะบุรุษภาวะที่ปรากฏอย่างไรบ้าง ตลอดจนอุตสาหกรรมการผลิตเพลงและผลิตศิลปิน โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกผลงานเพลงไทยยอดนิยมจากศิลปินชาย 10 ท่าน จำนวน 34 เพลง และผลงานเพลงไทยยอดนิยมจากศิลปินหญิง 11 ท่าน จำนวน 20 เพลง มาดำเนินการวิจัย โดยอาศัยแนวคิดเรื่องอิตถีภาวะในชายและบุรุษภาวะในหญิง เพศสภาพ การเล่าเรื่อง สัญญวิทยา และแนวคิดเรื่องเพลงไทยยอดนิยม มาเป็นกรอบในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะความเป็นอิตถีภาวะโดยรวม ที่ได้นำเสนอผ่านสื่อเพลงไทยยอดนิยมนั้น ค้นพบลักษณะอิตถีภาวะความอ่อนไหวมากที่สุดเป็นอันดับแรก โดยพบในตัวละครชายที่มีอารมณ์อ่อนไหวและร้องไห้ได้ง่าย และในผู้หญิงค้นพบบุรุษภาวะความมั่นใจในตัวเองมากที่สุดเป็นอันดับแรก โดยค้นพบในตัวละครหญิงที่มีลักษณะมั่นใจในตนเองและกล้าแสดงออก และชอบวิพากษ์วิจารณ์ ทางด้านอุตสาหกรรมเพลงไทยในสมัยปัจจุบันนั้น มีขั้นตอนในการคัดสรรศิลปิน 3 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ การคัดเลือกและแสวงหาความเป็นตัวตนของนักร้อง การวางความคิดหลักงานเพลงและการกำหนดภาพลักษณ์ รวมไปถึงขั้นตอนต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์ที่ล้วนแต่มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ โดยกระบวนการเหล่านี้จะมีผลต่อลักษณะความเป็นอิตถีภาวะและบุรุษภาวะ ที่ทำให้เห็นถึงลักษณะความเป็นอุดมคติของศิลปิน และส่วนที่เป็นความจริงของศิลปิน องค์ประกอบต่างๆ ในผลงานเพลง เช่น แนวเพลง รูปแบบท่าทางการแสดงออกและการเต้น รวมไปถึงการแต่งกาย ได้มีส่วนปรับเปลี่ยนรูปแบบและส่งเสริมให้เห็นถึง ลักษณะอิตถีภาวะและบุรุษภาวะที่มีในศิลปินมากยิ่งขึ้นen
dc.description.abstractalternativeTo analyze the anima in male singers and the animus in female singers of Thai popular songs. The samples include 34 songs by males singers and 20 by female singers for textual analysis. Music creators are also interviewed as key informants. The analytical framework employed is based on Anima and Animus Theory, Gender Theory and narrative. The findings show that the anima characteristic of male characters often found in Thai popular songs is ‘sensitivity’. Characters with this character will tend to be sensitive and vulnerable. Meanwhile, ‘assertiveness’ is the animus characteristic most often found in female characters. They usually behave in a confident way and tend to be very critical. According to music creators, the process of song creation is composed of five steps: audition, discovering a singer’s identity, song concept planning, developing a singer’s image and PR strategy planning. Each step is just as essential and must be well planned as they affect each singer’s image, regarding the anima or animus characteristics when it comes to their ideals and the way they live. Furthermore, music style, dancing and costumes are among the key elements that can emphasize a singer’s anima or animus.en
dc.format.extent2412637 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.261-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความแตกต่างทางเพศ (จิตวิทยา)en
dc.subjectความเป็นชายen
dc.subjectความเป็นหญิง (จิตวิทยา)en
dc.subjectเพลงไทยen
dc.subjectเพลงสมัยนิยมen
dc.subjectเอกลักษณ์ทางเพศen
dc.subjectสัญศาสตร์en
dc.titleอิตถีภาวะในชายและบุรุษภาวะในหญิงในเพลงไทยยอดนิยมen
dc.title.alternativeAnima and animus in Thai popular songsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKitti.G@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.261-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
charlin_nu.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.