Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16339
Title: | พลวัตของขบวนการต่อต้านการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 |
Other Titles: | The dynamics of EGAT anti-privatization movement after the 1997 economic crisis |
Authors: | ธวัชชัย ป้องศรี |
Advisors: | ประภาส ปิ่นตบแต่ง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Prapart.P@Chula.ac.th |
Subjects: | การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ขบวนการสังคม กลุ่มอิทธิพล วิกฤตการณ์การเงิน -- ไทย การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาว่า (1) ขบวนการต่อต้านการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ก่อตัวขึ้นมาโดยการเปลี่ยนสภาพ (transform) จากการเป็นกลุ่มผลประโยชน์หรือไม่ และถ้ามีการเปลี่ยนสภาพดังกล่าวเป็นเพราะสาเหตุใดและมีการเปลี่ยนสภาพอย่างไร (2) ขบวนการฯมีแนวทางการเคลื่อนไหวต่อสู้และยุทธวิธีการต่อสู้ (strategies and tactics) อย่างไร และมีพลวัตยุทธวิธีการเคลื่อนไหวต่อสู้อย่างไร และ (3) การเคลื่อนไหวต่อสู้ของขบวนการฯทำให้เกิดผลสะเทือน (impacts) ด้านการบรรลุเป้าหมายอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า ขบวนการต่อต้านการแปรรูป กฟผ. ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ก่อตัวขึ้นมาโดยการเปลี่ยนสภาพจากการเป็นกลุ่มผลประโยชน์ เนื่องจากข้อจำกัดในด้านเป้าหมายของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) นโยบายของระบบการเมืองและโครงสร้างของรัฐบาล โดย สร.กฟผ. เปลี่ยสภาพเป็นขบวนการทางสังคมด้วยการขยายเป้าหมาย ในการเคลื่อนไหวต่อสู้ให้ครอบคลุมผลประโยชน์ของสังคม และเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับตัวแสดงอื่นๆ ในสังคม หลังจากเปลี่ยนสภาพเป็นขบวนการทางสังคมแล้ว ขบวนการต่อต้านการแปรรูป กฟผ. ใช้แนวทางการเคลื่อนไหวต่อสู้ตามช่องทางระบบการเมืองปกติ โดยใช้ยุทธวิธีการรณรงค์เพื่อสร้างมวลชนของขบวนการฯ การชุมนุมประท้วง การถวายฎีกา และการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ซึ่งเป็นการใช้ยุทธวิธีต่างๆ ร่วมกัน โดยมียุทธวิธีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองเป็นยุทธวิธีสุดท้ายที่ขบวนการฯ เลือกใช้ และการเคลื่อนไหวต่อสู้ของขบวนการฯ ทำให้สามารถยับยั้งการแปรรูป กฟผ.ได้สำเร็จ |
Other Abstract: | To study whether (a) the movement against the privatization of Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT), that occurred after the economic crisis in 1997 are formed by transmutation of the interest groups or not. And if so, what are the main causes and how its transform? (b) In which strategies and tactics that the movement was used and how it has dynamically active (c) the movement has caused any impacts on the achievement goals and how. The results showed that the Movement against the privatization of EGAT, after the economic crisis in 1997, is formed by the difference groups of interests. Moreover, due to the limitations of the Labour Unions of Electricity Generating Authority of Thailand (LUEGAT), the policy of the political system, and the governmental structure, LUEGAT. Has transformed to be a social movement group with the goal of expanding networks and link with other actors in the social. After a process of social movement transmutation, the movement adopts their motion through the conventional way, such as using the tactics of the campaign to create a mass movement, present a petition to the Court and prosecution and mixture strategies. However, the prosecution strategy was the final tactic that the movement was successfully used to stop the process of privatization EGAT. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16339 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.741 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.741 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thawatchai_po.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.