Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16400
Title: | การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/เขต สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ |
Other Titles: | A development of the action learning model for enhancing the internal educational quality assurance-system of the non-formal educational centers, Office of the Non-Formal Education Commission, Office of the Permanent Secretary for Education, Ministry of Education |
Authors: | วารินทร์ สินสูงสุด |
Advisors: | อาชัญญา รัตนอุบล สมคิด พรมจุ้ย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ประกันคุณภาพการศึกษา การเรียนแบบมีส่วนร่วม |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ/เขต มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความจำเป็นในการส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบของการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อการส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อการส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 4) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการใช้รูปแบบ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างเฉพาะเจาะจง 2 แห่ง คือ ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตคลองสานกับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โดยแต่ละแห่งจัดกลุ่มการเรียนรู้จากการปฏิบัติแห่งละกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1. แบบสำรวจความจำเป็นในการดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 2. แบบทดสอบก่อนการดำเนินการทดลอง 3. แบบทดสอบหลังดำเนินการทดลอง 4. แบบคำถามเชิงลึกการใช้การเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อการส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 5. แบบทดสอบเพื่อตรวจสอบระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 6. แบบวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินการส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เครื่องมือที่ 1 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9297, เครื่องมือที่ 2 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9959, เครื่องมือที่ 3 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9959, เครื่องมือที่ 5 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9610, เครื่องมือที่ 6 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9849 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ การจัดลำดับ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. มีความจำเป็นในการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 2. รูปแบบของการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่พัฒนาได้ ประกอบด้วย 1) เรียนรู้หลักการ 2) ประสานแผนประชุม 3) พบกลุ่มร่วมเรียนรู้ 4) ถามดูให้ชัด 5) จัดการแลกเปลี่ยน 6) เรียนรู้แนวทาง 7) จัดสร้างจัดก่อ 8) ต่อเติมเสริมประสาน 9) สรุปผลการเรียนรู้ 10) ผู้คนชื่นชมผลงาน 3. ได้ผลจากการทดลองใช้รูปแบบของการเรียนรู้จากการปฏิบัติว่า ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนทั้งสองแห่งมีความรู้ และเจตคติต่อระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาสูงขึ้น 4. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการใช้รูปแบบของการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ประกอบด้วย บุคลากรมีความรู้ในระบบการประกันคุณภาพ บุคลากรทุกคนให้ความร่วมมือ ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร มีทรัพยากรสนับสนุน และได้รับคำชมเชย โดยศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี มีค่าเฉลี่ยแห่งปัจจัยของความสำเร็จสูงกว่าศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตคลองสาน |
Other Abstract: | The study was an action learning model development for enhancing the internal educational quality assurance system of the Non-formal Educational Centers, Office of the Non-formal Education Commission, Ministry of Education. The four purpose were to: 1) analyze the internal educational quality assurance system to determine which areas required enhancement, 2) develop an action learning model for enhancing the internal educational quality assurance system, 3) deploy an implementation of the model and 4) analyze the success factors of the model. Two non-formal educational centers were selected by purposive sampling technique; Klongsarn, Bangkok, and Ban Beung, Chonburi Province. Each of the centers set up an action learning set. The research instruments consisted of 1) a survey to examine the needs of implementation of the internal educational quality assurance in the Non-formal Education Centers, 2) a pre-test before the implementation, 3) a post-test after the implementation, 4) in depth questions in using the action learning model for enhancing the educational quality assurance system of the Non-formal Educational Centers, 5) a questionnaire for examining the internal educational quality assurance system, 6) a questionnaire for analysis of the key success factors in implementation of the internal educational quality assurance system of the Non-formal Educational Centers. The reliability for questionnaires was tested. The reliability of questionnaire 1 was 0.9297, questionnaire 2 was 1. 0.9959, questionnaire 3 was 0.9959, questionnaire 5 was 0.9610, questionnaire 6 was 0.9849. The statistical methods for data analysis were percentage, range, mean and standard deviation. Major findings were as follow: 1. Each of the center needs to enhance the internal educational quality assurance system; 2. The model of action learning for enhancing the internal educational quality assurance system consists of the ten steps: 1)learning the principles of the action learning, 2) setting up the plan of the meeting, 3) meeting of the set: 4) questioning, 5) Sharing of experiences 6) deciding of the solution, 7) implementation, 8) reconsidering the solution and implementation, 9) conclusion of the learning, 10) celebrate the program. 3. The result of the implementation of the model was that the staff of both center obtained knowledge and attitude toward the internal educational quality assurance system higher than before the implementation; 4. The success factors in using the model consisted of the staff’s knowledge of the internal educational quality assurance system, the participation of all the staff, the commitment of the management, providing of the resources and the recognition. It was also found that the average of success factors in Ban Beung, Chon Buri Province is higher than in the Klongsarn center. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16400 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.519 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.519 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Warin_Si.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.