Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16430
Title: การแสดงคัฟเวอร์แดนซ์ในฐานะพื้นที่สื่อสารของวัยรุ่น
Other Titles: Cover dance performance as teenager's communication platform
Authors: อนรรฆอร บุรมัธนานนท์
Advisors: จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Jirayudh.S@Chula.ac.th
Subjects: การเต้นรำ
วัฒนธรรมสมัยนิยม
จิตวิทยาวัยรุ่น
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษากระบวนการของการแสดงคัฟเวอร์แดนซ์และหน้าที่ของการแสดงนี้ ในฐานะพื้นที่สื่อสารของวัยรุ่นที่มีส่วนร่วมในการแสดงนี้ การวิจัยนี้ยังศึกษาถึงการตอบรับของผู้ชมการแสดงคัฟเวอร์แดนซ์และนักแสดงคัฟเวอร์แดนซ์ การวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกและสอบถามความคิดเห็นของผู้ชมโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า การแสดงคัฟเวอร์แดนซ์เป็นกิจกรรมที่จริงจัง ซึ่งนักแสดงจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบ และมีการเตรียมตัวอย่างมาก นักแสดงต้องได้รับการฝึกหัดและซักซ้อมอย่างหนักก่อนที่จะขึ้นแสดงต่อหน้าสาธารณชน ในส่วนของหน้าที่ของการแสดงในฐานะพื้นที่สื่อสาร การแสดงคัฟเวอร์แดนซ์ช่วยให้นักแสดงที่มีส่วนร่วมนี้ สามารถเอาชนะแรงกดดันจากครอบครัวและสังคมได้ การแสดงคัฟเวอร์แดนซ์ยังนับเป็นพื้นที่สาหรับให้พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่มีความคิดคล้ายคลึงกัน และสามารถหลุดพ้นจากความคาดหวังต่างๆ ที่พวกเขาได้รับ นอกจากนี้การแสดงคัฟเวอร์แดนซ์นับเป็นพื้นที่ให้เหล่านักแสดงได้แสดงความสามารถ และสำรวจอัตลักษณ์ของพวกเขาด้วย ในฐานะนักแสดงที่เรียนรู้ที่จะกลายเป็นคนอื่นในการแสดงคัฟเวอร์แดนซ์แล้ว พวกเขาสามารถเรียนรู้สิ่งอื่นเกี่ยวกับตัวพวกเขาเองได้ด้วยเช่นกัน ทุกวันนี้การแสดงคัฟเวอร์แดนซ์ได้มีรูปแบบที่เปลี่ยนไปสู่การใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้ชมต่อการแสดงนี้ นักแสดงสามารถคิดการแสดงเพิ่มได้ไม่ว่าจะเป็นท่าเต้นที่เลียนแบบศิลปิน หรือจะเป็นท่าเต้นที่พวกเขาคิดขึ้นเองก็ได้
Other Abstract: To investigate the process of cover dance performance and its roles as communication platform for the participating teenagers. It also looks into the audience's reception of the cover dance performance and the performers. The methodologies employed include participant observation, in-depth interviews and surveys of the audience's opinions through questionnaires. The research found out that cover dance performance is a serious activity that requires a lot of commitment and preparation. The performers have to be well trained and well rehearsed before they can perform to the public. In terms of its role as a communication platform, cover dance performance helps the participating teenagers to overcome family and social pressure. It is a platform for them to interact with a like-minded group of people and to break away from any expectations bestowed upon them. It also provides a platform where they can showcase their skills and explore their identity. As the performers learn to become someone else in the cover dance performance, they also learn more about themselves. Nowadays, cover dance performance has evolved into a more creative form of activity, which resonates the audience's reception of the form. The performers can now devise their own choreography to be added to a copied composition or to be performed as an original routine.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สื่อสารการแสดง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16430
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.396
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.396
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
anackaorn_bu.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.