Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16448
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรวรรณ ปิลันธน์โอวาท-
dc.contributor.authorยุรนันท์ ตามกาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิืทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-12-27T07:52:21Z-
dc.date.available2011-12-27T07:52:21Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16448-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง การสื่อสารในการฟื้นฟูสภาพจิตใจเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารที่เจ้าหน้าที่และญาติใช้กับเด็กและเยาวชน ศึกษาการรับรู้ของเด็กและเยาวชน และศึกษาบรรยากาศการสื่อสารในแง่อวัจนภาษาภายในศูนย์ฝึกฯ ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่ กลุ่มญาติ และกลุ่มเด็กและเยาวชน เก็บข้อมูลแบบสหวิธีการ โดยใช้การสำรวจ(กลุ่มตัวอย่างจำนวน 366 คน) การสัมภาษณ์เชิงลึก (กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 20 คน) และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เก็บข้อมูลในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน 4 แห่ง คือ บ้านกรุณา บ้านมุทิตา บ้านอุเบกขา และบ้านปรานี (3 แห่งแรกเป็นศูนย์ฝึกฯเด็กและเยาวชนชาย แห่งสุดท้ายเป็นศูนย์ฝึกฯเด็กและเยาวชนหญิง) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย(ค่าเฉลี่ย,ค่าร้อยละ)และสถิติอนุมาน(T-test,One way ANOVA,Chi-square)โดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1.ลักษณะคำพูดที่เจ้าหน้าที่ใช้พูดกับเด็กและเยาวชนเป็นประจำหรือพูดบ่อยที่สุด คือ การพูดโน้มน้าวชักจูงให้เลิกกระทำผิด (ร้อยละ 39.6 ) และ รองลงมา คือ คำพูดปลอบใจ ให้กำลังใจ (ร้อยละ 37.5) มีการใช้สัมผัสในระดับที่น้อยกว่าญาติ 2.ลักษณะคำพูดที่ญาติใช้พูดกับเด็กและเยาวชนเป็นประจำหรือพูดบ่อยที่สุดในเวลาที่มาเยี่ยม คือ การพูดโน้มน้าวชักจูงให้เลิกกระทำผิด (ร้อยละ 67.7 )และรองลงมา คือ คำพูดปลอบใจ ให้กำลังใจ (ร้อยละ 64.5) 3.คำพูดที่เด็กและเยาวชนได้ยินมากที่สุดทั้งจากเจ้าหน้าที่และญาติคือ การพูดโน้มน้าวใจให้เลิกกระทำผิด,ได้รับสัมผัสจากญาติมากกว่าเจ้าหน้าที่และมีความรู้สึกที่ดีต่อการสื่อสารที่ได้รับจากบุคคลทั้งสองกลุ่ม 4.บรรยากาศการสื่อสารที่ปรากฏภายในศูนย์ฝึกเป็นบรรยากาศที่ผสมผสานกันทั้งแบบขาดอิสระถูกควบคุมร่วมกับบรรยากาศผ่อนคลายเหมาะสมกับการฟื้นฟูสภาพจิตใจen
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study communication that officers and relatives used with juvenile delinquents. It also examined perception of juvenile delinquents regarding nonverbal communication of these two groups of people in interacting with the youth. The atmosphere at the training centers had also been observed. This research had 3 groups of samples, which were officers, juvenile delinquents’s relatives and the juvenile delinquents themselves. The sample size was 366 young people while the in-depth interview used 20 samples in 4 training centers, which included Ban Karuna, Ban Mutita, Ban U-bekkha and Ban Pranee Juvenile Training Centers. (The first three centers were for boys while the last one was for girls). The data were analyzed using descriptive statistics (frequencies,mean,percent) and inferential statistics (T-Test, One way ANOVA, Chi-square). The findings were as follows: 1. The verbal types that the officers mostly used with juvenile delinquents were persuasion to stop recidivism, followed by supportive statements and the officers had less nonverbal communication particularly touching than relatives. 2. The verbal types that the relatives mostly used with juvenile delinquents were persuasion to stop recidivism, following by supportive statements. 3. The verbal types that juvenile delinquents mostly heard from both officers and relatives were persuasion to stop recidivism. In terms of non-verbal communication, they received touching from relatives more than the officers and they felt good with that kind of communication that they receive from both groups of people. 4. Communication atmosphere in juvenile training centers could be said to possess a sense of confinement and relaxation suitable for mental rehabilitation.en
dc.format.extent3555125 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1138-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสื่อสารen
dc.subjectเยาวชนผู้กระทำความผิดอาญาen
dc.subjectการโน้มน้าวใจ (วาทวิทยา)en
dc.titleการสื่อสารในการฟื้นฟูสภาพจิตใจเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนen
dc.title.alternativeCommunication for mental treatment and rehabilitation of juvenile delinquents in juvenile training centersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวาทวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorOrawan.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1138-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yuranun_Ta.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.