Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16470
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ-
dc.contributor.authorกุลลินี มุทธากสิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-01-05T12:37:14Z-
dc.date.available2012-01-05T12:37:14Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746358634-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16470-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractศึกษาและประเมินสาระแนวคิดเกี่ยวกับการบริโภคของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ศึกษาและวิเคราะห์พัฒนาการของสังคมบริโภคนิยมปัจจุบันในบริบทของประวัติศาสตร์สังคม เพื่อขยายและเชื่อมโยงแนวคิดพุทธปรัชญาเข้าสู่การศึกษาการบริโภคภายใต้กรอบของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ระเบียบวิธีการศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้อาศัยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ตำรา ปาฐกถา งานวิจัย และบทความต่างๆประกอบกัน จากการศึกษาพบว่าเศรษฐศาสตร์กระแสหลักภายใต้กระบวนทัศน์แบบนิวตันและเดส์คาร์ตนั้นมีรากฐานมาจากปรัชญาประโยชน์นิยมที่ยอมรับในธรรมชาติของการตอบสนองต่อความต้องการอันไม่จำกัดของมนุษย์ที่มีจุดเริ่มต้นการวิเคราะห์กิจกรรมการบริโภคจากอรรถประโยชน์หรือความพึงพอใจโดยใช้แนวคิดเชิงปริมาณมาช่วยอธิบายและเป็นตัวบ่งชี้ถึงความพึงพอใจที่มนุษย์ได้รับนั้น ได้นำมาสู่ความเข้าใจที่ว่าการบริโภคสินค้าและบริการในปริมาณที่มากกว่าย่อมจะก่อให้เกิดอรรถประโยชน์ในปริมาณที่มากกว่าไปด้วยมนุษย์จึงถูกผลักดันให้ต้องแสวงหา ครอบครอง สะสมและบริโภควัตถุให้อยู่ในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา สังคมในปัจจุบันจึงอยู่ในรูปของสังคมบริโภคนิยมอันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในยุคของระบบทุนนิยมสมัยใหม่ ในสังคมบริโภคนิยมนี้วัตถุหรือสินค้ามิได้มีคุณค่าในการใช้สอยจากคุณสมบัติทางธรรมชาติของมันแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังถูกกำหนดให้เป็นตัวสะท้อนถึงคุณค่าหรือรหัสหมายที่แฝงอยู่ด้วย ในขณะเดียวกันเราจะพบว่า พุทธปรัชญาภายใต้กระบวนทัศน์แบบองค์รวมนั้น เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจถึงธรรมชาติและกฎของธรรมชาติบนหลักของปัจจัยการ ดังนั้นมนุษย์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์รวมจึงไม่อาจคำนึงแต่ความต้องการอันไม่มีขอบเขตของตนเองเพียงส่วนเดียว การบริโภคในทัศนะนี้จึงมิใช่กิจกรรมที่เป็นจุดจบสิ้นภายในตัวเอง หากแต่เป็นเครื่องมือที่จะทำให้มนุษย์สามารถฝึกฝนและพัฒนาตนเองให้มีพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดดุลยภาพและเกื้อกูลต่อทั้งสังคมและธรรมชาติ รูปแบบของการบริโภคจึงคำนึงถึงจุดมุ่งหมายที่แท้จริงตามธรรมชาติและขีดจำกัดในการรองรับจากธรรมชาติรวมถึงเป็นรูปแบบที่สามารถกระจายส่วนเกินออกไปให้กับมนุษย์ในสังคมที่ขาดแคลนได้อย่างพอเพียง การบริโภคในบริบทของพุทธปรัชญาจึงถือเป็นรูปแบบทางเลือกหนึ่งของมนุษย์ในการก้าวออกไปจากวิถีการบริโภคในสังคมบริโภคนิยมen
dc.description.abstractalternativeStudies and evaluate the consumption's concept of mainstream economics, to study and analyze the development of current consumerism society in the context of social history,and to expand and link Buddhist philosophy to the study of consumption under Buddhist economics framework. The methodology of this thesis is based on documentary researches. Mainstream economics under the Newton-Descartes paradigm has its foundation from utilitarianism which believes that human that human nature generates unlimited wants. Utilitarianism uses utility or preference as an indicator to measure the satisfaction level of consumers. This idea leads to the understanding that the more goods or services are consumed, the greater utility consumers have. Therefore a person try to own and consume more than (s)he need. Today society society is under consumerism because of the growth of modern capitalism. Objects or commodities have not only use value from their nature, but also hidden value or sign. Buddhist philsophy with holistic paradigm illuminate the nature and the law of nature under causal occurrence. Human beings as part of holisstic nature should not aware only their unlimited wants. The consumption under this paradigm is not a self-ending activity but a means that allows human beings to attain true well-being ; it 's a means of practice and development for further potentialities in order to balance and harmonize between humans behavior and society with nature which are mutually supportive. Moderate consumption should consider the true value, ecological limitation and distribution of the rest to other people. Therefore, the consumption under Buddhist philosophy should be an alternative for mankind to prevent the mode of consumption that creates problems or suffering to human beings.en
dc.format.extent771043 bytes-
dc.format.extent743230 bytes-
dc.format.extent1077134 bytes-
dc.format.extent929502 bytes-
dc.format.extent941934 bytes-
dc.format.extent1215252 bytes-
dc.format.extent858432 bytes-
dc.format.extent764259 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพุทธปรัชญาen
dc.subjectบริโภคกรรม (เศรษฐศาสตร์)en
dc.subjectเศรษฐศาสตร์ -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนาen
dc.subjectอรรถประโยชน์นิยมen
dc.titleการวิเคราะห์การบริโภคแนวพุทธปรัชญาen
dc.title.alternativeA buddhist analysis on the consumptionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNarong.Pe@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Gullinee_Mu_front.pdf752.97 kBAdobe PDFView/Open
Gullinee_Mu_ch1.pdf725.81 kBAdobe PDFView/Open
Gullinee_Mu_ch2.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Gullinee_Mu_ch3.pdf907.72 kBAdobe PDFView/Open
Gullinee_Mu_ch4.pdf919.86 kBAdobe PDFView/Open
Gullinee_Mu_ch5.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Gullinee_Mu_ch6.pdf838.31 kBAdobe PDFView/Open
Gullinee_Mu_back.pdf746.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.