Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1648
Title: | การกำจัดไซลีนด้วยเครื่องกรองชีวภาพที่ใช้ตัวกลางผสม |
Other Titles: | Removal of xylene by composite media biofilter |
Authors: | เอกชัย เลิศผดุงวิทย์, 2521- |
Advisors: | วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wongpun.L@eng.chula.ac.th, Wongpun.L@Chula.ac.th |
Subjects: | น้ำเสีย--การบำบัด--การกรอง ไซลีน ขยะพลาสติก |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการกำจัดไซลีนด้วยเครื่องกรองชีวภาพที่ใช้ตัวกลางผสมโดยทำการทดลอง 2 ขั้นตอน ได้แก่ การทดลองหาอัตราส่วนของตัวกลางผสมที่เหมาะสมของดินผสมใบก้ามปูและปุ๋ยคอกต่อขยะพลาสติก โดยแปรผันอัตราส่วนผสมดังนี้ 80:20 60:40 40:60 และ 20:80 โดยปริมาตรพร้อมทั้งเติมเปลือกหอยและตะกอนจากโรงบำบัดน้ำเสียเพื่อเป็นบัฟเฟอร์และเป็นแหล่งจุลินทรีย์ให้กับระบบ โดยควบคุมระดับความชื้นภายในตัวกลางที่ 45-60% หลังจากนั้นจะใช้อัตราส่วนที่เหมาะสมจากการทดลองแรกในการศึกษาความสามารถสูงสุดในการกำจัดไซลีนในการทดลองที่สองโดยแปรผันเวลาเก็บกักที่ 36 60 และ 90 วินาที และใช้ความเข้มข้นของไซลีนในช่วง 50-2,000 ppm ผลการทดลองแรกพบว่าอัตราส่วนผสมของดินผสมใบก้ามปูและปุ๋ยคอกต่อขยะพลาสติกที่อัตราส่วน 60:40 เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมเมื่อพิจารณาจากประสิทธิภาพการกำจัดไซลีนเท่ากับ 96% ความดันลดที่เกิดขึ้นมีค่าระหว่าง 3-10 มม.น้ำ ในส่วนของการทดลองที่สองพบว่าความสามารถในการกำจัดไซลีนสูงสุดเท่ากับ 70 142 และ 194 กรัม/ลบ.ม.-ชม. ที่เวลาเก็บกัก 36 60 และ 90 วินาทีตามลำดับ นอกจากนั้นพบว่าหากเดินระบบกรองชีวภาพที่ใช้กำจัดไซลีนสูงกว่าค่าความสามารถในการกำจัดสูงสุดจะส่งผลให้ค่าความสามารถในการกำจัดไซลีนลดลงจากเดิม |
Other Abstract: | The objective of this research was to determine the removal of xylene by a composite media biofilter. The study involved two stages. The first stage was to optimize the composition ratio between soil mixed with rain tree leaves and cow manure/plastic waste by varying the proportion at 80:20, 60:40, 40:60 and 20:80 by volume. Crushed sea shell was added to serve as pH buffer and activated sludge was used as source of microbes. The media moisture was controlled at 45-60%. The resulting optimum proportion was used in the second in the second stage to examine the maximum elimination capacity of xylene. Three various empty bed retention time, i.e. 36, 60 and 90 seconds, were tested for xylene inlet concentration ranging from 50 to 2,000 ppm. The first experiment showed that a blend of soil/plastic waste = 60:40 was superior with respect to xylene removal efficiency of 96%, the pressure drop ranging from 3-10 mm. of water the second experiment revealed that the maximum elimination capacity of xylene obtained were70, 142 and 194 gm[superscript -3]h[superscript -1] for empty bed retention time of 36, 60 and 90 seconds, respectively. Moreover, when the xylene removal biofilter operates at higher than the maximum elimination capacity conditions, the elimination capacity decreases. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1648 |
ISBN: | 9741767889 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ekachai.pdf | 6.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.