Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16520
Title: พัฒนาการการแสดงสิทธิและเสียงของ "เครือข่ายคนดูหนัง"
Other Titles: Development of rights and voices of "Movie audience network"
Authors: นัฏกร บุญมาเลิศ
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kanjana.Ka@chula.ac.th
Subjects: ผู้ชมภาพยนตร์
การสื่อสาร
เครือข่ายสังคม
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา 1. คุณลักษณะของ “เครือข่ายคนดูหนัง” และปัจจัยที่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของคนดูหนัง 2. พฤติกรรมของสมาชิกเครือข่ายคนดูหนังที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ 3. พัฒนาการการแสดงสิทธิและเสียงของ “เครือข่ายคนดูหนัง” 4. วิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของบทบาทการสื่อสารที่มีต่อการรวมกลุ่มและการแสดงสิทธิและเสียงของ “เครือข่ายคนดูหนัง” โดยใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับผู้ชมภาพยนตร์ กลุ่มและเครือข่าย การสื่อสารกับพื้นที่สาธารณะ บทบาทของการสื่อสาร การควบคุมสื่อ และการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นกรอบในการทำความเข้าใจ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์เจาะลึก และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า “เครือข่ายคนดูหนัง” มีจุดเริ่มต้นมาจากการจุดประกายความคิดให้กับผู้อ่านและผู้ใช้กระดานข่าวของนิตยสาร Bioscope (นิตยสารภาพยนตร์รายเดือน) มีจุดประสงค์ในการรวมตัวด้วยความมุ่งหวังว่า จะสามารถเป็นตัวแทนจากภาคประชาชนที่เป็น “คนดูหนัง” ในการสื่อสารกับภาครัฐ อันจะส่งผลต่อการกำหนดนโยบายและมาตรการใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมสื่อภาพยนตร์ ซึ่งมีอุดมการณ์ร่วมกันในเรื่องไม่ต้องการระบบการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ และเรียกร้องระบบเรตติ้งในแบบที่ไม่ตัดไม่แบน (No Cut No Ban) มีลักษณะเป็น “เครือข่ายออนไลน์” ศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารที่สำคัญของเครือข่ายคือ Blog “เครือข่ายคนดูหนัง” พฤติกรรมการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกเครือข่าย มีลักษณะเป็นการสื่อสารแบบมีศูนย์กลาง (Centralized communication) ในส่วนของพฤติกรรมการสื่อสารระหว่างสมาชิกกับสมาชิก เป็นเครือข่ายการสื่อสารรูปแบบวงล้อ (Wheel network) ส่วนพฤติกรรมการสื่อสารของ “เครือข่ายคนดูหนัง” กับสาธารณะ เป็นเครือข่ายการสื่อสารรูปแบบตัววาย (Y network) นอกจากนี้ “เครือข่ายคนดูหนัง” ยังมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นพื้นที่เก็บและรวบรวมข้อมูลข่าวสาร บทบาทในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ (Watch dog) บทบาทในการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายการควบคุมสื่อภาพยนตร์ และบทบาทในการเปิดพื้นที่ให้กับภาพยนตร์นอกกระแส สำหรับปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆ ที่เอื้อให้เกิดการรวมกลุ่มเป็น “เครือข่ายคนดูหนัง” ได้ก็คือปัจจัยทางด้านอุดมการณ์ร่วม และปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ในส่วนของพฤติกรรมของสมาชิกเครือข่ายคนดูหนังที่เกี่ยวกับภาพยนตร์สามารถบ่งชี้ได้ว่า สมาชิกเครือข่ายคนดูหนังมีลักษณะของการเป็น “ผู้ชมตาคม” (Smart audience) การแสดงสิทธิและเสียงของ “เครือข่ายคนดูหนัง” มีพัฒนาการแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ (1) ระยะจากจุดเริ่มต้นสู่การเป็นคอหนัง (2) ระยะเพรียกหาแสงแห่งเสรีภาพ ซึ่งกระทำในมิติปัจเจกบุคคล (3) ระยะจุดประกายความคิดโดยนิตยสาร Bioscope (4) ระยะก่อตั้ง “เครือข่ายคนดูหนัง” ซึ่งกระทำในมิติเครือข่าย ส่วนบทบาทของการสื่อสารที่มีต่อการรวมกลุ่ม และการแสดงสิทธิและเสียงของ “เครือข่ายคนดูหนัง” ซึ่งสามารถตอบสนองต่อการใช้งานของสมาชิกและ “เครือข่ายคนดูหนัง” ที่พบได้ในขั้นตอนของการรวมกลุ่ม และการแสดงสิทธิและเสียง มี 2 บทบาท คือ 1. บทบาทในการทดแทนความรู้สึกที่อยากแสดงออกแต่ทำไม่ได้ 2. บทบาทในการตอกย้ำอุดมการณ์ร่วม เมื่อนำแต่ละบทบาทของการสื่อสารมาจัดกลุ่มตามแบบแผนการใช้ประโยชน์ จะพบว่า บทบาทที่สำคัญที่สุดสำหรับการรวมกลุ่มและการแสดงสิทธิและเสียงของ “เครือข่ายคนดูหนัง” ก็คือ บทบาทในการรวมตัวหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Personal relation) ซึ่งมีทั้งหมด 11 บทบาท ข้อค้นพบที่สำคัญในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า เส้นทางการก้าวข้ามผ่านสถานะของ “ผู้บริโภค” เพื่อไปเป็น “พลเมือง” ที่แท้จริง มีสิทธิ มีเสียง และมีตัวตนต่อภาครัฐนั้นมีหนทางการต่อสู้ที่ยาวเหยียด โดยเฉพาะในมิติของสิทธิทางวัฒนธรรมนั้นทำได้อย่างยากยิ่ง และก็ค้นพบว่า สื่อสมัยใหม่ เช่น สื่ออินเทอร์เน็ต ได้เข้ามามีบทบาทในการเป็น “พื้นที่สาธารณะแบบเสมือน” ที่แตกต่างไปจากพื้นที่สาธารณะตามคำยืนยันของ Habermas ว่าจำเป็นต้องเป็นพื้นที่ที่เห็นหน้าเห็นตากันเท่านั้น
Other Abstract: To study 1. Features of "Movie audience network" and the integration factors of people seeing the movies 2. Behaviors of network members about the movies 3. Development of rights and voices of the “Movie audience network” 4. Analyses the relationship of communication role to the integration and an expression of rights and voices. "Movie audience network" uses the framework of theories and concepts from movie-goers, groups and networks, and public floor, communication’s role, media control, and people’s participation as a framework for understanding. This research uses qualitative methodology with content analysis, in-depth interviews, and participatory observations. The research found that "Movie audience network" was a starting point to inspire readers’ ideas and users of web board, “Bioscope Magazine” (monthly film magazine) which aims to be representatives from the people sector, "movie-goers" to communicate with the government on new policies and measures related to a control of movie media. This idea does not accept the film censorship system but prefers the rating system of “No Cut-No Ban.” The "online" communication network is called Blog "Movie audience network" which is both internal and external communications’ network, similar to the centralized communication. Communication among members is a “Wheel network” communication. Communication behavior of "Movie audience network" with a public is called a “Y network”. "Movie audience network" also has many roles- information storage & collection, and monitoring the official authority or “Watch dog”. This includes the role in providing knowledge about the legal control of film media and the open floor for alternative movie. The important factor of "Movie audience network" initially is on mutual ideology and communication technology. The behavior of movie audience network’s members is “Smart audience". Four developmental phases of rights and voice of “Movie audience network” are (1) The beginning of movie-goers (2) Freedom of individual voices (3) Inspiration ideas by Bioscope Magazine (4) The establishment of "Movie audience network". The role of communication and the expression of rights and voices of “Movie audience network” have to respond to the usage of its members. Two roles are (1) Expression role which can’t be explicitly shown (2) Role in reinforcing mutual ideologies. When organizing communication role according to its usefulness, “Movie audience network” is just an integration role or personal relation, which has all 11 roles. The important finding in this research was the transformation from "consumers" to become "citizens" who have real right and be present to their government especially the cultural right. The modern media such as internet has become "Virtual Public Sphere" which differs from public space as confirmed by Habermas that it has to be a space of face-to-face communication only
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16520
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1393
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1393
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nuttakorn_bo.pdf9.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.