Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16548
Title: | โอกาสในการนำระบบประสานทางพิกัดมาพัฒนาการออกแบบบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ในการก่อสร้างแบบอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาโครงการเพอร์เฟค พาร์ค จังหวัดนนทบุรี |
Other Titles: | The feasibility of applying a modular coordination system for the development on two-story house design of an industrialized construction system : a case study of Perfect Park Project, Nonthaburi Province |
Authors: | วิชัญโญ สุขประสพโภคา |
Advisors: | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Trirat.j@Chula.ac.th |
Subjects: | การประสานทางพิกัด (สถาปัตยกรรม) วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง -- มาตรฐาน การสร้างบ้าน |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันระบบการก่อสร้างด้วยระบบสำเร็จรูปในแบบอุตสาหกรรม มีลักษณะเด่นคือมีการก่อสร้างให้ได้หน่วยทีละมากๆ และก่อสร้างได้รวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่จากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้นที่จะสามารถลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วน ซึ่งออกแบบมาให้ใช้ได้แบบเดียวไม่มีความยืดหยุ่นที่จะสามารถปรับใช้ได้กับแบบอื่นได้ ซึ่งเป็นการออกแบบไว้เป็นรูปแบบที่ตายตัวเป็นระบบที่เรียกตามทฤษฎีว่าระบบปิด (Close system) และไม่ได้มีการใช้ระบบประสานทางพิกัด ซึ่งจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างในระบบอุตสาหกรรม โดยส่วนใหญ่มีข้อเสนอแนะว่าควรใช้ระบบประสานทางพิกัดในการออกแบบ เพราะเกิดจากปัญหาในการก่อสร้างที่ต้องเป็นมาตรฐาน (Standardization) ได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบประสานทางพิกัด ที่หน่วยวัดเล็กที่สุดเท่ากับ 1M=(100 มม.) ข้อกำหนดในแนวระดับที่ 3Mx3M=(300x300 มม.) แนวดิ่งที่ 2Mx3M=(200x300 มม.) งานวิจัยนี้เป็นการหาโอกาสเป็นการตั้งสมมุติฐานว่าระบบประสานทางพิกัด เป็นระบบที่เอื้อประโยชน์ในการผลิต ความรวดเร็ว และสามารถลดต้นทุนในการก่อสร้างได้ วัตถุประสงค์เพื่อหาโอกาสในการใช้ระบบประสานทางพิกัดในบ้านเดี่ยว 2 ชั้น หาข้อจำกัดอื่นๆ ที่สามารถพัฒนาให้เป็นระบบเปิด (Open system) ซึ่งขอบเขตและวิธีการวิจัยโดยจะเลือกกลุ่มตัวอย่างของแบบบ้านจากโครงการฯ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้อยู่อาศัยจากอันดับยอดขายที่ดีมาทั้งหมด 3 แบบบ้าน มาศึกษาถึงความเป็นไปได้ในงานวิจัย ผลการศึกษาจะเป็นคำตอบให้กับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งจะสามารถสรุปประเด็นที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้ คือ ด้านระบบโครงสร้างจะได้แบบชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่เป็นแบบมาตรฐานของทั้ง 3 แบบบ้าน จำนวน 15 ชิ้นส่วนที่สามารถใช้ซ้ำกันได้และมีความยืดหยุ่นในการออกแบบจากแบบเดิม ที่ไม่สามารถใช้ซ้ำกันได้ ด้านต้นทุนและพื้นที่ไม่ได้มีความแตกต่าง ข้อสรุปของโอกาสของระบบประสานทางพิกัด เป็นกระบวนการที่ควรเริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบเป็นศาสตร์ 2 แขนงร่วมกัน ระหว่างสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ผู้ออกแบบควรมีความรู้ทั้ง 2 ด้าน จะสามารถทำให้เกิดประโยชน์และพัฒนาให้เป็นระบบเปิดได้ โดยใช้ระยะและขนาดที่เป็นมาตรฐาน ข้อเสนอแนะในงานวิจัย ด้านผู้ผลิตวัสดุ ด้านผู้ออกแบบ ควรใช้ขนาดร่วมกัน เพราะระบบการก่อสร้างแบบอุตสาหกรรม ควรเป็นระบบประสานทางพิกัดเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ระบบประสานทางพิกัดในงานก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมมี 12 รูปแบบตามทฤษฎี จะสมบรูณ์ได้เมื่อศึกษาครบถ้วนตามกระบวนการ งานวิจัยนี้เป็นรูปแบบของการออกแบบด้วยแนวคิดของระบบประสานทางพิกัด เพื่อให้เกิดขอบเขตที่เป็นมาตรฐานเท่านั้น |
Other Abstract: | The distinctive features of industrialized construction systems are mass production and a short construction period. However, only a large company can build a factory to produce prefabricated construction materials to serve specific purposes. This is called the closed system. According to the literature review, the modular coordination system is better for housing design because of the standardization of the modular coordination system which specifies that the smallest unit is 1M (= 100 mm.), the horizontal level is 3M x 3M (300 mm. x 300 mm.) and the vertical level is 2M x 3M (= 200 mm. x 300 mm.). This study hypothesized that the modular coordination system benefited production and speed of construction while reducing construction costs. The objectives of this study were to find an opportunity to apply the modular coordination system for a two-story house, to compare this system with other systems, and to determine which other systems could be developed into the open system. The subjects were the top three house designs widely accepted among residents in the case study project. It was found that 15 standardized prefabricated pieces used in the housing structure could be used in the three designs and the pieces could be adapted to fit other purposes. There were no differences in costs and areas, and the modular coordination system can be used in both architectural and engineering designs. The designer should know both fields so that he can develop this system into the open system with a standardized period of production and standardized sizes. As for suggestions, the material manufacturer should jointly work with the designer because the industrialization construction system should utilize a coordinated system to create a construction standard. As for further research, there are theoretically 12 aspects of the modular coordination system for an industrialized construction system. The other aspects should be studied to complete the whole system. This study only deals with the design based on modular coordination to bring about a standardized framework. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16548 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.121 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.121 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
vichanyo_su.pdf | 10.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.