Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16581
Title: การวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนการผลิตน้ำประปาแยกตามกลุ่ม กรณีศึกษา : การประปาส่วนภูมิภาค
Other Titles: Cost structure analysis in water production by cluster : a case study of Provincial Waterworks Authority
Authors: ณัฐวีร์ สิขิวัฒน์
Advisors: สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
Advisor's Email: Suthas.R@Chula.ac.th
Subjects: การประปาส่วนภูมิภาค
ประปา -- ต้นทุนการผลิต
การวิเคราะห์ความแปรปรวน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนค่าน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค เฉพาะในส่วนที่การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินการผลิตเอง ไม่รวมที่เป็นสัญญาเอกชนร่วมลงทุน 11 โครงการ ให้สามารถสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงของค่าน้ำประปาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนในรูปแบบของ การจัดคลัสเตอร์ต้นทุนด้วยเกณฑ์ต่างๆ กัน เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างด้านต้นทุนของแต่ละคลัสเตอร์ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวเป็นวิธีทดสอบ ซึ่งผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำโครงสร้างต้นทุนใหม่ในอนาคต และใช้เป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่การประปาส่วนภูมิภาคจะใช้อ้างอิง เพื่อชี้แจงให้กับผู้ใช้น้ำรับทราบ ในกรณีที่มีการเสนอขอปรับขึ้นราคาค่าน้ำประปา โดยการวิจัยจะเริ่มจากการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนในปัจจุบันของการประปาส่วนภูมิภาค จากนั้นพิจารณาเลือกเกณฑ์ที่เหมาะสม เพื่อนำไปใช้จัดกลุ่มต้นทุนใหม่ เพื่อให้สะท้อนถึงต้นทุนการดำเนินงานหลักขององค์กร วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของต้นทุนแต่ละหมวดที่จัดทำขึ้น ด้วยวิธีการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ หลังจากนั้นจัดกลุ่มคลัสเตอร์ด้านต้นทุนด้วยเกณฑ์ที่เหมาะสม และวิเคราะห์ความแตกต่างของต้นทุนระหว่างคลัสเตอร์ของแต่ละเกณฑ์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลทำให้ต้นทุนมีความแตกต่างกัน และสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ หรือวางแผนจัดการต้นทุนต่อไปในอนาคต ผลการวิจัยที่ได้พบว่า โครงสร้างต้นทุนที่การประปาส่วนภูมิภาคใช้อยู่ในปัจจุบัน อยู่ในรูปแบบเดียวกันกับระบบบัญชีต้นทุน ซึ่งแสดงให้เห็นเพียงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบริหาร แต่มิได้สะท้อนให้เห็นถึงต้นทุนหลักของ องค์กร ภายหลังจากการจัดทำโครงสร้างต้นทุนใหม่ โดยแสดงให้เห็นถึงต้นทุนการดำเนินงานหลักขององค์กร ซึ่งคือการ ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำประปาแล้ว พบว่าในส่วนของการผลิตมีสัดส่วนต้นทุนอยู่ที่ประมาณร 40% และส่วนของการจัดจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 32% ของต้นทุนรวมทั้งหมด รวมเป็นต้นทุนการดำเนินงานหลักอยู่ที่ประมาณร้อยละ 72 ของต้นทุนทั้งหมด โดยมีค่าซื้อน้ำ ค่าวัสดุการผลิต ต้นทุนค่าพลังงาน ค่าซ่อม-จ้างเหมาในระบบผลิต ค่าใช้จ่ายในการ จำหน่ายน้ำ ค่าเสื่อมฯ ระบบจำหน่ายและต้นทุนการขาย-บริการเป็นต้นทุนผันแปรตามปริมาณน้ำจำหน่าย เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของต้นทุนระหว่างคลัสเตอร์ด้วยเกณฑ์ที่เหมาะสมต่างๆ กัน 3 เกณฑ์ด้วยวิธีวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบทางเดียว พบว่า มีความแตกต่างของต้นทุนระหว่างคลัสเตอร์อย่างมีนัยสำคัญเมื่อใช้เกณฑ์แบ่งด้วย ขนาดกำลังการผลิต จากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน พบว่าสามารถจำแนกคลัสเตอร์ตามขนาดกำลังการผลิต ออกเป็น 2 กลุ่มได้คือ (1) คลัสเตอร์ที่มีกำลังการผลิตน้อยกว่าหรือเท่ากับ 9 ล้าน ลบ.ม./ปี กับ (2) คลัสเตอร์ที่มีกำลังการ ผลิตมากกว่า 9 ล้าน ลบ.ม./ปี ซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ยของคลัสเตอร์อยู่ที่ 14.91 และ 10.50 บาท/ลบ.ม. ตามลำดับ
Other Abstract: To analyze PWA’s water cost structure which only produced by itself, not included 11 mega project contracts with private companies, for clearly reflected the actual water cost. Included cost structure analysis by cost clustering with several criteria. For studied in the cost differentiation according to those criteria, this research used One-Way ANOVA be a test method. The results can be used for rearrange cost structure in the future and used as a reason for PWA to make understand with water consumers when it needed to have water price up. The research was started from analyzing the PWA’s present cost structure. Then considered for some appropriated criteria to make new cost group in which reflected the organization’s core operations. Analyzed the relation of each cost group by using Pearson’s correlation coefficient. Then made cluster according to some effected criteria and compared the different of each cluster by using ANOVA. So we could use the results for launched strategy or managed cost plan in the future The results shown that the PWA present cost structure is in the same way used in balance sheet, which was shown only normal expenses and admin-cost. But didn’t reflect to the organization’s core operations. After we rearranged to new cost structure, we found that the production cost was taken 40% while water distribution cost was taken 32% of total cost (so, core operation was 72%). Consists of raw/process water, production materials etc. Then analyzed the cost difference between all clusters in each 3 criteria with ANOVA. The result was shown that we might set 2 clusters by using production capacity as a significant criteria: Cluster 1: which capacity Is less or equal to 9 million cubic meter per year, and Cluster 2: which capacity is more than 9 million cubic meter per year. The average total costs of 2 clusters are 14.91 and 10.50 baht per cubic meter respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16581
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.791
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.791
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuttawee_si.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.