Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16582
Title: การปรับปรุงกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยใช้แนวคิดลีน ซิกซ์ซิกมา
Other Titles: Process improvement in garment industry with lean six sigma concept
Authors: ณัสญ์ศยา สิทธิโชควโรดม
Advisors: วิภาวี ธรรมาภรณ์พิลาศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Wipawee.T@Chula.ac.th
Subjects: การผลิตแบบลีน
ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)
อุตสาหกรรมเสื้อผ้า
การควบคุมกระบวนการผลิต
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปรับปรุงกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มักจะมีปัญหาเรื่องการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพตรงตามที่ลูกค้ากำหนดและทันกำหนดเวลา ขั้นตอนการวิจัยนี้จะดำเนินตามแนวคิดลีน ซิกซ์ ซิกมา คือการกำหนดปัญหา การวัดสภาพปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา การปรับปรุงแก้ไข และการควบคุมเพื่อรักษาสภาพหลังปรับปรุงไว้ สำหรับโรงงานกรณีศึกษามีขั้นตอนการทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าแฝงอยู่ในกระบวนการเย็บประกอบ และกระบวนการตกแต่งสำเร็จรูปค่อนข้างมากมีปริมาณงานระหว่างทำค้างในกระบวนการสูง สัดส่วนของเสียค่อนข้างมากและการจัดจำนวนคนในแต่ละขั้นตอนไม่เหมาะสม จึงทำการปรับกระบวนการผลิตใหม่เป็นกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง ควบคู่กับการตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการ ผลลัพธ์ที่ได้คือประสิทธิภาพการการทำงานของพนักงานเย็บประกอบเพิ่มขึ้นจาก 37.23% เป็น61.24% ของเสียงานเย็บลดลงจาก12.67 % เป็น 8.26% ส่วนกระบวนการตกแต่งสำเร็จรูปได้ใช้แบบจำลองสถานการณ์มาจำลองสถานการณ์หลังปรับปรุง ผลที่ได้คือสามารถลดปริมาณงานระหว่างทำที่ค้างในกระบวนการลงได้จาก 9,355 ตัว/เดือน เป็น 5,859 ตัว/เดือน เวลารอคอยระหว่างกระบวนการย่อยลดลงจาก 13.09 ชั่วโมง/ตัว เป็น 6.72 ชั่วโมง/ตัว และมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 113,312 ตัว/เดือนเป็น 117,150 ตัว/เดือน
Other Abstract: To improve the manufacturing process in apparel industry because it often encounters producing goods with customers’ inaccurate specifications and delay problems. The research methodology follows the lean six sigma concept that are defining, measurement, analysis, improvement and control. In the case study, there are non-value activities found in sewing and finishing processes, large work in process, a lot of defects and unbalanced workleads. Continuous process and quality control in line were used to improve the process. The results show that the efficiency of sewing was increased from 37.23% to 61.24%, the defect of sewing was decreased from 12.67% to 8.26%. A simulation model was developed to study the improved process. The results indicate that the amount of work-in-process was decreased from 9,355 pieces/month to 5,859 pieces/month, the delay time between sub-processes was also decreased from 13.09 hours/piece to 6.72 hours/piece and the productivity was increased from 113,312 pieces/month to 117,150 pieces/month.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16582
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1293
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1293
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nassaya_si.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.