Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16593
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กัญญดา ประจุศิลป | - |
dc.contributor.author | มลทิรา สุนสุข | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-01-25T13:57:12Z | - |
dc.date.available | 2012-01-25T13:57:12Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16593 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงพรรณาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความมั่นคงในการทำงาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าในตนความไว้วางใจในองค์กร การสนับสนุนทางสังคมกับความมั่นคงในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ และศึกษาตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ความมั่นคงในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 352 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามการรับรู้คุณค่าในตน แบบสอบถามความไว้วางใจในองค์กร แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามความมั่นคงในการทำงาน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และหาค่าความเที่ยงโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ 0.90, 0.93, 0.97 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความมั่นคงในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ อยู่ในระดับสูง (X-bar = 3.64, SD= 0.53) 2. ความไว้วางใจในองค์กร การสนับสนุนทางสังคมจากผู้บังคับบัญชา การสนับสนุนทางสังคมจากผู้ร่วมงาน การรับรู้คุณค่าในตน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความมั่นคงในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ (r =.715, r =.596, r =.478 และ r =.377 ตามลำดับ) 3. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ความมั่นคงในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ความไว้วางใจในองค์กร การสนับสนุนทางสังคมจากผู้บังคับบัญชา การสนับสนุนทางสังคมจากผู้ร่วมงาน และการรับรู้คุณค่าในตน โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ 54.1% (R² = .541) สมการพยากรณ์ในรูปมาตรฐาน ความมั่นคงในการทำงาน =.517 (ความไว้วางใจในองค์กร) + .152 (การสนับสนุนทางสังคมจากผู้บังคับบัญชา) + .111 (การสนับสนุนทางสังคมจากผู้ร่วมงาน) + .085 (การรับรู้คุณค่าในตน) | en |
dc.description.abstractalternative | This descriptive study was to study job security, to investigate relationships between self esteem, organizational trust, social support, and job security of nursing employees in government university hospitals and to search for the variables that could be able to predict job security of nursing employees in government university hospitals. The research subjects were 352 nursing employees in government university hospitals, selected by multistage sampling technigue. The research instruments were self esteem, organizational trust, social support, and job security questionnaires. The content validity of questionnaires were conducted, and reliability was tested by Cronbach’ s alpha coefficiencies which were 0.90, 0.93, 0.97 and 0.92 respectively. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficients and stepwise multiple regression analysis. The major findings were as follows: 1. Job security of nursing employees in government university hospitals were at high level. (X-bar = 3.64, SD = 0.53) 2. There were positively significant relationships between organizational trust, head nurse’s social support, co-worker’s social support, self esteem, and job security of nursing employees in government university hospitals at .05 level (r = .715, r = .596, r = .478 and r = .377 respectively) 3. Factors significantly predicted job security of nursing employees in government university hospitals at .05 level were organizational trust, head nurse’s social support, co-worker’s social support, and self esteem. The predictive ability are accounted for 54.1% (R² = .541) of the variance. Job security = .517 (Organizational trust) + .152 (Head nurse’s social support) + .111 (Co-work’s social support) + .085(Self esteem). | en |
dc.format.extent | 2303547 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.982 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | พยาบาล | en |
dc.subject | ความมั่นคงในการทำงาน | en |
dc.subject | ความนับถือตนเอง | en |
dc.subject | ความไว้วางใจ | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าในตน ความไว้วางใจในองค์กร การสนับสนุนทางสังคม กับความมั่นคงในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ | en |
dc.title.alternative | Relationships between self esteem, organizational trust, social support, and job security of nursing employees, government university hospitals | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบริหารการพยาบาล | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Sukunya.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.982 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Montira_Su.pdf | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.