Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16662
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศักดา ธนิตกุล-
dc.contributor.authorเสนีย์ พันธ์อุไร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-04T07:04:11Z-
dc.date.available2012-02-04T07:04:11Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16662-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการขายพ่วงนั้นมีความเห็นทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวความคิด แนวความคิดแรกเห็นว่า การขายพ่วงย่อมส่งผลกระทบต่อกลไกการแข่งขันในตลาด จึงถือว่าการขายพ่วงเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ในแนวความคิดที่สองเห็นว่า การขายพ่วงอาจช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบธุรกิจได้ จึงต้องถือว่าการขายพ่วงลักษณะดังกล่าวเป็นการขายพ่วงที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีหลักเกณฑ์การพิจารณาการขายพ่วงที่มีความถูกต้อง ละเอียดและชัดเจนว่าการขายพ่วงอย่างไรที่ชอบด้วยกฎหมาย และอย่างไรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 มาตรา 25 (2), 29 จากการศึกษาพบว่า กฎหมายแข่งขันทางการค้าในอดีตมุ่งพิจารณาเฉพาะการขายพ่วงในรูปแบบเดียวคือ ‘การบังคับขายพ่วง’ แต่ในปัจจุบันได้พิจารณาถึง การขายพ่วงทางเทคโนโลยี รวมทั้งการขายพ่วงในรูปแบบอื่น เช่น ‘การขายพ่วงที่มีการให้ส่วนลดเป็นชุด’ และในต่างประเทศมีพัฒนาการแนวคิดเกี่ยวกับการขายพ่วง และให้การยอมรับหลักแห่งเหตุผลรวมทั้งคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการแข่งขันมากขึ้น ในประเทศญี่ปุ่นมีการนำหลักในเรื่อง ‘การค้าที่ไม่เป็นธรรม’ มาลงโทษผู้กระทำผิด ขณะที่สหภาพยุโรปมีการออกประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาการจำกัดการแข่งขันในแนวดิ่ง ซึ่งมีเรื่องของการบังคับขายพ่วงบัญญัติอยู่ในนั้น ในส่วนของการขายพ่วงที่มีการให้ส่วนลดเป็นชุดนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกานำบทบัญญัติเรื่อง ห้ามการผูกขาดหรือพยายามผูกขาดมาลงโทษผู้กระทำผิด และใช้เกณฑ์การพิจารณาเช่นเดียวกับการขายต่ำกว่าทุน อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคบางประการเนื่องมาจากตัวบทกฎหมายที่ไม่ชัดเจน และการบังคับใช้กฎหมายซึ่งทางปฏิบัติไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะแนวทางการแก้ไขและเกณฑ์การพิจารณาการขายพ่วงในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้en
dc.description.abstractalternativeThere are controversial issues about ‘tying and bundling’. On the one hand, tying and bundling can restraint competition and limit the choice of buyers. Therefore, tying and bundling in this case will be illegal. On the other hand, tying and bundling may encourage the efficiency of the competitors. Such tying and bundling will be legal. However, in Thailand, there is no suitable, detailed, and obvious guideline concerning tying and bundling that can categorize between legal and illegal tying and bundling under the Trade Competition Act B.E. 2542 section 25 (2), 29. The results of study indicate that Competition Law in the past specifically focused on ‘tying or tied-in sale’. While at the present time it considers about ‘technological tying/bundling’ as well as other types of bundling such as ‘mixed bundling’ or ‘bundled discount’. Additionally, foreign countries have been developed the ideas about tying and bundling and accepted the rule of reasons as well as other factors which can lead to negative effect in the market. In Japan, there is a theory called ‘unfair business practice’ which can be used to punish the illegal tying. In EU, the commissions announced ‘guideline of vertical restraint’ which provided preliminary details about tying. In terms of ‘mixed bundling’ or ‘bundled discount’ the US court decided such cases by the rule called ‘monopolization or attempted monopolization’ and analyzed the same method as ‘predatory pricing’. However, in Thailand, there are certain problems from the unclear enactment including the law that could not be practically enforced. Thus, the author would like to propose the solutions and guideline written in this thesis.en
dc.format.extent2127424 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1272-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการแข่งขันทางการค้าen
dc.subjectการขายพ่วงen
dc.subjectพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542en
dc.titleปัญหาการขายพ่วงตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542en
dc.title.alternativeProblems relating to tying and bundling under the Trade Competition Act B.E. 2542en
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSakda.T@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1272-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sanee_pu.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.