Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16670
Title: การศึกษาภูมิทัศน์เนินทรายชายฝั่งเพื่อการวางแผนภูมิทัศน์เชิงนิเวศวิทยา กรณีศึกษา หาดบางเบิด อ.ปะทิว จ.ชุมพร
Other Titles: A study of coastal sand dune for the purpose of landscape ecological planning : case study Bangberd beach, Pateaw district, Chumporn province
Authors: กานต์ อรัณยกานนท์
Advisors: ดนัย ทายตะคุ
จามรี อาระยานิมิตสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Danai.Th@Chula.ac.th
Chamree@hotmail.com
Subjects: นิเวศภูมิทัศน์
นิเวศวิทยาชายฝั่ง
เนินทราย
พืชชายฝั่ง
หาดบางเบิด (ชุมพร)
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาในด้านโครงสร้าง บทบาทและพลวัตของเนินทรายชายฝั่ง เพื่อนำผลการศึกษามาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นแผนที่แสดงความอ่อนไหวเชิงนิเวศ และแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงต่อความเสียหายของระบบนิเวศ เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผนภูมิทัศน์เชิงนิเวศวิทยา ในบริเวณภูมิทัศน์เนินทรายชายฝั่งของพื้นที่ศึกษา จากการศึกษาทฤษฎีและการสำรวจพื้นที่ศึกษา ทำให้สามารถเข้าใจในด้าน “โครงสร้าง” ของเนินทรายชายฝั่ง ด้วยการแบ่งพื้นที่โครงสร้างของเนินทรายจากลักษณะทางภูมินิเวศสัณฐานตามแนวทางของ lan Mcharg (1971) ส่วนในด้าน”บทบาท”ของเนินทรายชายฝั่งที่สำคัญก็คือ คุณค่าในด้านเป็นตัวกันพายุและคลื่นที่ซัดเข้ามายังชายฝั่งไม้ให้เข้าไปในแผ่นดิน ส่วน “พลวัต” ของเนินทรายชายฝั่งนั้น คือการเปลี่ยนแปลงของเนินทรายชายฝั่งอันเกิดจากการกระทำของลมและการเข้าปกคลุมของพืชพันธุ์อันมีผลต่อกระทบต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนไหว ของเนินทรายชายฝั่ง ซึ่งจากการวิเคราะห์และสรุปทฤษฎี การศึกษานี้สามารถจำแนกโครงสร้างของภูมิทัศน์เนินทรายชายฝั่งได้ 3 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ พืชพันธุ์ ความลาดชัน และภูมินิเวศสัณฐาน (ตามแนวทางการแบ่งพื้นที่ของ lan McHarg) ซึ่งหากมีการกระทำใดที่มีผลในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักทั้ง 3 แล้ว ก็จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านบทบาท และพลวัตของเนินทรายชายฝั่ง ดังนั้นโครงสร้างหลักทั้ง 3 นี้ จึงถูกนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการสร้าง “แผนที่แสดงความอ่อนไหวเชิงนิเวศ” และนำไปสู่ “แผนที่แสดงพื้นที่เสียงต่อความเสียหายของระบบนิเวศ” ในที่สุด ซึ่งการสร้างแผนที่นี้ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการวางแผนภูมิทัศน์ อันจะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการวางแผนจัดพื้นที่ เพื่อการอนุรักษ์ และใช้ในการกำหนดกิจกรรม ข้อห้าม ตามเงื่อนไขการแบ่งประเภทของความเสี่ยงต่อความเสียหายของระบบนิเวศในลำดับต่อไป
Other Abstract: To study the structures, functions and dynamics of coastal sand dune in order to synthesizing an ecological sensitivity map and a vulnerability map that can be used in landscape ecological planning process of the study area. The review and analysis of related theories and site survey enable the understanding of the structure of the coastal sand dune in terms of landscape ecological morphology following lan McHarg(1971) theory. In terms of function, the functions of coastal sand dune can be characterized as the natural barrier to protect the inland area from wind and wave. In terms of dynamics, the changes and movements of the sand dune are under the strong influences of wind and vegetation cover. This study characterized major structures of the coastal sand dune into 3 categories: vegetation, slope and landscape ecological morphology. As a result, these three major structures are used as the term main criteria to synthesis an ecological sensitivity map and a vulnerability map of the area. Synthesizing these maps are parts of a landscape planning process for conservation and management of the area.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิสถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16670
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.954
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.954
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
karn_ar.pdf11.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.