Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16682
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปาริชาต สถาปิตานนท์ | - |
dc.contributor.author | ญาดา วิทยาพันธ์ประชา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2012-02-04T13:42:32Z | - |
dc.date.available | 2012-02-04T13:42:32Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16682 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยผสมผสานทั้งการวิจัยในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ อันประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับละครส่งเสริมศีลธรรมเรื่อง “ทองล้นหลัง” ด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Document analysis) ผ่านการนำเสนอและถ่ายทอดเรื่องราวของละครดังกล่าว ร่วมกับการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimentation) ในรูปการวิจัยแบบ Pretest-posttest design โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 350 คน จากโรงเรียนที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร อันได้แก่ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี โรงเรียนหอวัง และโรงเรียนวัดปากน้ำวิทยาคม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาหลักคิดเรื่องศีลธรรม คุณธรรมและวิธีการที่สอดแทรกหลักคิดเรื่องศีลธรรม คุณธรรมผ่านการนำเสนอของละครเรื่อง “ทองล้นหลัง” และเพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม ด้านศีลธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร ก่อนและหลังรับชมละครเรื่อง “ทองล้นหลัง” รวมทั้งเพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม ด้านศีลธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร ก่อนและหลังรับชมละครเรื่อง “ทองล้นหลัง” และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ t-test ซึ่งประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. ละครเรื่องทองล้นหลังสามารถสอดแทรกศีลธรรม ผ่านคุณธรรมพื้นฐานหลัก 3 ประการ คือ วินัย เคารพ อดทน ด้วยการนำเสนอเรื่องราวด้วยภาพพฤติกรรมและบทพูด บทสนทนาของตัวละคร โดยเฉพาะ “ก่อ” พระเอกของเรื่อง ซึ่งได้นำแนวคิดด้านสาระบันเทิงมาปรับใช้เพื่อให้ความรู้ และสร้างทัศนคติที่ดีให้แก่เยาวชน อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ชม 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีระดับความรู้ มีความแตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านทัศนคติ และพฤติกรรมด้านศีลธรรม มีความแตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกลุ่มทดลอง มีระดับความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม ด้านศีลธรรม ก่อนและหลังรับชมละครเรื่อง “ทองล้นหลัง” มีความแตกต่างกัน โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย ระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านศีลธรรม หลังชมละคร ทีที่มีความแตกต่างกันโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าละครมีผลต่อผู้ชมในการให้ความรู้ สร้างทัศนคติ อันนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในกลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม ด้านศีลธรรม ภายหลังที่ได้รับชมละครเรื่อง “ทองล้นหลัง” เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับกลุ่มควบคุม เมื่อทำแบบทดสอบ Post-test ก็มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม ด้านศีลธรรม สูงขึ้นเช่นกัน โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีจำนวนผู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยในกลุ่มมากที่สุดเพิ่มขึ้น | en |
dc.description.abstractalternative | To (1) study the main ideas about morality and ethics presenting in the presentation of drama, "Thong Loun Lang" ; (2) analyze the knowledge, attitudes, and behavior” for presenting the junior high school students in Bangkok before and after watching the drama "Thong Loun Lang"; (3) compare the knowledge, attitudes, and behavior among junior high school students in Bangkok before and after watching the drama "Thong Loun Lang". Documentary analysis and quasi experimental research method with pretest-posttest design are used to collect data sfrom 350 students in Bangkok area. The findings and results of this research were as follows: 1. “Thong Loun Lang” drama represents 3 main moral virtues such as discipline, patience, and respect to parents, teachers, and other people through the visual behavior, conversation and dialogue of the characters. 2. Before getting the treatment, the experimental group and the control group were statistically different in terms of knowledge but not different in terms of attitude, and behavior. 3. After getting the treatment, the experimental group had statistically increased in their level of knowledge, attitude and behavior. 4. After getting the treatment, the experimental group and the control groups had statistically increased their knowledge, attitude, and behavior. | en |
dc.format.extent | 3723201 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.449 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ละครโทรทัศน์ไทย | en |
dc.subject | ละครโทรทัศน์ไทย -- แง่ศีลธรรมจรรยา | en |
dc.subject | ละครกับเยาวชน -- ไทย | en |
dc.title | ผลของละครเพื่อสังคมไทยในการพัฒนาศีลธรรมเยาวชน | en |
dc.title.alternative | The effect of Thai social drama for the moral development in youth | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | hart.S@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.449 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
yada_wi.pdf | 3.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.