Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16692
Title: | ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่มีต่อความสามารถในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของผู้สูงอายุหญิงในสถานสงเคราะห์คนชรา |
Other Titles: | Effects of organizing non-formal education activities based on participatory learning concept on self-care ability for noncommunicable diseases of elderly females in the home for the aged |
Authors: | นี ผุดผ่อง |
Advisors: | วรรัตน์ อภินันท์กูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | aeworarat@yahoo.com |
Subjects: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน กิจกรรมการเรียนการสอน การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ผู้สูงอายุ การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่มีต่อความสามารถในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของผู้สูงอายุหญิงในสถาน สงเคราะห์คนชรา 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทักษะและ ทัศนคติในการดูแลตนเองระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ของผู้สูงอายุหญิงในสถานสงเคราะห์คนชรา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่มีต่อความสามารถในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของผู้สูงอายุหญิงในสถานสงเคราะห์คนชรา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้สูงอายุหญิง อายุ 60 ปี ขึ้นไป ในสถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) จำนวน 30 คน การจัดกิจกรรมดังกล่าวใช้ ระยะเวลา 5 วัน รวมทั้งสิ้น 50 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่มีต่อความสามารถในการดูแลตนเองและเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบความรู้ แบบวัดทักษะ แบบวัดทัศนคติในการดูแลตนเอง และแบบประเมินผลการจัดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดย โปรแกรม SPSS version 17.0 ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่มีต่อความสามารถในการดูแลตนเอง มีกระบวนการของกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม อัน ได้แก่ 1) ขั้นประสบการณ์ 2) ขั้นถกคิดและอภิปราย 3) ขั้นสรุปความคิด 4) ขั้นนำไปปรับใช้ ส่งผลให้ผู้สูงอายุหญิงในสถาน สงเคราะห์คนชรามีความสามารถในการดูแลตนเอง 2. ผลการทดลองกิจกรรม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ ทักษะ และทัศนคติในการดูแลตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการทดลองกิจกรรม พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบตามแนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่มีต่อความสามารถในการดูแลตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.85) |
Other Abstract: | The purposes of this pre- experimental research design were to 1) develop non-formal education activities based on participatory learning concept on self-care ability for noncommunicable diseases of elderly females in the home for the aged; 2) compare knowledge, skills, and attitude in self-care ability for noncommunicable diseases of elderly females in the home for the aged, and 3) to study participants’s satisfaction towards non-formal education activities after the experiment. The research samples were 30 elderly females in Chaleomrajakumaree the home for people ages over 60. Activities were organized for 5 days, totally 50 hours. Plans the research instruments non-formal education activities, the knowledge test, the skill test, the attitude test, and the evaluation form. The data were analyzed by using means (X-bar), Standard Deviation ( S.D.), and dependent-samples t (t-test) at .05 level of significance with SPSS version 17.0 program. The results were as follow 1. The processes of developing non-formal education activities based on participatory learning concept on self-care ability were 1) experience 2) reflection and discussion 3) conceptualize 4) application caused to the processes in enhance the has self-care ability of female elderlies in the home for the aged. 2. After the experiment, the experimental group had the mean scores in knowledge, skills and attitude in self-care after the experiment higher than the mean scores before the experiment at .05 level of significance. 3. After participating the non-formal education activities, the experimental group reported their satisfaction towards the activities at the highest level (X-bar = 4.85). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16692 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.523 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.523 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nee_pu.pdf | 5.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.