Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16718
Title: กลยุทธ์การสื่อสาร การรับรู้ ทัศนคติ และการยอมรับกองทุนพัฒนาชุมชนของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง ประจำปี พ.ศ. 2552
Other Titles: Communication strategies, perception, attitude and acceptance in clean energy fund communities around electricity plant of Electricity Authority in Map Ta Sub-district, Rayong province in the year 2009
Authors: วรอร เมฆสวัสดิ์
Advisors: สุวัฒนา วงษ์กะพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Suwattana.V@chula.ac.th
Subjects: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การสื่อสารในการพัฒนาชุมชน
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ
กองทุนพัฒนาชุมชน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา (1) กลยุทธ์การสื่อสารกองทุนพัฒนาชุมชนของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง (2) การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติ และการยอมรับกองทุนพัฒนา ชุมชนของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง (3) ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติ และการยอมรับกองทุนพัฒนาชุมชนของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตำบล มาบตาพุด จังหวัดระยอง การวิจัยประกอบด้วยการศึกษาวิจัย 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ศึกษาเรื่อง “กลยุทธ์การสื่อสารกองทุนพัฒนาชุมชนของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคคล ที่เกี่ยวข้องในการสื่อสารกับชุมชนมาบตาพุด จังหวัดระยอง และจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 ศึกษาเรื่อง “การรับรู้ ข่าวสาร ทัศนคติ และการยอมรับกองทุนพัฒนาชุมชนของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง” เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ใน ชุมชนมาบตาพุด จำนวน 400 คน ผลการวิจัยในส่วนของกลยุทธ์การสื่อสารกองทุนพัฒนาชุมชนของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นั้น พบว่ามีการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน และมีการนำกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจกับชุมชน สามารถแบ่งกลยุทธ์ที่ใช้ได้เป็น 2 ประเภทคือ (1) กลยุทธ์การสื่อสารการใช้สื่อประสม (2) กลยุทธ์การสื่อสารหลายระดับ ผลการวิจัยในส่วนของการรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติ และการยอมรับกองทุนพัฒนาชุมชนของชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง พบว่า (1) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกองทุนพัฒนาชุมชนของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจากสื่อบุคคล หอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน และสื่อวิทยุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติของชุมชนมาบตาพุด ที่มีต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (2) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับกองทุนพัฒนาชุมชนของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจากสื่อบุคคล หอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน และสื่อวิทยุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับของชุมชนมาบตาพุด ที่มีต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (3) ทัศนคติที่มีต่อกองทุนพัฒนาชุมชนของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับ กองทุนพัฒนาชุมชนของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
Other Abstract: To study (1) the communication strategies in Clean Energy Fund of communities around electricity plant of Electricity Authority in Map Ta Phut Sub-district, Rayong Province (2) media perception, attitude and acceptance in Clean Energy Fund of communities around electricity plant of Electricity Authority in Map Ta Phut Sub-district, Rayong Province (3) the relationship between media perception, attitude and acceptance in Clean Energy Fund of communities around electricity plant of Electricity Authority in Map Ta Phut Sub-district, Rayong Province. This research will be divided into 2 parts. Part 1 is the qualitative research in the Communication strategies in Clean Energy Fund of communities around electricity plant of Electricity Authority in Map Ta Phut Sub-district, Rayong Province. The primary data was gathered from in-depth interview with people having involved in community communication in Map Ta Phut area while the secondary data was collected from any other related documents. Part 2, Media perception, attitude and acceptance in Clean Energy Fund of communities around electricity plant of Electricity Authority in Map Ta Phut Sub-district, Rayong Province, is a survey research using questionnaire as a tool to collect data from 400 residents in the Map Ta Phut communities were randomly selected to answer this survey independently. The result of Part 1 shows that there is an efficient process and various communication strategies have been implemented in order to communicate and build up understanding through the Map Ta Phut communities. These strategies can be divided into 2 categories: - (1) mixed communication strategy (2) various levels of communication strategy. In addition, the Part 2, the research on media perception, attitude and acceptance in Clean Energy Fund of communities around electricity plant of Electricity Authority in Map Ta Phut Sub-district, Rayong Province, concludes that (1) the media perception accesses by interpersonal media, village broadcast, public relations billboard, participation activities, and radio relates to the positive attitude of the Map Ta Phut communities to the Electricity Authority. (2) The media perception positively relates to the acceptance of the Map Ta Phut communities. (3) Attitude in the Clean Energy Fund of communities around electricity plant of Electricity Authority in Map Ta Phut Sub-district, Rayong Province positively relates to the acceptance of the Map Ta Phut communities.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16718
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.55
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.55
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
woraon_me.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.