Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16728
Title: | การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมการสอนงานเพื่อเพิ่มผลลัพธ์การเรียนรู้ของนิสิตปริญญาบัณฑิต |
Other Titles: | Research and development of a mentoring program to increase learning outcomes of undergraduate students |
Authors: | ศิริพร ประนมพนธ์ |
Advisors: | ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ นงลักษณ์ วิรัชชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Duangkamol.T@chula.ac.th Nonglak.W@chula.ac.th |
Subjects: | การสอนงาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การศึกษาขั้นอุดมศึกษา ปริญญาดุษฎีบัณฑิต |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการสอนงานเพื่อเพิ่มผลลัพธ์การเรียนรู้ของนิสิตปริญญาบัณฑิต 2) เพื่อศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพถึงผลของการสอนงานที่มีต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ในด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัยของนิสิตปริญญาบัณฑิต และต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของนิสิตปริญญาบัณฑิต เมื่อควบคุมตัวแปรสาขาวิชาและขนาดกลุ่ม และ 3) เพื่อปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมการสอนงานฯ แบบแผนการทดลองเป็นแบบแฟคทอเรียลขนาด 2X3X3 มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนรายวิชา 2757305 ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2552 จำนวน 212 คน ซึ่งอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ชุด ได้แก่ 1) แบบทดสอบด้านวัดและประเมินผลการศึกษา 2) แบบสอบถามสำหรับผู้เรียนงานเพื่อวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านจิตพิสัย และทักษะพิสัย 3) แบบตรวจสอบการจัดกระทำ และ 4) โปรแกรมการสอนงานประกอบด้วย 4.1) เอกสารโปรแกรมการสอนงาน 4.2) คู่มือการคัดเลือกผู้สอนงาน 4.3) คู่มือสำหรับผู้สอนงาน 4.4) สมุดบันทึกผู้สอนงาน และ 4.5) โปรแกรมการฝึกผู้สอนงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลระยะยาวได้จากการวัด 3 ครั้ง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุนาม การวิเคราะห์โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง และการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมการสอนงานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ 8 แผน สำหรับสาระการเรียนรู้ 8 เรื่อง แต่ละแผนมีเอกสารเนื้อหาการเรียนรู้ แบบฝึกหัด และสื่อการสอน การสอนงานในการวิจัยครั้งนี้ใช้เวลาสัปดาห์ละครั้งๆ ละประมาณ 1-2 ชั่วโมง จำนวน 10 ครั้ง กระบวนการสอนงานแต่ละครั้งมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นการสอบถามปัญหาและความต้องการของผู้เรียน ขั้นการสอนงานและการเรียนรู้ ขั้นการสรุปบทเรียน ขั้นการอภิปรายและการเสนอแนะแหล่งการเรียนรู้ต่อไป และขั้นการสำรวจความคิดเห็นและความรู้สึก 2. ผลของการสอนงานที่มีต่อผลลัพธ์การเรียนรู้พบว่า มีอิทธิพลปฏิสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างประเภทการสอนงาน กลุ่มสาขาวิชาและขนาดกลุ่ม และมีอิทธิพลทางอ้อมของประเภทการสอนงานและกลุ่มสาขาวิชาส่งผ่านความตั้งใจเรียน และความถี่ในการเรียนต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ และอัตราการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุทั้ง 2 โมเดลมีความตรง โดยมีค่า chi-square = 265.98, df = 250, p = 0.233, GFI = 0.911, AGFI = 0.875, RMR = 0.059 สำหรับโมเดลผลลัพธ์การเรียนรู้ และมีค่า chi-square = 281.91, df = 251, p = 0.088, GFI = 0.907, AGFI = 0.870, RMR = 0.024 สำหรับโมเดลอัตราการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย อิทธิพลของการสอนงานมีอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.261 และ -0.004 ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้และอัตราการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ตามลำดับ อิทธิพลของการสอนงานต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนงานนั้น ส่งอิทธิพลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยสูงสุด รองลงมาคือผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านจิตพิสัย และผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ตามลำดับ 3. การแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม ได้แก่ 1) การเพิ่มการสังเกตพฤติกรรมการเรียนและการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น 2) การเพิ่มกิจกรรมให้ผู้เรียนงานมีโอกาสเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย และเนื้อหาการเรียนรู้ อย่างเป็นทางการ และ 3) การเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนงานในการวิเคราะห์การเสนอผลงาน |
Other Abstract: | The 3 objectives of this research were 1) to develop the mentoring program to increase learning outcomes of undergraduate students, 2) to study quantitatively and qualitatively the effect of mentoring on learning outcomes in cognitive, affective, and psychomotor achievement of undergraduate students and on the rate of change in cognitive achievement learning outcome of undergraduate students controlling for the field of study and class size, and 3) to modify the mentoring program. The research design was a 2X3X3 factorial design, collecting both quantitative and qualitative data. The sample consisted of 212 undergraduate students registering in the course 2757305 in the second semester, Faculty of Education, Chulalongkorn University, all of whom volunteered to participate in this research. The 4 sets of research instruments were 1) the Educational Measurement and Evaluation Test 2) questionnaire for mentees measuring the affective and psychomotor achievement 3) questionnaire for the manipulation check and 4) the mentoring program consisted of: 4.1) mentoring program document 4.2) manual for the mentor selection 4.3) manual for mentor, 4.4) journal for mentor and 4.5) program for mentor training. The longitudinal data were collected at 3 different times and analyzed using ANCOVA, MANCOVA, the analysis of covariance with repeated measures, the analysis of latent growth curve model, and the analysis of causal relationship model. The research results were as follows: 1. The developed mentoring program consisted of 8 learning organizational plans for 8 learning content areas, each of which consisted of learning content area document, exercise and instructional media. The mentoring program was organized once a week for 10 weeks, each of which took approximately 1-2 hours. The mentoring process for each session consisted of 5 stages, namely: Inquiry of the mentee’s problem and needs, mentoring and learning, conclusion of lesson, discussion and suggestion for further learning resources, and survey of the opinion and feeling. 2. The effects of mentoring on learning outcomes indicated that there were significant interaction effects between, mentoring type, field of study and class size, and the indirect effects of mentoring type, field of study via learning’s attention and the learning frequency on learning outcomes and the rate of change in cognitive achievement of learning outcome. The 2 causal models were valid with chi-square = 265.98, df = 250, p = 0.233, GFI = 0.911, AGFI = 0.875, RMR = 0.059 for the learning outcomes model and chi-square = 281.91, df = 251, p = 0.088, GFI = 0.907, AGFI = 0.870, RMR = 0.024 for the rate of change in cognitive achievement of learning outcome. The effects of mentoring has the indirect effects of 0.261, and -0.004 on learning outcomes and the rate of change in cognitive achievement of learning outcome, respectively. The effect of mentoring on learning outcomes in psychomotor achievement, affective achievement and cognitive achievement respectively. 3. The mentoring program was further modified by 1) a supplement of mentee’s behavior’s observation and informal interview for more in depth information 2) an addition of the activity to provide the opportunity for the mentees to formally their assignment and content learning and 3) an addition of more interaction among mentees during the presentation activity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16728 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.542 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.542 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
siriporn.pdf | 3.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.