Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16731
Title: | พัฒนาการรูปแบบอาคารที่อยู่อาศัยตามแนวราบในเคหะชุมชนของการเคหะแห่งชาติระหว่างปี 2516-2549 : กรณีศึกษาที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มระดับรายได้ ก. เช่า-ซื้อ |
Other Titles: | Development of low-rise housing morphology in the housing community of the National Housing Autority of Thailand between B.E. 2516-B.E. 2549 : a case study of hire-purchase housing for households with income level group A |
Authors: | สรวุฒิ อัครวัชรางกูร |
Advisors: | สุปรีชา หิรัญโร ปรีดิ์ บุรณศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Supreecha.H@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การเคหะแห่งชาติ ที่อยู่อาศัย การพัฒนาที่อยู่อาศัย |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การเคหะแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516 มีการจัดทำโครงการ ออกแบบและดำเนินการก่อสร้างที่อยู่อาศัยแล้ว 248,714 หน่วย การออกแบบที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยของการเคหะแห่งชาตินั้น มีความสำคัญมาก เนื่องจากต้องสอดคล้องกับต้นทุนค่าก่อสร้างที่จำกัดตามความสามรถในการจ่าย ของกลุ่มประชากรเป้าหมายผู้มีรายได้น้อย ซึ่งในแต่ละแบบ ต้องนำไปใช้ในการก่อสร้างเป็นปริมาณมาก ตลอดเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา การเคหะฯ ได้ออกแบบที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยหลายรูปแบบ แต่ยังขาดการศึกษารวบรวมและวิเคราะห์พัฒนาการอย่างเป็นระบบ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวม และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของรูปแบบที่อยู่อาศัยตามแนวราบสำหรับกลุ่มรายได้ ก ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่มีรายได้น้อยที่สุด โดยสามารถเก็บกลุ่มตัวอย่างที่อยู่อาศัย ตามแนวราบสำหรับกลุ่มรายได้ ก ทั้งหมด 79 โครงการ สร้างแผนภูมิพัฒนาการ เพื่อวิเคราะห์รูปแบบที่อยู่อาศัยตามช่วงเวลาสัมภาษณ์ และประชุมกลุ่มย่อยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติ ผลการศึกษา สามารถแบ่งรูปแบบที่อยู่อาศัยออกเป็น 13 รูปแบบจากโครงการทั้งหมด 79 โครงการ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ 1) แบบมาตรฐานก่อนปี 2524 เป็นรูปแบบตามสมัยนิยม ที่ใช้หลักของกฎหมายเป็นเกณฑ์ในการออกแบบ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ โดยมีการลดการอุดหนุน ทำให้รูปแบบที่อยู่อาศัยต้องเปลี่ยนไปเป็น 2) แบบบ้านสร้างบางส่วน เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการจ่ายของผู้มีรายได้น้อย ทำให้รูปแบบที่อยู่อาศัยมีเฉพาะแกนบ้านและห้องน้ำ แต่เนื่องจากการออกแบบไม่ตรงความต้องการของผู้อยู่อาศัย การเคหะฯ จึงต้องเปลี่ยนรูปแบบที่อยู่อาศัยให้สมบูรณ์ในราคาเดียวกับบ้านสร้างบางส่วนเป็น 3) แบบบ้านสร้างพร้อมอยู่และสอดคล้องกับความสามารถในการจ่าย หลังจากนั้นเมื่อภาวะเศรษฐกิจเปลี่ยนไปการเคหะฯ ได้นำแนวคิดด้านการตลาดเข้ามาใช้ ทำให้เกิด 4) แบบบ้านสร้างพร้อมอยู่ที่ใช้แนวคิดด้านการตลาด ทำให้รูปร่างหน้าตาและพื้นที่ใช้สอยของที่อยู่อาศัยดีขึ้น ในแผนฯ 9 มีนโยบายบ้านราคาเดียวทั่วประเทศทำให้เกิดรูปแบบ 5) แบบบ้านเอื้ออาทร เป็นรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการและพื้นที่ใช้สอยที่ดีที่สุด การเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่อยู่อาศัยตามแนวราบ สำหรับกลุ่มรายได้ ก นั้นเกิดจากนโยบายเป็นหลัก เมื่อนโยบายเปลี่ยนรูปแบบที่อยู่อาศัยก็เปลี่ยนไป โดยมีบ้านสร้างบางส่วนเท่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงจากความต้องการของผู้อยู่อาศัยเอง และรูปแบบที่เปลี่ยนไปนั้น แทบจะไม่ได้นำมาใช้ซ้ำเลย ทั้งที่รูปแบบที่อยู่อาศัยเหล่านั้นมีเอกลักษณ์และความน่าสนใจอยู่มาก การเคหะฯ ควรมีการรวบรวมและศึกษารูปแบบที่อยู่อาศัยที่น่าสนใจประเภทอื่นๆ ด้วย แม้ว่าการเคหะฯ มีงานวิจัยเกี่ยวกับต้นแบบที่อยู่อาศัยอยู่บ้างแต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ควรมีการนำงานวิจัยต่างๆ มาจัดอบรมเพื่อให้สถาปนิกสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาต้นแบบที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อยต่อไป |
Other Abstract: | The National Housing Authority of Thailand, founded in B.E. 2516, is the principal organization for housing development for those with low and medium income levels, and has been significantly involved in deal of housing projects, designs and constructions. The design of housing for those with low-level incomes is of great importance because of a limited construction budget to meet the needed capacity of the target population. These funds must cover the construction of a large number of buildings and great damage could result from only a small mistake in the design. Over the past three decades, the National Housing Authority has designed various types of housing for those with low incomes, but there is still a lack of a systematic approach in its studies, compilation and development. This thesis aims at compiling and analyzing changes and developments in designs of low-rise housing for those with low-income level group A residents, the target group with the lowest income. All 79 designs for low-rise housing for group A income group were compiled and a development chart made in order to conduct an analysis of housing based on the interview period and group meetings of those involved at the levels of policy and practice. Housing designs can be divided into five groups, namely, (1) the standard design before B.E. 2524, (2) the partial housing building design, (3) the complete housing design ready for moving-in and in tandem with the payment capacity, (4) the complete housing design ready for moving-in based on the marketing concept, and (5) Housing Authority Project design (Bann Uuraatorn-Generosity Housing), with policy and plan as the main factors. Changing the housing design without a trial-run or needs analysis done on the future residents has negated the need for the partial housing design. Even if each type of housing design is created based on a different policy, the design concept is the same; that is, consideration has to be given to the construction cost and the payment capacity of those with low incomes in order to make low-rise housing that optimizes the limited living area for residents of the income level Group A. The National Housing Authority should focus attention on the thoughts and opinions of those residents and should conduct a follow-up and make an assessment of the housing designs incorporating adjustments for better living conditions. There also should be an in-depth study of the National Housing Authority’s housing designs in order to make ongoing improvements to their original prototype. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16731 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.925 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.925 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sorawut_ak.pdf | 8.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.