Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16769
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตรา รู้กิจการพานิช-
dc.contributor.authorพิชาฉาน เวชกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-10T15:07:31Z-
dc.date.available2012-02-10T15:07:31Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16769-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการเคลือบเงินของการผลิตกระจกเงา และหาเงื่อนไขของปัจจัยต่างๆ ที่เหมาะสมในกระบวนการเคลือบเงิน โดยอาศัยหลักการออกแบบการทดลอง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการเคลือบเงินให้มีค่าสูงขึ้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิต การวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเคลือบเงินทุกตัว จำนวน 9 ปัจจัย ได้แก่ ความเข้มข้นของสารละลายเงินตั้งต้น อัตราการจ่ายสารละลายเงิน ขนาดของหัวสเปรย์ จำนวนของหัวสเปรย์ การจัดวางตำแหน่งหัวสเปรย์ ความถี่การเคลื่อนที่ของราวสเปรย์ อุณหภูมิของน้ำ DI ความดันของน้ำ DI และคุณภาพน้ำ DI จากการวิเคราะห์เบื้องต้น ได้ตัดปัจจัยความเข้มข้นของสารละลายเงินตั้งต้นซึ่งเป็นปัจจัยตายตัว และตัดปัจจัยอุณหภูมิของน้ำ DI และคุณภาพน้ำ DI ซึ่งเป็นปัจจัยทิศทางเดียวออก อีกทั้งได้ตัดปัจจัยทั้ง 3 ตัวที่เกี่ยวกับหัวสเปรย์ออก เนื่องจากมูลค่าการลงทุนสูงและใช้เวลาสั่งซื้อนาน จึงพิจารณาปัจจัยที่เหลือเพียง 3 ปัจจัย และนำปัจจัยเหล่านี้ไปทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ โดยทดสอบคุณสมบัติทุกด้านที่เกี่ยวกับการเคลือบเงิน และศึกษาวิเคราะห์หาปัจจัยและเงื่อนไขที่เหมาะสมที่สุดจากผลการทดลอง เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการผลิตต่อไป จากผลการทดสอบด้านต่างๆ ของการเคลือบเงิน สามารถสรุปเงื่อนไขสำหรับปัจจัยต่างๆ ในการเคลือบเงินที่เหมาะสม ที่ระดับนัยสำคัญ α = 0.05 ได้ดังนี้ คืออัตราการจ่ายสารละลายเงิน 5 ลิตรต่อชั่วโมง ความถี่การเคลื่อนที่ราวสเปรย์ 13 รอบต่อนาที และความดันของน้ำ DI 3 บาร์ ซึ่งเมื่อนำเงื่อนไขที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการผลิตจริง พบว่าประสิทธิภาพการเคลือบเงินมีค่าสูงขึ้น จากเดิม 71.3% เป็น 78.9% หรือเพิ่มขึ้น 7.6% และสามารถลดต้นทุนการใช้สารละลายเงินในการผลิตได้ 18.32 บาทต่อหน่วยผลิตภัณฑ์en
dc.description.abstractalternativeTo study factors that influence the efficiency of silvering process in mirror production and to apply the design of experiment (DOE) technique to determine the appropriate parameters for silvering process. The nine factors studied in the initial phase of the research were the concentration of silver solution, silver solution supply rate, size of spray nozzle, number of spray nozzle, spray nozzle configuration, frequency of moving spray bar, temperature of DI water, DI water pressure and quality of DI water. From the initial run, fixed concentration of silver solution, temperature of DI water and quality of DI water, which are one-way factors, are eliminated from this analysis. In addition, 3 more factors relating to spray nozzle are also eliminated from this analysis because of high cost of investment. Consequently, there are only 3 main factors that are applied completely randomized factorial design which determines all characteristics of Silvering process and verifies factors and optimal conditions from experiment used as a standard of silvering process. Based on the results, the appropriate factors and conditions for silvering process, with 0.05 = α significance level, are silver solution supply rate 5 Liters/hr, frequency of moving spray bar 13 rpm and pressure of DI water 3 Bar. When the recommended conditions are applied in the actual production, the efficiency of silvering process is increased from 71.3% to 78.9% and the material cost of silver solution is decreased 18.32 baht per product unit.en
dc.format.extent4712534 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1162-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการออกแบบการทดลองen
dc.subjectการควบคุมต้นทุนการผลิตen
dc.subjectกระจกเงาen
dc.subjectการเคลือบด้วยเงินen
dc.titleการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการเคลือบเงินของการผลิตกระจกเงาen
dc.title.alternativeEfficiency improvement for silvering process in mirror productionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorfieckp@eng.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1162-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichashan_We.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.