Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16771
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดุษฎี ทายตะคุ-
dc.contributor.authorภนิดา หอมชื่น-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialกระบี่-
dc.date.accessioned2012-02-10T15:10:45Z-
dc.date.available2012-02-10T15:10:45Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16771-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของชุมชนประมงพื้นบ้านเกาะกลางปากแม่น้ำกระบี่ และสภาพปัจจุบันของวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนในพื้นที่ปากแม่น้ำกระบี่ ตำบลคลองประสงค์ 2) วิเคราะห์ระบบนิเวศชุมชน (Community ecosystem) ของชุมชนประมงพื้นบ้านเกาะกลางปากแม่น้ำกระบี่ 3) วิเคราะห์กระบวนการ กลไกและกฎเกณฑ์ทางสังคม และวัฒนธรรมอิสลามในการร่วมกันจัดการการใช้ประโยชน์พื้นที่ปากแม่น้ำกระบี่ ตำบลคลองประสงค์ และ 4) สรุประบบนิเวศชุมชน ตลอดจนปัญหา และศักยภาพของชุมชนในการร่วมกันจัดการการใช้ประโยชน์พื้นที่ปากแม่น้ำกระบี่ตำบลคลองประสงค์ โดยชุมชนประมงพื้นบ้านเกาะกลางปากแม่น้ำกระบี่ ตำบลคลองประสงค์ จังหวัดกระบี่ การศึกษาระบบนิเวศชุมชนจะศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์บุคคลสำคัญในชุมชน การสอบถามกลุ่มวัย และกลุ่มอาชีพในชุมชน ควบคู่กับการศึกษาแนวความคิดและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย เอกสารทางวิชาการ และภาพถ่ายทางอากาศ แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนคือ 1) ประวัติความเป็นมาของพื้นที่ชุมชน 2) พัฒนาการของชุมชน 3) สภาพพื้นที่ปัจจุบันของชุมชน และในการวิเคราะห์ระบบนิเวศชุมชน จะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วนคือ 1) ศึกษาระบบนิเวศในพื้นที่ชุมชนผ่านมิติสิ่งแวดล้อม 4 มิติ ได้แก่ มิติทรัพยากร มิติเทคโนโลยี มิติของเสียและมลพิษ และมิติมนุษย์หรือชุมชน 2) ศึกษาระบบสังคมของชุมชน กระบวนการ กลไกและกฎเกณฑ์ทางสังคม และวัฒนธรรมอิสลาม รวมทั้งการวิเคราะห์ปัญหา และศักยภาพของชุมชนในการร่วมกันจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชุมชน ผลการศึกษาพบว่า จากสภาพปัญหาที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพระบบนิเวศชุมชนประมงพื้นบ้านเกาะกลางปากแม่น้ำกระบี่ ตำบลคลองประสงค์ ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรโดยเฉพาะการทำนาบ่อเลี้ยงกุ้งที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของชุมชน ชุมชนจึงเริ่มตื่นตัวในการฟื้นฟูดูแลทรัพยากรธรรมชาติ โดยการมีส่วนร่วมของผู้คนในการทำกิจกรรมทางสังคมที่มีอยู่ในพื้นที่ชุมชน ได้แก่ กลุ่มทางอาชีพต่างๆ และกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาของชุมชน ทำให้ทราบถึงศักยภาพของชุมชนในการร่วมกันจัดการการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุมชน ในลักษณะของการรวมกลุ่มทางสังคมเป็นการจัดการทางสังคมโดยใช้กระบวนการ กลไกและกฎเกณฑ์ทางสังคมของชุมชนมุสลิมในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีรากฐานมาจากความเชื่อทางศาสนา และได้สั่งสมสืบทอดกันมาเป็นภูมิปัญญาในการกำหนดแบบแผนการร่วมกันจัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ชุมชนได้อย่างยั่งยืนen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this thesis are: 1) To study the development of fishing communities in Krabi estuaries and current lifestyle, economies, societies, and physical environment of Klongprasong communities. 2) To analyze the ecosystem of Klongprasong communities in Krabi Estuarine 3) To analyze the social regulation process as well as Islamic culture in utilizing and managing Klongprasong’s land resources at Krabi Estuarine. 4) To conclude the community ecosystem, problems and analyze Klongprasong fishing community’s ability to manage area usage in Krabi province. The information of this case study is supported by site survey, observation, community leader interview, governmental record, related literatures, and aerial photographs, also questionnaires are selected by age, occupation, this case study comprise of 3 parts research which are : 1) Community history 2) The development of communities 3) Community area usage and resources is combined by physical characteristics, economies, societies, cultures, community environments. Moreover, the community ecosystem analysis is divided in 2 parts which are 1) The community ecosystem, analyzed by 4 dimensions which consist of resource, technology, waste and pollutant, humanity or community. 2) study the community regulation system and Islamic cultures as well as analyzing problems and community’s ability to manage and utilized its resource. The result from the study shows that there was a dramatic change with community’s ecosystem in Krabi Estuarine, Klongprasong district due to the affect of aquaculture business such as shrimp farms. Due to the deterioration of the community resources (land and water), the community began to recognize the effect this had on the community. Subsequently, the community realized the need to recover existing resources by making the community aware of the current issue and problem by involving conservation authority and other resource management organization. Also,they have awared to conserve their resources within the process of Islamic culture and community believes which could result for long term of conservation.en
dc.format.extent2829710 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1008-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการจัดการระบบนิเวศ -- ไทย -- กระบี่en
dc.subjectหมู่บ้านประมง -- ไทย -- กระบี่en
dc.titleระบบนิเวศชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนประมงพื้นบ้านเกาะกลางปากแม่น้ำกระบี่ ตำบลคลองประสงค์ จังหวัดกระบี่en
dc.title.alternativeCommunity ecosystem : a case study of fishing communities in Krabi Estuarine, Klongprasong District, Krabi Provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวางผังชุมชนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorDusadee.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1008-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panida_ho.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.