Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16797
Title: ปัจจัยทำนายการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนมัธยมศึกษา เขตภาคใต้ตอนบน
Other Titles: Predicting factors of alcohol drinking among secondary school students, upper-Southern region
Authors: จิราวรรณ พรหมชาติ
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Noraluk.U@Chula.ac.th
Subjects: ครอบครัว
แรงจูงใจ
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
วัยรุ่น
การควบคุมตนเองในวัยรุ่น
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัยรุ่นในปัจจุบันมีแนวโน้มการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอายุที่น้อยลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ นำไปสู่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เพิ่มมากขึ้นในวัยผู้ใหญ่ วัตถุประสงค์ของการวิจัยความสัมพันธ์เชิง ทำนายครั้งนี้ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการจำแนกกลุ่มการดื่มและปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนมัธยมศึกษา เขตภาคใต้ตอนบน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อายุ 12– 15 ปี จำนวน 420 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความ คาดหวังในผลลัพธ์เชิงบวก การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แรงจูงใจ ในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงลบ การทำหน้าที่ของครอบครัว และการรับรู้ การสนับสนุนจากเพื่อน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ค่าความ เที่ยงของเครื่องมือโดยการคำนวณจากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค คือ .70, .89, .93, .91, .87 และ .80 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการ วิเคราะห์จำแนกกลุ่ม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงลบ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ และการรับรู้การสนับสนุนจากเพื่อนมีความสัมพันธ์ทางลบกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียน (r = -.40, -.23 และ -.16 ตามลำดับ) แรงจูงใจในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และความ คาดหวังในผลลัพธ์เชิงบวก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียน (r = .40 และ .27 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการทำหน้าที่ของครอบครัว ไม่มี ความสัมพันธ์ทางสถิติกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียน 2. แรงจูงใจในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงลบ ความคาดหวัง ในผลลัพธ์เชิงบวก การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การรับรู้การ สนับสนุนจากเพื่อน และการทำหน้าที่ของครอบครัว มีประสิทธิภาพในการจำแนกกลุ่มการดื่มและการ ปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คิดเป็นร้อยละ 25.5 และพยากรณ์ได้ถูกต้องโดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 72.4 (Canonical correlation = .505)
Other Abstract: Adolescence now a day has tendency to alcohol drinking on drowned age, which is the main factor to involve with increase alcohol drinking until adulthood. The purpose of this predictive correlational research was to study the factors of discriminants efficiency alcohol drinking and refuse alcohol drinking among secondary school students, upper-southern region. The study sample included of 420 secondary school students age between 12-15 years. The samples were selected by simple random sampling. The instruments included positive alcohol expectancies, drinking refusal self-efficacy, drinking motive, negative alcohol expectancies, family functioning, and perceived peer supports questionnaires. All questionnaires were tested for content validity by a panel of five experts. The reliability results using Alpha Cronbach’s of the questionnaires were .70, .89, .93, .91, .87, and .80, respectively. The data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation, and discriminants analysis. The result revealed that: 1. Negative alcohol expectancies, drinking refusal self-efficacy, and perceived peer supports were negatively related to alcohol drinking among secondary school students (r = -.40, -.23, and -.16, respectively). Drinking motive and positive alcohol expectancies were positively related to alcohol drinking among secondary school students (r = .40, and .27, p < .05, respectively). While, family functioning was not related to alcohol drinking among secondary school students. 2. Drinking motive, negative alcohol expectancies, positive alcohol expectancies, drinking refusal self-efficacy, perceived peer supports and family functioning were significantly discriminants efficiency explained 25.5 % and predicting corrected about 72.4 % (Canonical correlation = .505, p < .05)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16797
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1016
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1016
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirawan_Ph.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.