Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16800
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนิต ภู่จินดา-
dc.contributor.advisorจิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ-
dc.contributor.authorชณัฐ กาญจนะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-11T07:19:43Z-
dc.date.available2012-02-11T07:19:43Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16800-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractพื้นที่บริเวณโดยรอบจุดเชื่อมต่อศูนย์กลางระบบขนส่งมวลชนร่วมมักกะสันหรือโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าสายสีแดง (Airport Link) เชื่อมต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมายังสถานีมักกะสัน ซึ่งรูปแบบของสถานีมักกะสันเป็นสถานีที่มีรูปแบบการจองบัตรโดยสารเดินทางที่สถานีได้เลย (City Air Terminal) โดยไม่ต้องจองบัตรโดยสารที่สนามบิน จากศักยภาพของสถานีมักกะสัน ทำให้พื้นที่ภายในโครงการมีการพัฒนาใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นเมืองศูนย์กลางคมนาคมและศูนย์กลางธุรกิจใหม่ รวมทั้งสร้างความเป็นเมืองน่าอยู่ในฐานะเป็นประตูสู่กรุงเทพมหานคร ซึ่งขอบเขตของโครงการเริ่มต้นตั้งแต่ถนนราชปรารภถึงถนนรัชดาภิเษก โดยภายในโครงการประกอบด้วย ศูนย์การค้าคอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน โรงแรม พื้นที่เช่าสำหรับพาณิชย์ ศูนย์แฟชั่นขนาดใหญ่ (Bangkok Fashion Mart) ศูนย์แสดงสินค้าขนาดใหญ่ (Exhibition Center) ศูนย์สุขภาพ (Health Mart) และศูนย์กลางการขายอุปกรณ์ชุดเครื่องครัว (World Kitchen Mart) เป็นต้น ด้วยอิทธิพลของโครงการโครงสร้างพื้นที่ฐานขนาดใหญ่ (Mega Project) อย่างสถานีที่มีรูปแบบการจองบัตรโดยสารเดินทางที่สถานี (City Air Terminal) ส่งผลให้ผู้คนและยานพาหนะจำนวนมากเข้ามาใช้งานพื้นที่โครงการ และต่อเนื่องออกมายังพื้นที่รอบๆ ที่อยู่นอกโครงการ แต่เนื่องจากพื้นที่ในปัจจุบันมีพื้นที่ที่มีรูปแบบกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารที่มีสภาพเสื่อมโทรม มีที่ว่างที่ไม่ได้ใช้งาน ประกอบกับโครงสร้างพื้นฐานการสัญจรไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับระบบขนส่งมวลชนรูปแบบใหม่และโครงการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ได้เพียงพอกับความต้องการการใช้พื้นที่โดยรอบสถานี จึงทำให้นำไปสู่วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาว่า รูปแบบกิจกรรมของพื้นที่และระบบโครงสร้างพื้นฐานการสัญจรรูปแบบใดที่จะสามารถรองรับกับปริมาณของผู้คนและยานพาหนะที่จะเข้ามาใช้งานบริเวณโดยรอบจุดเชื่อมต่อศูนย์กลางระบบขนส่งมวลชนร่วมมักกะสันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้พื้นที่เกิดจินตภาพที่ดีของความเป็นเมืองน่าอยู่ในฐานะเป็นประตูสู่กรุงเทพมหานครได้ แนวทางในการออกแบบโดยรองรับหลักการของ TOD (Transit Oriented Development) ของโครงการศูนย์กลางระบบขนส่งมวลชนร่วมมักกะสันหรือโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าสายสีแดง (Airport Link) ที่เกิดขึ้น เพื่อทำการพัฒนาพื้นที่รอบๆ โครงการให้เกิดการเชื่อมโยงกับพื้นที่รอบข้างและบริเวณอื่นๆ โดยรอบโครงการ นอกจากนี้ทำการพัฒนาพื้นที่ให้มีรูปแบบกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน และระบบโครงสร้างพื้นฐานการสัญจรให้มีความสอดคล้องเหมาะสมและสามารถรองรับกับปริมาณความต้องการเชิงพื้นที่ได้อย่างเพียงพอen
dc.description.abstractalternativeMakkasan Mass Transit Interchange Center is a major development project in the center of Bangkok. It includes City Air Terminal Station (CAT for Airport Link to Suvarnabhumi Airport), office building, residential buildings, hotels, exhibition center, and other supportive activities. Therefore, the effects of this mega-project will inevitably split out to the surroundings. The area between Rama 9, Asoke, and Petchburi Road should be redeveloped to support the new development direction of the city. The interchange between CAT and MRTA at Asoke station has to be effective. Redevelopment concept is the major direction for this project. The area around Makkasan Mass Transit Interchange Center should be designed as a Gateway of Bangkok and Thailand. Supportive activities to the mega-project were formulated in the designing program. Transit-Oriented Development (TOD) will be transformed and adapted as a major guideline for the area. Compact city and walkable neighborhood will be placed to create the healthy city and community. Overpass and underpass, including concourse level of the station, will play an important role in connecting people and activities together. Gateway is specially designed in the form of Thai traditional greeting to welcome the visitors. This focal building will be the center of interchange station with all travel mode located in walking distance. With the guideline, proposed in this study, Makkasan Mass Transit Interchange Center will be well supported by it surroundings and can be effectively connected to other major node of Bangkok. Moreover, the study area will be developed under redevelopment concept to be the healthy and green international business community of Bangkok and South East Asiaen
dc.format.extent17016813 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.155-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าสายสีแดงen
dc.subjectการขนส่งมวลชนen
dc.subjectรถไฟฟ้าen
dc.titleแนวทางการพัฒนาบริเวณโดยรอบจุดเชื่อมต่อศูนย์กลางระบบขนส่งมวลชนร่วมมักกะสันen
dc.title.alternativeThe development guidelines for the Makkasan mass transit interchange centeren
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการออกแบบชุมชนเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorpujinda@gmail.com-
dc.email.advisorJittisak.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.155-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanat_Ka.pdf14.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.