Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16808
Title: | การออกแบบโครงหลังคาเหล็กอย่างเหมาะสมที่สุดโดยใช้วิธีคำนวณเชิงพันธุกรรม |
Other Titles: | Optimal design of steel roof truss using genetic algorithm |
Authors: | ลำไพร มีทอง |
Advisors: | ฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chatpan.C@Chula.ac.th |
Subjects: | โครงหลังคาเหล็ก การออกแบบโครงสร้าง จีเนติกอัลกอริทึม |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | นำเสนอการศึกษาการคำนวณออกแบบอย่างเหมาะสมที่สุด สำหรับโครงหลังคาเหล็กชนิดโครงข้อหมุนโดยใช้วิธีการคำนวณเชิงพันธุกรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการทำซ้ำในการลองผิดลองถูกของวิศวกรผู้ออกแบบ ซึ่งอาจจะใช้เวลามากกว่าที่วิศวกรผู้ออกแบบจะได้โครงสร้างที่เหมาะสมที่สุดและประหยัด ในการศึกษาจะพัฒนาการค้นหาคำตอบที่เหมาะสมด้วยโปรแกรม Matlab ตัวแปรที่ใช้ในการหาค่าที่เหมาะสม ได้แก่ จำนวนช่วงพาดของโครงข้อหมุนหลัก ระยะช่วงย่อยของโครงข้อหมุนหลัก ความลึกของโครงข้อหมุน รูปแบบของโครงข้อหมุนหลัก ความชันของหลังคา และจำนวนช่วงระหว่างของโครงข้อหมุน งานวิจัยนี้ใช้การเข้ารหัสโครโมโซมโดยใช้ค่าตัวแปรจริงในการคำนวณเชิงพันธุกรรม ซึ่งเหมาะสำหรับการคำนวณออกแบบโครงสร้าง การวิเคราะห์โครงสร้างใช้วิธีการรวมสติฟเนสโดยตรง (Direct stiffness method) ข้อจำกัดของปัญหาคือข้อกำหนดการออกแบบโครงสร้างเหล็กวิธีตัวคูณกำลังต้านทานและน้ำหนักบรรทุก (Load and resistance factor design) ตามมาตรฐาน AISC/LRFD 2005 และใช้น้ำหนักของโครงหลังคาเหล็กที่ต่ำที่สุดเป็นค่าเป้าหมายของปัญหา ผลการศึกษาของงานวิจัยนี้จะได้โปรแกรมที่ใช้ออกแบบโครงหลังคาอย่างเหมาะสมที่สุด ด้วยวิธีคำนวณเชิงพันธุกรรม ซึ่งสามารถค้นหาคำตอบได้ใกล้เคียงคำตอบที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้งานได้จริง |
Other Abstract: | To establish the optimal solution for steel trusses using genetic algorithm. Avoiding time consuming process for trial and error to obtain an optimum structure. In this research, the algorithm is constructed and the optimization is processed by using Matlab computer language. The unknown variable of optimization are the number of main truss span, the spacing of main truss panel, the depth of truss, the truss pattern, the slope of truss and the number of bay. The calculation process uses the real value encoding that suitable for structural design. The design method conform the AISC/LRFD 2005 specification as the constraint of the problem. Structural analysis uses the direct stiffness method. The objective of the problem is the lowest weight of the roof truss. The result gives the Matlab module that can calculate and yields near the optimum design of steel truss using genetic algorithm. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16808 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.908 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.908 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Lumprai_Me.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.