Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16811
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวัชระ เพียรสุภาพ-
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ มัญชุนากร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-11T13:48:07Z-
dc.date.available2012-02-11T13:48:07Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16811-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractผู้ปฏิบัติในโครงการก่อสร้างมีโอกาสสัมผัสกับมลพิษค่อนข้างสูง โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ไม่เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติและผู้ปฏิบัติงานไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันในขณะทำงาน จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันมลพิษทางอากาศส่วนบุคคลคือ กฎหมายมีความซ้ำซ้อนยากแก่การปฏิบัติ ภาครัฐไม่มีการส่งเสริม ผู้รับเหมาไม่ให้ความร่วมมือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยไม่สามารถทำงานเต็มประสิทธิภาพ การขาดความร่วมมือ และแรงงานไม่มีความรู้ อย่างไรก็ตามงานวิจัยในอดีตยังขาดการศึกษาความสามารถในการป้องกันมลพิษทางอากาศและกลยุทธ์ในการสนับสนุนการปฏิบัติ งานวิจัยนี้พยายามศึกษาความสามารถในการป้องกันและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันมลพิษทางอากาศส่วนบุคคลขณะปฏิบัติงานก่อสร้าง โดยการดำเนินงานวิจัยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนกล่าวคือ งานวิจัยในส่วนแรกเป็นการสำรวจการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลทางอากาศจากคนงานก่อสร้างที่ทำงานใน 10 กิจกรรมหลักจากโครงการก่อสร้างจำนวน 34 แห่ง โดยความสามารถในการป้องกันมลพิษทางอากาศส่วนบุคคลวิเคราะห์จากการเปรียบเทียบเป็นร้อยละของจำนวนชนิดมลพิษที่สามารถป้องกันได้เทียบกับจำนวนชนิดมลพิษที่เผชิญในขณะปฏิบัติงาน งานวิจัยในส่วนที่สองเป็นการสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันมลพิษทางอากาศส่วนบุคคลในหน่วยงานก่อสร้าง และวิศวกรความปลอดภัย 20 ตัวอย่าง โดยงานวิจัยใช้ SWOT เป็นเครื่องมือในการกำหนดกลยุทธ์ ผลการวิจัยด้านความสามารถในการป้องกันมลพิษทางอากาศส่วนบุคคลในงานก่อสร้าง พบว่าโครงการก่อสร้างในประเภทโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่นอกเขตและในเขตนิคมอุตสาหกรรมมีความสามารถในการป้องกันมลพิษทางอากาศเฉลี่ยสูงเป็นร้อยละ 12.73 และ 22.29 ตามลำดับในขณะที่ผู้รับเหมาขนาดใหญ่ และผู้รับเหมาที่ได้รับมาตรฐาน ISO9000 ISO14000 และ OSHA18000 มีความสามารถในการป้องกันมลพิษทางอากาศเฉลี่ยสูงเป็นร้อยละ 13.83 และ 26.35 ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่างานเชื่อมด้วยก๊าชเป็นงานที่มีความสามารถในการป้องกันเฉลี่ยสูงเป็นร้อยละ 14.05 นอกจากนี้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความสามารถในการป้องกันมลพิษทางอากาศส่วนบุคคลคือ ผู้รับเหมาก่อสร้างแรงงาน เจ้าของโครงการ ประเภทของงานก่อสร้าง ประเภทโครงการก่อสร้าง สภาพแวดล้อมในการทำงาน ผลการกำหนดกลยุทธ์ในการยกระดับการป้องกันมลพิษทางอากาศส่วนบุคคลประกอบด้วย ผู้บริหารต้องประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรในโครงการเข้าใจในปฏิบัติการป้องกัน (SO) การส่งเสริมให้แรงงานแบ่งกลุ่มดูแลซึ่งกันและกัน (SO) การเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้บริหารโครงการ วิศวกร และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของโครงการที่ไม่มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน (WO) การปรับปรุงรูปแบบการสื่อสารพร้อมทั้งให้มีตรวจสอบความรู้เรื่องสิทธิ์ที่พึ่งจะได้และการป้องกันแก่แรงงาน (WO)การนำระบบการป้องกันมลพิษทางอากาศทางวิศกรรมมาใช้ควบคู่กับการป้องกันมลพิษทางอากาศส่วนบุคคล (ST) การเลือกใช้แรงงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (ST) การนำเทคโนโลยีมาใช้ในโครงการเพื่อตรวจสอบการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน (WT)en
dc.description.abstractalternativeThere is a high risk for construction workers who may absorb pollution during their work. Main problems of using personal protective equipment (PPE) for preventing pollution are unsuitable selection of PPE and the lack of workers’ awareness in using the PPE during the working time. From literature review, the obstacles of using PPE for preventing air pollution are the duplication of law and regulation, lack of government, lack of attention from contractors and safety officer and lack of safety knowledge. However, few research studies focus on the state of using PPE and its strategy. This research attempts to identify the state of using PPE for preventing air pollution and to explore factors supporting the use of PPE during working time. It aims to raise the standard use of PPE for air pollution at construction site. The research methodology can be divided into two parts. The first part focuses on the exploration of using PPE by workers from 10 construction activities in each 34 construction projects. The capability of preventing air pollution via PPE is calculated by comparing between air pollution quantity that equipment can prevent and quantity of air pollution that workers may encounter during their work activities. The second part focuses on developing the strategy for increasing the use of PPE for preventing air pollution at construction site. The data are collected from interviewing 24 site engineers and 20 safety engineers. The research adopts SWOT as a tool to establish the strategy. The results show that construction projects of factory building outside and within industrial estate have the capability of preventing air pollution via PPE at 12.73% and 22.29% respectively. In addition, large contractor companies and contractors who receive certification from ISO9000 ISO14000 and OSHA18000 have the capability of preventing air pollution via PPE at 13.83% and 26.35% respectively. The findings point that gas welding has the highest capacity of preventing air pollution via PPE at 14.05%. The factors involving the capability of personal protection from air pollution are contractors, labors, owner, work type, construction project type and environment in construction site. There are many strategies for increasing the use of PPE for preventing air pollution. For example, the executive should communicate with staff for understanding the standard protection (SO). Labors should inspect about personal protection within own group (SO). There are strong penalty when executive, engineer and safety officer who don’t perform according to safety standard (WO). The executive should communicate and inform labor about their own right of personal protection (WO). The executive should support implementation of engineering system about air pollution protection. (ST). Labors should be specialist and have experience (ST). The executive should invest on technology that can monitor the use of personal air pollution protection (WT)en
dc.format.extent2087759 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.232-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectมลพิษทางอากาศen
dc.subjectการป้องกันมลพิษen
dc.subjectอุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- การควบคุมฝุ่นen
dc.subjectอุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- มาตรการความปลอดภัยen
dc.subjectอุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- แง่อนามัยen
dc.titleสถานภาพการป้องกันมลพิษทางอากาศส่วนบุคคลในงานก่อสร้างและกลยุทธ์ในการยกระดับการป้องกันมลพิษทางอากาศส่วนบุคคลของผู้รับเหมาก่อสร้างไทยen
dc.title.alternativeState of personal air pollution protection and strategy for increasing the efficiency of personal air pollution protection in Thai construction firmen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorpvachara@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.232-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuttawut_mu.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.