Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16834
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.advisorสุนิดา ปรีชาวงษ์-
dc.contributor.authorสว่างวรรณ พิทยานฤมาน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-12T01:08:37Z-
dc.date.available2012-02-12T01:08:37Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16834-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในมิติด้านความถี่ ความรุนแรง และความทุกข์ทรมาน รวมถึงศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้อาการในแต่ละมิติของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย จำแนกตามตัวแปร ได้แก่ ประเภทของการรักษา เพศ อายุ ภาวะซีด และภาวะโภชนาการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง และการบำบัดทดแทนไต ที่มารับบริการที่คลินิกโรคไตแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศูนย์ ในภาคใต้ จำนวน 200 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย แบบประเมินอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในแต่ละมิติ ได้แก่ ความถี่ ความรุนแรง และความทุกข์ทรมาน ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน และหาค่าความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบประเมินในเรื่องของการเกิดอาการ ความถี่ ความรุนแรง และความทุกข์ทรมานของอาการเท่ากับ .92, .87, .89 และ .90 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมีประสบการณ์การรับรู้การเกิดอาการคันมากที่สุด คิดเป็น 84% 2. ในแต่ละมิติของอาการพบว่า อาการนอนไม่หลับเป็นอาการที่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมีการรับรู้ความถี่ ความรุนแรง และความทุกข์ทรมานของอาการมากที่สุด (X-bar = 2.42, SD = 1.53, X-bar = 1.88, SD = 1.35 และ X-bar = 2.10, SD = 1.51 ตามลำดับ) 3. การรับรู้อาการของผู้ป่วยในด้านความถี่ ความรุนแรง และความทุกข์ทรมาน เมื่อจำแนกตามอายุ เพศ ประเภทการรักษา และภาวะซีด ไม่แตกต่างกัน 4. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่มีภาวะโภชนาการในระดับที่ต่างกัน มีการรับรู้อาการในแต่ละมิติแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการพร่องปานกลางมีการรับรู้ความรุนแรง และความทุกข์ทรมานของอาการสูงกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการพร่องเล็กน้อย และภาวะโภชนาการปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 4.65, p = .01 และ F = 4.29, p = .02 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการพร่องปานกลางมีการรับรู้ความถี่ของอาการสูงกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 3.07, p = .05)en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive research were to study multidimensional characteristics of symptoms reported by patients with end stage renal disease and to compare the patients perceived symptoms across types of treatment, gender, age, degree of anemia, and nutritional status. Using systematic random sampling, 200 patients with end stage renal disease were recruited from the tertiary hospitals in southern region. The instrument was a set of questionnaires, consisting of a demographic and treatment questionnaire and multidimensional symptoms questionnaire. All questionnaires were developed base on literature review and were validated by a panel of four experts. The Cronbach’s alpha coefficients of the instruments were .92, .87, .89, and .90 respectively. Data were analyzed using mean, percentage, standard deviation, t-test, and one way ANOVA. The major findings were presented as follows: 1. The majority of patients with end stage renal disease (84%) reported experiencing pruritus. 2. In each of the dimensions (timing, intensity, and distress), insomnia was the most common symptom perceived by the patients with end stage renal disease. (X-bar = 2.42, SD = 1.53, X-bar = 1.88, SD = 1.35 and X-bar = 2.10, SD = 1.51 respectively). 3. No significant differences were found in multidimensional symptoms reported by patients with end stage renal disease across age, gender, types of treatment and degree of anemia. 4. There were significant nutritional status differences in perceived multidimensional symptoms (p = .05). End stage renal disease patients with moderate undernutrition perceived more intensity and distress of symptoms than those with mild undernutrition and those with normal nutritional status (F = 4.65, p = .01 and F= 4.29, p = .02 respectively). In terms of timing dimension, the patients with moderate undernutrition reported more frequents of symptoms than those with normal nutritional status (F = 3.07, p =.05).en
dc.format.extent3906959 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.867-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectไตวายเรื้อรังen
dc.subjectไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วยen
dc.subjectผู้ป่วย -- การดูแลen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในภาคใต้ ประเทศไทยen
dc.title.alternativeA comparative study of symptom clusters in patients with end stage renal disease in Southern region,Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorhchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th-
dc.email.advisorSunida.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.867-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sawangwan_pi.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.