Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16878
Title: | ผลของการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ต่อจำนวนวันนอนและความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพของผู้ป่วย หอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลราชวิถี |
Other Titles: | Effect of case management in urology patients on length of stay, and patient satisfaction in health services, urology surgery unit Rajavithi Hospital |
Authors: | นิตยา พยุงธรรม |
Advisors: | สุวิณี วิวัฒน์วานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | suvinee@hotmail.com |
Subjects: | โรงพยาบาลราชวิถี -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ การพยาบาลศัลยศาสตร์ การพยาบาล ทางเดินปัสสาวะ -- โรค -- การพยาบาล การจัดการผู้ป่วยรายกรณี |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล และความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพของผู้ป่วยหลังการใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินปัสสาวะ หอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลราชวิถี กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ป่วยที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลราชวิถี ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคระบบทางเดินปัสสาวะใน 4 กลุ่มโรคได้แก่ 1)โรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ 2)โรคต่อมลูกหมากโต 3)โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และ 4)โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวน 15 คน คัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จัดเข้ากลุ่มที่ใช้เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบโดยได้รับการพยาบาลแบบปกติและกลุ่มทดลองโดยได้รับการพยาบาลโดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณีด้วยวิธีจับคู่ตามรายโรค ชนิดของการผ่าตัด อายุ เพศและความรุนแรงของโรค เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การจัดการผู้ป่วยรายกรณี ประกอบด้วย 5 ชุด คือ 1)โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนารูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินปัสสาวะ 2) แผนการอบรมการพัฒนารูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินปัสสาวะ 3) แผนการดูแลผู้ป่วยโรคระบบทางเดินปัสสาวะ 4) คู่มือการจัดการผู้ป่วยรายกรณี และ 5) แบบกำกับการทดลอง ส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการวิจัย ประกอบด้วย 2 ชุด คือ 1) แบบบันทึกจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่านได้ค่าความตรงเท่ากับ .80 และทดสอบความเที่ยง โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณี (x-bar= 6.20, SD = 3.75) น้อยกว่าจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ (x-bar = 10.73, SD = 4.85) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลโดยใช้การจัดการผู้ป่วยรายกรณี (x-bar = 4.64, SD = .32) สูงกว่าความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลแบบปกติ (x-bar = 2.98, SD = .54) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this Experimental research were to compare length of stay and patient satisfaction in health services after using case management in urology surgery unit Rajavithi Hospital. The research subjects composed of 15 patients who had diagnosed of urologic conditions, Urolithiasis, Benign prostatic hyperplasia, Cancer of bladder and Cancer of the prostate, case selected using matched with variable for diseases, operation type, age, gender and severity of condition. The research instruments were training project of case management, training program, clinical pathway of urology patient, manual for urology patient, observation form of nursing practice, length of stay record and patient satisfaction in health services questionnaire, tested for content validity by 5 experts, the validity were .80, the Cronbach’s alpha coefficients were .92. Statistical techniques utilized in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test. Major findings of this study were as follows: 1. Length of stay after using case management (x-bar = 6.20, SD = 3.75) was less than criteria length of stay as usual before (x-bar = 10.73, SD = 4.85), and was significant at the .05 level. 2. Patient satisfaction in health services after using case management (x-bar = 4.64, SD = .32) was higher than criteria patient satisfaction in health services as usual before ( = 2.98, SD = .54), and was significant at the .05 level |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16878 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1041 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1041 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nittaya_ph.pdf | 2.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.