Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16920
Title: | ประสิทธิผลการสื่อสารของโครงการสร้างสรรค์ "คนพันธุ์อา" |
Other Titles: | Communication effectiveness of "Kon Pan R" project (vocational education promotion project) |
Authors: | รินทร์ขวัญ สะอาดดี |
Advisors: | พนม คลี่ฉายา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Phnom.K@Chula.ac.th |
Subjects: | นักเรียนอาชีวศึกษา นักเรียน วัยรุ่น โครงการสร้างสรรค์ "คนพันธุ์อา" ความก้าวร้าวในวัยรุ่น |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการ สร้างสรรค์คนพันธุ์อา ซึ่งเป็นโครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษา และศึกษาประสิทธิผลของ การสื่อสารด้านทัศนคติต่อการศึกษาในสายอาชีวศึกษา ภาพลักษณ์ที่มีต่อนักเรียนอาชีวศึกษา และการ ตัดสินใจเข้าศึกษาหรือส่งบุตรหลานศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษา ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการสร้างสรรค์คนพันธุ์อาโดยรวม จากสื่อทุกประเภทอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้เมื่อพิจารณาแยกตามประเภทสื่อพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับ ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการฯ จากสื่อบุคคลและสื่อเฉพาะกิจในระดับน้อย แต่เปิดรับข่าวสารจากสื่อกิจกรรมและ สื่อมวลชนอยู่ในระดับปานกลาง ในด้านทัศนคติต่อการศึกษาในสายอาชีวศึกษาอยู่ในระดับดี ภาพลักษณ์ โดยรวมที่กลุ่มตัวอย่างมีต่อนักเรียนอาชีวศึกษาอยู่ในเชิงบวก นอกจากนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการตัดสินใจเข้า ศึกษาหรือส่งบุตรหลานศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษาอยู่ในระดับไม่แน่ใจ แต่จะแนะนำให้บุคคลอื่นเข้าศึกษาหรือ แนะนำให้ส่งบุตรหลานศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษา ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ ดังนี้ 1. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการสร้างสรรค์คนพันธุ์อามีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการศึกษา ในสายอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และอยู่ ในระดับต่ำมาก 2. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการสร้างสรรค์คนพันธุ์อามีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ที่มีต่อ นักเรียนอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และอยู่ ในระดับต่ำ 3. ทัศนคติต่อการศึกษาในสายอาชีวศึกษามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาหรือส่งบุตรหลาน ศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และอยู่ในระดับต่ำ 4. ภาพลักษณ์ที่มีต่อนักเรียนอาชีวศึกษามีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้าศึกษาหรือส่งบุตรหลาน ศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และอยู่ในระดับต่ำ |
Other Abstract: | The objectives of this survey research are to explore media exposure of “Kon Pan R” project, the vocational student image promotion project, and explore project’s effectiveness on attitude, image of vocational students and decision to admission in vocational school. The questionnaire is used for data collection among 400 samples in Bangkok. The result shows that the samples moderately expose of “Kon Pan R” project. Considering by different media, it shows that the samples mildly expose to personal media and special media, brochure, poster, etc. However, they expose to special events and mass media in moderate level. The samples have positive attitude towards vocational education. The samples present a good image of vocational students. In addition, the decision to admission in vocational school is moderate level but desire to suggest other people for study in vocational school is high level. The results of hypothesis testing are as follows: 1. The exposure to information of “Kon Pan R” project significantly positive related to attitude towards vocational education in less level. 2. The exposure to information of “Kon Pan R” project significantly positive related to image of vocational students in low level. 3. The attitude toward vocational education significantly positive related with decision to admission in vocational school in low level. 4. The image of vocational students significantly positive related with decision to admission in vocational school in low level |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16920 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.429 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.429 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rinkwan_sa.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.