Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16935
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัยพร ภู่ประเสริฐ | - |
dc.contributor.author | สนธิลักษณ์ สุขะสุคนธ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-02-17T08:07:48Z | - |
dc.date.available | 2012-02-17T08:07:48Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16935 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการประยุกต์ใช้ไฮโดรไซโคลนและไฮโดรไซโคลนที่ติดตั้ง กริตพอทแทนที่ถังดักกรวดทรายแบบเติมอากาศในการแยกกรวดทรายออกจากน้ำเสียชุมชนดินแดง โดยศึกษาถึงผลของพารามิเตอร์ต่างๆที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของไฮโดรไซโคลนทั้งสองแบบ ได้แก่ ความดันจ่ายเข้า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของไฮโดรไซโคลน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางช่องทางออกด้านล่าง และเวลาที่ใช้ในการดำเนินการของกริตพอท อีกทั้งเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างไฮโดรไซโคลน ไฮโดรไซโคลนที่ติดตั้งกริตพอท และถังดักกรวดทรายแบบเติมอากาศที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ณ โรงบำบัดน้ำเสียชุมชนดินแดง ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพในการแยกกรวดทรายในรูปของของแข็งคงตัวของ ไฮโดรไซโคลนแบบธรรมดาและไฮโดรไซโคลนที่ติดตั้งกริตพอท มีค่าสูงสุดเท่ากับ 86 และ 68 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่ไฮโดรไซโคลนที่ติดตั้งกริตพอทมีความเข้มข้นของกรวดทรายที่สะสมในกริตพอทโดยเฉลี่ย 6,272 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีค่าสูงกว่าไฮโดรไซโคลนแบบธรรมดาประมาณ 200 เท่า ส่วนความเข้มข้นของกรวดทรายที่แยกได้จากถังดักกรวดทรายแบบเติมอากาศ มีค่าเท่ากับ 1,800 มิลลิกรัมต่อลิตร และพารามิเตอร์ที่มีผลต่อไฮโดรไซโคลนมากที่สุด คือ ความดันจ่ายเข้า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของไฮโดรไซโคลน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางช่องทางออกด้านล่าง และเวลาที่ใช้ในการดำเนินการของกริตพอท ตามลำดับ ดังนั้นไฮโดรไซโคลนที่ติดตั้งกริตพอทจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้แทนที่ถังดักกรวดทรายแบบเติมอากาศ เนื่องจากมีขนาดเล็ก จึงประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง เหมาะสำหรับการบำบัดน้ำเสียในตัวเมืองที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ อีกทั้งยังให้ประสิทธิภาพสูงและให้ความเข้มข้นของกรวดทรายที่แยกได้สูง นอกจากนี้ยังประหยัดพลังงานในการเติมอากาศ และสามารถแก้ปัญหาน้ำเสียมีปริมาณออกซิเจนละลายสูงก่อนเข้าสู่กระบวนการแอกทิเวเต็ดสลัดจ์แบบ A/O ได้อีกด้วย | en |
dc.description.abstractalternative | This research studied on the replacement of the aerated grit chamber by using hydrocyclone and hydrocyclone equipped with grit pot to remove grit from Dindaeng municipal wastewater. Operating parameters such as inlet pressure, diameter of hydrocyclone, underflow diameter and grit pot operating times were studies. In addition, this research also studied on the efficiency between classical hydrocyclone, hydrocyclone equipped with grit pot and aerated grit chamber, which currently uses in Dindaeng municipal wastewater treatment plant. The results indicated that the grit removal efficiency of hydrocyclone and hydrocyclone equipped with grit pot were as high as 86 and 68 % respectively. However, the average value of accumulated grit concentration of hydrocyclone equipped with grit pot was 6,272 mg/L, which was 200 times higher than classical hydrocyclone while the grit concentration from aerated grit chamber was only 1,800 mg/L. In term of operating parameter, the most important parameters for hydrocyclone efficiency were inlet pressure, diameter of hydrocyclone, underflow diameter and grit pot operating times. Therefore, hydrocyclone equipped with grit pot is an interesting choice to replace the aerated grit chamber in municipal wastewater treatment, because of its compactness, high separation efficiency, high concentration and energy saving. Moreover, hydrocyclone equipped with grit pot also resolves the problem of wastewater with high dissolve oxygen before turn into A/O activated sludge process | en |
dc.format.extent | 3113010 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1437 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | น้ำเสีย -- การบำบัด | en |
dc.subject | น้ำเสียชุมชน | en |
dc.subject | ของไหล | en |
dc.title | การประยุกต์ใช้ไฮโดรไซโคลนและไฮโดรไซโคลนที่ติดตั้งกริตพอท เพื่อใช้ในการกำจัดกรวดทรายในโรงบำบัดน้ำเสียชุมชนดินแดง | en |
dc.title.alternative | Application of hydrocyclone and hydrocyclone equipped with grit pot for grit removal in Dindaeng municipal wastewater treatment plant | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | fencpp@eng.chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.1437 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sonthiluk_Su.pdf | 3.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.