Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16950
Title: | การใช้สับปะรดเป็นตัวชี้วัดความเป็นพิษของโครเมียมและตะกั่วที่ปนเปื้อนในดิน |
Other Titles: | Use of Ananas comosus (L.) Merr. as indicator for toxicity of chromium and lead in contaminated soil |
Authors: | สุภาพร แป้งทา |
Advisors: | พันธวัศ สัมพันธ์พานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | pantawat.s@chula.ac.th |
Subjects: | ดิน โครเมียม ตะกั่ว สับปะรด |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาการใช้สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย (Ananas comosus (L.) Merr.) เป็นตัวชี้วัดความเป็นพิษของโครเมียม และตะกั่วที่ปนเปื้อนในดิน โดยทำการทดลองเบื้องต้นเพื่อศึกษาความเข้มข้นที่เหมาะสมของโครเมียม และตะกั่วต่อการแสดงอาการของสับปะรดที่ระดับความเข้มข้น 10 ระดับได้แก่ 100, 200, 400, 600, 800, 1,000, 1,500, 2,000, 2,500 และ 3,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบว่า สับปะรดแสดงความเป็นพิษที่ระดับความเข้มข้นของโครเมียม 1,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และที่ระดับความเข้มข้นของตะกั่ว 2,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ดังนั้นจึงนำมาทดลองในขั้นตอนต่อไป ซึ่งมีการใส่สารโครเมียม และตะกั่วโดยแยกชุดการทดลองกันที่ระดับความเข้มข้น 1,500 และ 2,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อสับปะรดอายุได้ 30, 60, 90, 120, 150 และ 180 วัน และมีระยะเวลาของการเก็บเกี่ยวทุกๆ 30 วันหลังจากใส่สารละลายมีการบันทึกการเจริญเติบโต และการแสดงความเป็นพิษของพืช และทำการเก็บตัวอย่างดิน และสับปะรดแยกเป็นส่วนเหนือดิน (ลำต้นเหนือดิน และใบ) และส่วนใต้ดิน (ลำต้นใต้ดิน และราก) และทำการวิเคราะห์ปริมาณโครเมียม และตะกั่วในสับปะรด และดินปนเปื้อน ผลการทดลอง พบว่า โครเมียม และตะกั่วมีผลต่อการเจริญเติบโตของสับปะรด ที่ระยะเวลา 180 วันของการทดลองโดยทำให้สับปะรดชะงักการเจริญเติบโตมากที่สุด ทั้งนี้ชุดควบคุมมีน้ำหนักแห้งในส่วนเหนือดิน และส่วนใต้ดินเท่ากับ 56.46 และ 24.57 กรัม ตามลำดับ ส่วนชุดการทดลองที่ใส่โครเมียมมีน้ำหนักแห้งในส่วนเหนือดิน และส่วนใต้ดินเท่ากับ 41.64 และ 14.71 กรัม ตามลำดับ และชุดการทดลองที่ใส่ตะกั่วมีน้ำหนักแห้งในส่วนเหนือดิน และส่วนใต้ดินเท่ากับ 43.20 และ 14.73 กรัม ตามลำดับ การศึกษาปริมาณโครเมียม และตะกั่วที่สะสมในพืช พบว่า ปริมาณการสะสมโลหะทั้งสองชนิดในสับปะรดเพิ่มขึ้นเมื่อระยะเวลาของการทดลองเพิ่มขึ้น และสับปะรดสามารถสะสมโลหะทั้งสองชนิดได้มากที่สุดในส่วนใต้ดินที่ระยะเวลา 180 วันของการทดลอง โดยปริมาณโครเมียม และตะกั่วที่สะสมในพืชมีค่าเท่ากับ 7,356.67 และ 6,177.00 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ และที่ระยะเวลา 180 วันของการทดลอง พบว่า โครเมียม และตะกั่วมีผลกระทบต่อการแสดงความเป็นพิษของสับปะรดสูงสุดตามเกณฑ์การให้คะแนนความเป็นพิษมีค่าเท่ากับ 88.78 และ 23.73 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าโครเมียมมีความเป็นพิษต่อสับปะรดมากกว่าตะกั่ว ซึ่งโครเมียมทำให้ใบตาย ขณะที่ตะกั่วทำให้ใบเหลือง นอกจากนี้ การแสดงความเป็นพิษของโลหะหนักทั้งสองชนิดเพิ่มขึ้นเมื่ออายุของสับปะรดเพิ่มขึ้นด้วย |
Other Abstract: | This study focus at using pineapple as an indicator for chromium and lead toxicity levels in contaminated soil. The primary experiment was conducted to study the concentration of chromium and lead that effect pineapple using 10 levels as follows: 100, 200, 400, 600, 800, 1,000, 1,500, 2,000, 2,500 and 3,000 milligram per kilogram. It was found that pineapples show toxicity at chromium concentration level of 1,500 milligram per kilogram and lead concentration level of 2,500 milligram per kilogram. In the experiment, solutions of chromium and lead were added at the level of 1,500 and 2,500 milligram per kilogram, respectively. Test groups were separated when pineapples were 30, 60, 90, 120, 150 and 180 days old. The harvesting occurred every 30 days after chemicals were added. Growth and toxicity of the plant were recorded. Samples of soil and pineapple, which was separated as parts above (trunk above the ground and leaves) and below (trunk below the ground and roots) the ground were collected. Then the amount of chromium and lead in pineapple and contaminated soil were analyzed. It was found that chromium and lead influence the growth of pineapple after 180 days of the experiment. They caused the slowest growth of pineapple. Dry weight of control group for parts above and below the soil were 56.46 and 24.57 grams, respectively. Dry weight of chromium added test group for parts above and below the soil were 41.64 and 14.71 grams, respectively. Dry weight of lead added test group for parts above and below the soil were 43.20 and 14.73 grams, respectively. From the study of chromium and lead accumulated in plant, it was found that the amount of accumulation increases as the duration of the experiment increases. The pineapple accumulated high amounts of both metals in parts below the soil throughout the 180 days of the experiment. The amount of chromium and lead accumulated in the plant were 7,356.67 and 6,177.00 milligram per kilogram, respectively. After 180 days of the experiment, it was found that chromium and lead toxicity was at their highest. The scores were 88.78 and 23.73 percent, respectively. This showed that chromium is more poisonous to pineapple than lead. Chromium caused withered leaves while lead caused yellow leaves. In addition, toxicity of both metals increased as the pineapple aged |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16950 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.326 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.326 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supaporn_Pa.pdf | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.