Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16953
Title: | การใช้ดนตรีคลาสสิคเพื่อการสื่อสารในละครโทรทัศน์เรื่อง "โนดาเมะ คันทาบิเล่" |
Other Titles: | Classical music for communication in "Nodame Cantabile" television drama |
Authors: | องค์กช วรรณภักตร์ |
Advisors: | จิรยุทธิ์ สินธุพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jirayudh.S@Chula.ac.th |
Subjects: | ดนตรีคลาสสิก ดนตรี ละครโทรทัศน์ การเล่าเรื่อง |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของดนตรีคลาสสิคและวิธีการเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับดนตรีคลาสสิค ที่ปรากฎในละครโทรทัศน์เรื่อง “โนดาเมะ คันทาบิเล่” รวมทั้งศึกษาทัศนคติและสุนทรียรสของกลุ่มคนที่มีความรู้ทางดนตรีคลาสสิค กับผู้ชมทั่วไป ในการชมละครโทรทัศน์เรื่อง “โนดาเมะ คันทาบิเล่” ด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบท การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่าดนตรีคลาสสิคในละครโทรทัศน์เรื่อง “โนดาเมะ คันทาบิเล่”เปรียบได้กับแก่นหลักของเรื่องและมีบทบาทหน้าที่หลายประการ กล่าวคือ เป็นเพลงที่สื่อสารบุคลิกลักษณะของตัวละคร เป็นเพลงเพื่อประกอบการกระทำของตัวละคร เป็นเพลงประกอบสถานการณ์ในเรื่อง เป็นเพลงสร้างโลกในจินตนาการของตัวละคร และเป็นเพลงสร้างบรรยากาศและอารมณ์ตามท้องเรื่อง นอกจากนี้ยังพบว่าการที่ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จจนได้รับการยอมรับไปทั่วเอเชียนั้นเป็นเพราะวิธีการเล่าเรื่องที่สามารถร้อยเรียงดนตรีคลาสสิคให้เข้ากับการดำเนินเรื่องได้อย่างแนบเนียน ร่วมกับวิธีการนำเสนอของละครและการแสดงของนักแสดงที่มีสีสันและชีวิตชีวาคล้ายการ์ตูน ที่ช่วยให้ผู้ชมเกิดความซาบซึ้งและเข้าใจในศิลปะแห่งดนตรีคลาสสิคไปพร้อมๆ กับละคร |
Other Abstract: | This research paper outlines the study on the usage of classical music and the story-telling techniques in the Japanese classical music themed television drama, “Nodame Cantabile”. The study aims at looking into the details of how and what the drama delivered the contents toward the audiences and also discovering the opinion and feedback of two different groups of audiences, the group with prior knowledge in the field of classical music and the general audiences without, toward the drama. This goal is achieved by using textual analysis to thoroughly analyze the episodes of the drama itself and a statistical survey research among the population. Through the methodology, it can be concluded that “Nodame Cantabile”, which seems to be a very specialized drama that few would enjoy, achieved a highly successful reception in most of the Asian countries due to the inclusion of classical music as a vivid character with various crucial roles. These roles include being the drama’s title, the main character, the themes, and a crucial emotional and atmospheric builder. Additionally, the drama uses manga, or simply Japanese comic, styled presentation, having actors/actresses imitate what was done by the character in the manga. In conclusion, “Nodame Cantabile” successfully delivers a story with a complicated theme toward the audiences by using the performing arts in making classical music interesting, while, at the same time, naturally use it as backing elements that capture the hearts of the audiences |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วาทวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16953 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.734 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.734 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ongkotch_wa.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.