Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16954
Title: | การวิเคราะห์พหุระดับของปัจจัยระดับครู และ นักเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน |
Other Titles: | A multilevel analysis of teacher-level and student-level factors effecting on students' mathematics achievement |
Authors: | อนงค์ อินตาพรหม |
Advisors: | ศิริชัย กาญจนวาสี อวยพร เรืองตระกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sirichai.K@Chula.ac.th Auyporn.R@chula.ac.th |
Subjects: | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์พหุระดับ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยระดับนักเรียน และ ปัจจัยระดับครูที่ส่งผล ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง รูปแบบการสอน และ รูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชา คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้เป็นครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์และนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวนทั้ง หมด 42 โรงเรียน ประกอบด้วย ครู 42 คน และนักเรียน 1,816 คน ใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสังกัดสำ นักงาน คณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามนักเรียน และแบบสอบถามครู ใช้การวิเคราะห์พหุระดับ 2 ระดับ ได้แก่ ระดับนักเรียน และระดับครู สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์พหุระดับของปัจจัยระดับครูและนักเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ พบว่า 1.1 สำหรับตัวแปรระดับนักเรียน ปรากฏว่ารูปแบบการเรียนรู้แบบนักทฤษฎีมีอิทธิพลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 1.2 สำหรับตัวแปรระดับโรงเรียน ปรากฏว่า ขนาดของห้องเรียน คณะที่ครูสำเร็จการศึกษามี อิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และความพึงพอใจของครูต่องานสอนมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของ นักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ผลการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสอนและรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ปรากฏว่า ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างระดับที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to analyze the student-level and teacher-level factors effecting on students’ mathematics achievement and 2) to analyze the interactions between teaching and learning style effecting on students’ mathematics achievement. The samples were 42 mathematics teachers and 1,816 students in grade 9 in the schools of the office of the basic education commission and the office of the private education commission in Thailand. Data was collected through the student–teacher questionnaires concerning the student-level factors and the teacher-level factors. A multilevel analysis is used in this study. The findings were as follows: 1. At the student-level, the variable that significantly influenced the student mathematics achievement at 0.05 level was the theorist learning style. 2. At the teacher-level, the variables that significantly influenced the student mathematics achievement at 0.01 level were the student class size and the faculty of the teacher’s education, and the variables that significantly influenced the student mathematics achievement at 0.05 level was the teacher job satisfaction. 3. The interactions between the student learning styles and the teacher teaching styles were not significantly found at .05 level |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16954 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.604 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.604 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anong_in.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.