Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16986
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น
Other Titles: Relationships between personal factors, family factors, smoking behaviors, and depression of adolescent psychiatric patients
Authors: จริญญา แก้วสกุลทอง
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Jintana.Y@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ป่วยจิตเวช
ความซึมเศร้าในวัยรุ่น
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยพฤติกรรมการสูบบุหรี่ กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น 3) ตัวแปรพยากรณ์ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น ที่มารับบริการในสถาบันและโรงพยาบาลจิตเวช กรุงเทพและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น จำนวน 286 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและครอบครัว แบบวัดบุคลิกภาพ แบบประเมินความสัมพันธ์ในครอบครัว แบบสอบถามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงของเครื่องมือ คือ .84, .85, .92 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า 1. ในผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น พบว่ามีภาวะซึมเศร้าแฝงอยู่ร้อยละ 61.5 เมื่อจำแนกตามการวินิจฉัยโรค คือ Mood disorders, attention-deficit / hyperactivity disorder, sdubstance – Related disorders, schizophrenia, conduct disorder, mental retardation and leaning disorders และโรคอื่นๆ พบว่ามีภาวะซึมเศร้าแฝงอยู่ 78.72, 70.31, 67.64, 66.67, 61.54, 41.17 และ 35.71ตามลำดับ 2. ระดับการเสพติดนิโคติน ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ บุคลิกลักษณะ Neuroticism และ ปัญหาด้านการเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้า (r = .434, .369, .278, และ .254 ตามลำดับ) ในขณะที่ ความสัมพันธ์ในครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางลบ (r = -.216) กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3. ตัวแปรที่พยากรณ์ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าความแปรปรวนของการพยากรณ์ ร้อยละ 29.5 (R² = .295) ดังสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น = .500 การเสพติดนิโคติน +.202ปัญหาด้านการเรียน + .195 บุคลิกภาพ Neuroticism +.141ระยะเวลาที่สูบบุหรี่
Other Abstract: n 520 ผลการวิจัย พบว่า 1. ในผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น พบว่ามีภาวะซึมเศร้าแฝงอยู่ร้อยละ 61.5 เมื่อจำแนกตามการวินิจฉัยโรค คือ Mood disorders, attention-deficit / hyperactivity disorder, sdubstance – Related disorders, schizophrenia, conduct disorder, mental retardation and leaning disorders และโรคอื่นๆ พบว่ามีภาวะซึมเศร้าแฝงอยู่ 78.72, 70.31, 67.64, 66.67, 61.54, 41.17 และ 35.71ตามลำดับ 2. ระดับการเสพติดนิโคติน ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ บุคลิกลักษณะ Neuroticism และ ปัญหาด้านการเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้า (r = .434, .369, .278, และ .254 ตามลำดับ) ในขณะที่ ความสัมพันธ์ในครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางลบ (r = -.216) กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3. ตัวแปรที่พยากรณ์ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าความแปรปรวนของการพยากรณ์ ร้อยละ 29.5 (R² = .295) ดังสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Z ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเวชวัยรุ่น = .500 การเสพติดนิโคติน +.202ปัญหาด้านการเรียน + .195 บุคลิกภาพ Neuroticism +.141ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ n 520 The purposes of this descriptive research were: 1) to study the depression among adolescent psychiatric patients, 2) to study relationships between personal factors, family factors, smoking behaviors and depression, and, 3) to find out predicting factors for depression of adolescent psychiatric patients. Sample was 286 adolescent psychiatric patients. Research instruments were personal and family factor questionnaire, personality test, smoking behaviors questionnaire, and adolescent depression scale. All instruments were tested for content validity by a panel of experts. Their reliability were .84, .85, .92 and .87, respectively. Frequency, percentage, means, standard deviation, Pearson’s Product Correlation and Multiple Regression were used in data analysis. Major findings were as follows: 1. Depression was found 61.5 percent as co-morbidity among adolescent psychiatric patients. When classified in different diagnosis, depression was found 78.72, 70.31, 67.64, 66.67, 61.54, 41.17, and 35.71 percent as co-morbidity among adolescent with Mood Disorders, Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder, Substance–Related Disorders, Schizophrenia, Conduct disorder, Mental retardation and Leaning Disorders, and Other Disorders, respectively,) 2. Nicotine dependence level, period of smoking, neuroticism personality and learning problems were positively and significantly related to depression (r = .434, .369, .278, and .254, respectively), while family relationships was negatively and significantly related to depression of adolescent psychiatric patients (r = -.216), at the .05 level. 3. Nicotine dependence level, period of smoking, neuroticism personality and learning problems were factors significantly predicted depression of adolescent psychiatric patients, at the .05 level. These predictors were accounted for 29.5 percent. (R² = .295) The Standardized Score equation was: ZDepression = .500Nicotine dependence+.202Study problems+ .195Neuroticism + .141Period of smoking.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16986
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1497
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1497
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jarinya_Ka.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.