Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16988
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย | - |
dc.contributor.author | จุฑาณัฐ ธนกุลรังสฤษดิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-02-25T08:21:21Z | - |
dc.date.available | 2012-02-25T08:21:21Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16988 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องเรือนไม้ในปัจจุบัน มีการแข่งขันกันสูงมาก ซึ่งธุรกิจจะประสบความสำเร็จต้องได้รับความเชื่อถือจากลูกค้า ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ได้รับการยอมรับคือการผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีคุณภาพ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงคุณภาพสำหรับกระบวนการผลิตเครื่องเรือนไม้ เพื่อลดลักษณะบกพร่องของผลิตภัณฑ์ในกระบวนการผลิต โดยการใช้เครื่องมือคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วยแผนภูมิพาเรโต (Pareto diagram) ใช้ในการลำดับลักษณะบกพร่องจากมากไปน้อย และใช้แผนภูมิต้นไม้ (Tree diagram) เพื่อช่วยในการค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดลักษณะบกพร่องหลัก ตามลำดับ จากนั้นดำเนินการปรับปรุงคุณภาพโดยประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ลักษณะบกพร่องและผลกระทบในกระบวนการผลิต (Process Failure Mode and Effects Analysis; PFMEA) โดยให้ทีมผู้เชี่ยวชาญประเมินค่า RPN (Risk Priority Number) ของแต่ละปัญหา และประเมินค่า RPN ที่สามารถยอมรับได้ ซึ่งจะพิจารณาแก้ไขปรับปรุงจากค่า RPN ตั้งแต่ 245 ขึ้นไป พบว่าสาเหตุการเกิดลักษณะบกพร่องที่เลือกพิจารณามี 9 สาเหตุ ซึ่งพบใน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนการอัดแผ่นปิดผิว ขั้นตอนการตัดไม้ และขั้นตอนการปิดขอบ หลังจากดำเนินการแก้ไขและปรับปรุงกระบวนการผลิต ทำการเก็บข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การเกิดลักษณะบกพร่อง พบว่าลักษณะผิวหน้าชิ้นงานบวมลดลง 76.00% ผิวหน้าของชิ้นงานเกิดรอยขีดข่วนลดลง 82.93% แผ่นไม้ไม่ได้ตามขนาดที่กำหนดลดลง 83.77% ชิ้นงานเกิดรอยขีดข่วนลดลง 73.78% ขอบของชิ้นงานบิดเบี้ยวลดลง 78.99% และขอบของชิ้นงานหลุดลอกลดลง 82.44% | en |
dc.description.abstractalternative | At present, furniture manufacturing industry is encountered highly competition. To be successful, most business has to rely on customers’ liabilities. One of the important factors is product or service quality. The objective of this research was to improve quality of wooden furniture manufacturing process by decreasing failure mode in process used of QC tools, which were pareto diagram for selected main failure modes and tree diagram for finding their root causes. Then expert team evaluated RPN by applying Failure Mode and Effects Analysis (FMEA) technique. The results from this research found 9 root causes of failure mode in 3 processes such as laminate spread over, cutting and edging. The problems were chosen with RPN value above 245. Finally, the decreasing percentages of the failure mode found swell on surface of 76.00% reduction, scratch on surface 82.93% reduction, particle board out of specification from cutting 83.77% reduction, Scratch on product 73.78% reduction, distorted edge 78.99% reduction and cracked edge 82.44% reduction. | en |
dc.format.extent | 7119147 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1301 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมเครื่องเรือน | en |
dc.subject | การควบคุมคุณภาพ | en |
dc.subject | การควบคุมกระบวนการผลิต | en |
dc.title | การปรับปรุงคุณภาพกระบวนการผลิตสำหรับการผลิตเครื่องเรือนไม้ | en |
dc.title.alternative | Process quality improvement for wooden furniture manfacturing | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Damrong.T@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.1301 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jutanat_Th.pdf | 6.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.