Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16995
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญพักตร์ อุทิศ-
dc.contributor.authorพรพรรณ ศรีโสภา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-25T08:50:14Z-
dc.date.available2012-02-25T08:50:14Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16995-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ในภาคตะวันออก และ 2) ศึกษาอำนาจการทำนายการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ในภาคตะวันออก จากปัจจัย เพศ อายุที่เริ่มป่วยด้วยโรคซึมเศร้าครั้งแรก การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต และความคิดด้านลบ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มารับบริการที่คลินิกจิตเวช แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โรงพยาบาลพระปกเกล้า โรงพยาบาลระยอง และโรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำนวน 140 คน ซึ่งได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ชุด คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 3) แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา 4) แบบสอบถามเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต และ 5) แบบประเมินความคิดอัตโนมัติด้านลบ เครื่องมือทุกชุดผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และตรวจสอบค่าความเที่ยงของเครื่องมือทุกฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ร้อยละค่าพิสัย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 140 คน ในภาคตะวันออก เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้าเกณฑ์การกลับเป็นซ้ำ จำนวน 54 คน (คิดเป็น 38.6%) 2. ปัจจัยทั้ง 6 ตัวสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ภาคตะวันออกได้ 31.9% (Nagelkerke R2= .319) โดยมีสมการโลจิสติกส์ ดังข้างล่าง Log [subscript e] [p/1-p] = 4.189 - .663 เพศ - .058 อายุที่เริ่มป่วยด้วยโรคซึมเศร้าครั้งแรก - .009 การสนับสนุนทางสังคม - .831 พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา + .009 เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต + .017 ความคิดด้านลบ สมการสามารถทำนายกลุ่มไม่เข้าเกณฑ์การกลับเป็นซ้ำของโรคซึมเศร้าได้ถูกต้อง 83.7% กลุ่มเข้าเกณฑ์การกลับเป็นซ้ำได้ถูกต้อง 51.9% และในภาพรวมมีประสิทธิภาพในการทำนายการกลับเป็นซ้ำของโรคซึมเศร้าถูกต้อง 71.4% 3. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ในภาคตะวันออก ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีทั้งหมด 3 ตัวแปร คือ อายุที่เริ่มป่วยด้วยโรคซึมเศร้าครั้งแรก (Wald=7.625, OR=.943) พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา (Wald=6.040, OR=.436) และความคิดด้านลบ (Wald=5.125, OR=.1.017)en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive research were: 1) to study recurrence in patient with depressive disorder in Eastern Region and 2) to determine the predictors of recurrence in patient with depressive disorder in Eastern Region, including sex, age at onset, social support, medication adherence behavior, stressful life event and negative cognition. Subjects of 140 patient with depressive disorder receiving service at psychiatric clinics, who met the inclusion criteria, were drawn from out-patient departments of Chaopharaya Abhaibhubejhr Hospital, Prapokklao Hospital, Rayong Hospital and Muang Chachoengsao Hospital. Research instruments consist of five questionnaires: 1) demographic data sheet, 2) social support scale, 3) medication adherence behavior scale, 4) stressful life event scale and 5) automatic thoughts scale. All instruments were validated for content validity by 5 experts and tested for reliability. Statistic technique utilized in data analysis were frequency, percentage, range, standard deviation, mean, and logistic regression. Major finding were as follows: 1.Out of 140 patients with depressive disorder in Eastern Region, 54 subjects (38.6%) met the inclusion criteria of recurrent depressive disorder. 2.Six factors were all together accounted for 31.9% explained variance of recurrence in patient with depressive disorder (Nagelkerke R[superscript 2] = .319). The logistic response function was as follow: Log[subscript e] [p/1-p] = 4.189 - .663 sex - .058 age at onset - .009 social support - .831 medication adherence behavior + .009 stressful life event + .017 negative cognition. This function correctly predicted 87.7% in the group of patient who did not met the inclusion criteria of recurrent depressive disorder and 51.9% in the group of patient who met the inclusion criteria for an overall success rate of 71.4%. 3.Three factors significantly predicted recurrence of patient with depressive disorder, at the .05 level. They were age at onset (Wald=7.625, OR=.943), medication adherence behavior (Wald =6.040, OR=.436) and negative cognition (Wald=5.125, OR=.1.017).en
dc.format.extent2216495 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1150-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความซึมเศร้าen
dc.subjectการเก็บกด (จิตวิทยา)en
dc.subjectการเกิดโรคกลับen
dc.titleปัจจัยทำนายการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ภาคตะวันออกen
dc.title.alternativePredicting factors of recurrence in patients with depressive disorder, Eastern regionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPenpaktr.U@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1150-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pornpan_sr.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.