Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17001
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิณี วิวัฒน์วานิช-
dc.contributor.authorวรรณี มาศศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-25T09:07:02Z-
dc.date.available2012-02-25T09:07:02Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17001-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของพยาบาลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา และ 3) เปรียบเทียบจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาหลังการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลมะการักษ์ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพที่ร่วมดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในหอผู้ป่วยอายุรกรรม จำนวน 15 คน 2) กลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา ที่เข้ารับการรักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลมะการักษ์ จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 คน คัดเลือกโดยวิธีจับคู่ซึ่งคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างกลุ่มโดยการจับคู่ (Matched) รายคู่ ด้วยตัวแปร อายุ การวินิจฉัยโรคและระดับของการพึ่งพา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ประกอบด้วย 5 ชุดคือ 1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนารูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา 2) แผนการอบรมการพัฒนารูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา 3) แผนการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา 4) คู่มือการจัดการผู้ป่วยรายกรณี และ 5) แบบกำกับการทดลอง ส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการวิจัย ประกอบด้วย 2 ชุด คือ 1) แบบบันทึกจำนวนวันนอนในโรงพยาบาล และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล ต่อการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่าน ได้ค่าความตรงเท่ากับ .75 และทดสอบความเที่ยง โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ในการเปรียบเทียบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความพึงพอใจของพยาบาลหลังการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา สูงกว่า ก่อนการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 4.76, p = .00) 2. จำนวนวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา โดยใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา น้อยกว่าจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.35, p = .03)en
dc.description.abstractalternativeTo 1) develop case management model of the elderly 2) compare nurses’ satisfaction before and after using case management model 3) compare length of stay of the elderly after using case management model in Medical Departments, Makarak Hospital Kanchanaburi. The research subjects composed of 1) 15 professional nurses in Medical Departments. 2) 30 patients who dependency elderly divided 2 groups: control group and experimental group. Each 15 person case selected using matched with variable age, disease and type of dependent. The research instruments were training project of case management, training program,clinical nursing practice guideline for dependency elderly, case management manual, observation questionnaire, length of stay record and nurses' satisfaction questionnaire, tested for content validity by 6 experts, the validity were .75, the Cronbach’s alpha coefficients were .95. Statistical techniques utilized in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and t-test. Major findings of this study were as follows: 1. Nurses’ satisfaction after using a case management model was significantly higher than before using a case management model (t = 4.76, p = .00) at the .05 level. 2. Length of stay after using a case management model was significantly less than criteria length of stay as usual before using a case management model (t = 2.35, p = .03) at the .05 level.en
dc.format.extent2195355 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1194-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการจัดการผู้ป่วยรายกรณีen
dc.subjectผู้สูงอายุen
dc.subjectพยาบาล--ความพอใจในการทำงานen
dc.titleผลของการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาต่อความพึงพอใจของพยาบาลและจำนวนวันนอนโรงพยาบาลen
dc.title.alternativeEffect of case management model in the dependent elderly patient on nures satisfaction and length of stayen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsuvinee@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1194-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannee_ma.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.