Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17002
Title: | การพัฒนานโยบายอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์และโมชันแคปเจอร์ในประเทศไทย |
Other Titles: | Development of policy on the digital content and motion capture industry in Thailand |
Authors: | วีระยุทธ ประชุมชน |
Advisors: | จาริต ติงศภัทิย์ รัชลิดา ลิปิกรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Charit.T@chula.ac.th Rajalida.L@chula.ac.th |
Subjects: | อุตสาหกรรมภาพยนตร์ โมชัน--แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ การพัฒนาอุตสาหกรรม |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อุตสาหกรรมโมชันแคปเจอร์เป็นอุตสาหกรรมที่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมอุตสาหกรรมในกลุ่มดิจิทัลคอนเทนท์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ภาครัฐต้องการให้เกิดการพัฒนาตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง แต่ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานภาครัฐ เข้ามากำหนดทิศทางและเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ ทำให้อุตสาหกรรมโมชันแคปเจอร์ เติบโตแบบไร้การส่งเสริมให้เข้มแข็งและมีศักยภาพอย่างที่ควรเป็น ผู้วิจัยเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงข้อมูลทางเอกสารเพื่อนำมาวิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ และโมชันแคปเจอร์ไทย โดยอาศัย Diamond model ของ ไมเคิล พอร์เตอร์ เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ จากการวิเคราะห์พบว่าอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์และโมชันแคปเจอร์เป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ในระยะตั้งต้น ขาดความรู้และงานวิจัยภายในอุตสาหกรรม และมีปัญหาด้านแรงงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรม มีประเด็นปัญหาที่ต้องแก้ไข ได้แก่ การขาดงานวิจัยเทคโนโลยี ขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ ขาดการสนับสนุนในอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้อง และความไม่ชัดเจนในบทบาทของภาครัฐ แนวนโยบายที่ช่วยให้อุตสาหกรรมพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันได้คือ ประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลแก่ตลาดต่างประเทศ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล นำเข้าบุคลากรที่มีความรู้ ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมโมชันแคปเจอร์ เข้มงวดกับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา กำหนดบทบาทของหน่วยงานภาครัฐให้มีความเหมาะสม โดยกำหนดเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ไว้สองขั้นตอน ได้แก่ การพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตงานโมชันแคปเจอร์ในระดับภูมิภาค และสามารถพัฒนาเทคโนโลยีโมชันแคปเจอร์ให้แข่งขันได้ในระดับโลก |
Other Abstract: | Motion capture is one of the most important industrial that support the digital content industrial range, which is part of the industrial that is planned to develop following the Strong-Thai Action plan by Government. However, there is still having no any direct Government Unit who can set up structure, direction and aim for this business so far. Therefore this made motion capture industry growing with no direction and can not make it competitive enough. The researcher realized of this problem and collected information from interview related persons in industrial field from private sectors, education institutes, state agencies as well as paper works to analyze capacity of Thai motion capture content. The result found that there will be some problem to solve such as lack of technology research, human resource shortage, and insufficient support in related industries as well as uncertain role of government. The policies to develop competing capacity are public relation and promote to international market, develop human resource, invite high experience people, investment encourage in motion capture industry, strict with intellectual property right and the government should take supportive role. There should be two strategic steps are develop Thailand to be regional motion capture production center and compete widely to international motion capture industry. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17002 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.365 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.365 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wirayuth_pr.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.