Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17084
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบูรณ์ อินทร์ถมยา-
dc.contributor.authorไพญาดา สังข์ทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-02-26T14:18:42Z-
dc.date.available2012-02-26T14:18:42Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17084-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกโยคะที่มีต่อปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกาย และสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนที่เป็นอาสาสมัคร จำนวน 32 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 16 คนโดยจัดกลุ่มให้มีคะแนนปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่แตกต่างกัน กลุ่มแรกคือ กลุ่มควบคุมที่ออกกำลังกายตามปกติ กลุ่มที่สองคือ กลุ่มทดลองที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกโยคะเพื่อพัฒนาปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย โดยใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 60 นาที ทำการทดสอบปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า "ที" (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ เมื่อพบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของ บอนเฟอโรนี่ (Bonferroni) โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกโยคะมีพัฒนาการทางปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในด้านความสามารถในการรับรู้ภาพของร่างกายโดยการทดสอบการรับรู้การเคลื่อนไหวของแขนเชิงเส้นโค้งสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกโยคะมีพัฒนาการทางปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในด้านความสามารถในการตระหนักรู้ของร่างกายโดยการทดสอบการยืนทรงตัว ด้านความสามารถในการตระหนักรู้ของร่างกายโดยการทดสอบเดินทรงตัว และด้านความสามารถในการรับรู้ภาพของร่างกายโดยการทดสอบการรับรู้การเคลื่อนไหวของแขนเชิงเส้นโค้ง สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกโยคะมีพัฒนาการทางสมรรถภาพทางกาย ในด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และด้านความอ่อนตัว สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกโยคะมีพัฒนาการทางสมรรถภาพทางกาย ในด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ด้านความอดทนของกล้ามเนื้อ ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้านพลังของกล้ามเนื้อ และด้านความอ่อนตัว สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeTo study the effects of a yoga exercising program on bodily-kinesthetic intelligence and physical fitness of fourth to sixth grade students. The thirty-two subjects were volunteer students selected and then divided equally into two groups by using the scores from testing bodily-kinesthetic intelligence by matching group method. Group 1 was the control group under normal exercise training and group 2 was the experimental group under yoga exercising program. Group 2 trained for 60 minutes a day, 3 days a week, and for 8 weeks. The bodily-kinesthetic intelligence test and physical fitness test were measured before training, after training in 4 weeks and after training in 8 weeks in both groups. The obtained data were then statistically analyzed in term of means, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance with repeated measures, and multiple comparison by the Bonferroni Method and were also employed to determine the significant difference at .05 level. The results were as follows : 1. After 4 weeks, the test of bodily-kinesthetic intelligence: body image of range of motion in curvilinear in the experimental group under yoga exercising program were significantly higher than prior training at .05 level. 2. After 8 weeks, the test of bodily-kinesthetic intelligence: body awareness of static balance and dynamic balance, body image of range of motion in curvilinear in the experimental group under yoga exercising program were significantly higher than prior training and the control group at .05 level. 3. After 4 weeks, the test of physical fitness: cardio-respiratory endurance, muscular strength and flexibility in the experimental group was significantly higher than prior training at .05 level. 4. After 8 weeks, the test of physical fitness: cardio-respiratory endurance, muscular endurance, muscular strength, muscular power and flexibility in the experimental group was significantly higher than prior training and the control group at .05 levelen
dc.format.extent4284894 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1433-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโยคะ (กายบริหาร)en
dc.subjectโยคะ (กายบริหาร) สำหรับเด็กen
dc.subjectการยืดเหยียดen
dc.subjectจิตวิทยาพัฒนาการen
dc.subjectพหุปัญญาen
dc.subjectสมรรถภาพทางกายen
dc.titleผลของโปรแกรมการฝึกโยคะที่มีต่อปัญญาด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6en
dc.title.alternativeEffects of a Yoga exercising program on bodily-kinesthetic intelligence and physical fitness of fourth to sixth grade studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSomboon.I@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1433-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
paiyada_su.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.