Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17117
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิราพร เกศพิชญวัฒนา | - |
dc.contributor.author | ธีรวรรณ คนชม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-02-27T15:03:38Z | - |
dc.date.available | 2012-02-27T15:03:38Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17117 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การจัดการของผู้ดูแลที่เป็นบุคคลในครอบครัวกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้ดูแลที่เป็นบุคคลในครอบครัวและมีความเกี่ยวข้องในฐานะญาติกับผู้สูงอายุ เคยผ่านประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในอดีต หรือมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในปัจจุบัน สามารถจัดการ หรือให้การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมได้ดี โดยได้รับการยืนยันจากผู้ที่มีข้อมูล (Gate keeper) ว่าสามารถปรับตัว ดำรงชีวิตอยู่ในบทบาทของการเป็นผู้ดูแลได้ จำนวน 11 ราย รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการบันทึกเทป นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ (Verbatim transcription) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า ประสบการณ์การจัดการของญาติผู้ดูแลกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมประกอบไปด้วย 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) การเข้าใจและการยอมรับ โดยผู้ดูแลต้องเข้าใจอาการของโรค ยอมรับกับความจริง และยอมรับพฤติกรรมที่ผู้สูงอายุแสดงออก รวมทั้งยอมรับบทบาทของการเป็นผู้ดูแล 2) การเรียนรู้การดูแล โดยเริ่มจากการค้นหาข้อมูล ทั้งจากผู้ที่มีความรู้ การลองผิดลองถูก และจากประสบการณ์ของผู้อื่น 3) การค้นหาวิธีการดูแลที่เหมาะสม โดยการมีความคิดสร้างสรรค์ การสั่งสมประสบการณ์ การเรียนรู้จากพฤติกรรม และปรับการดูแลให้เหมาะสม 4) การจัดการกับความเครียด โดยการสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว และการใช้ศาสนาเป็นที่พึ่งทางจิตใจ โดยผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง และเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม สำหรับผู้ดูแลที่ไม่สามารถปรับตัว หรือไม่สามารถเผชิญปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ | en |
dc.description.abstractalternative | This research was conducted with the objectives of describing the management experiences of family caregivers and the problematic behaviors of elderly patients with dementia by employing the qualitative research method of phenomenology. The main data providers consisted of 11 family caregivers who currently provide care to the elderly or used to take care of the demented elderly .These family caregivers have experiences in effectively providing or managing the problematic behaviors of elderly with dementia verified by gatekeepers. The data was collected by in-depth interviews and tape recorded. The data obtained was transcribed verbatim and data analysis was performed by content analysis. According to the research findings, it was indicated that the management experiences of family caregivers and the problematic behaviors of elderly patients with dementia consisted of the following main issues: 1) Understanding and acceptance where caregivers must understand the symptoms of the disease, accept the facts and accept behaviors displayed by the elderly patients while also accepting their roles as caregivers; 2) Learning about caregiving, beginning with searches for data from individuals with knowledge, trial and error, and the experiences of others; 3) Searching for appropriate care-giving methods with creativity, experience building, learning from behaviors and suitable care-giving adjustments; 4) Stress management by building family relationships with emotional reliance upon religion. The results of this study can be implemented as guidelines and baseline data for managing the problematic behaviors of elderly patients with dementia for family caregivers who are unable to adapt or confront these problems effectively | en |
dc.format.extent | 2376220 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1506 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en |
dc.subject | ภาวะสมองเสื่อม | en |
dc.subject | สมองเสื่อม--วัยชรา | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ--การดูแล | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ--ความสัมพันธ์ในครอบครัว | en |
dc.subject | ผู้ดูแล--แง่จิตวิทยา | en |
dc.title | ประสบการณ์ของผู้ดูแลที่เป็นบุคคลในครอบครัวในการจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม | en |
dc.title.alternative | The family caregiver's experiences in managment with problematic behaviors of elderly with dementia | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | wwattanaj@ yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.1506 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thirawan_ko.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.