Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17151
Title: | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังวัยผู้ใหญ่ : การวิเคราะห์อภิมาน |
Other Titles: | Factors related to self management in adult patients with chronic illness : a meta analysis |
Authors: | จารินี ถิรภัทรพันธ์ |
Advisors: | ชนกพร จิตปัญญา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th |
Subjects: | ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การสังเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังวัยผู้ใหญ่ 2) ศึกษาปัจจัยและวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังวัยผู้ใหญ่ 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จำแนกตามตัวแปรปัจจัย 4) อธิบายความแปรปรวนของค่าดัชนีมาตรฐานสหสัมพันธ์จำแนกตามตัวแปรปัจจัย โดยศึกษาจากรายงานวิจัยในประเทศไทยและต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2552 จำนวน 20 เรื่อง เครื่องมือที่นำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเที่ยง โดยวิธีใช้ผู้ประเมินร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass, McGaw & Smith (1981) ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จำนวน 115 ค่า ผลการสังเคราะห์สรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นรายงานการวิจัย (70%) รูปแบบการวิจัยส่วนใหญ่เป็นแบบเชิงสหสัมพันธ์ (45%) และศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวานมากที่สุด (50%) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับตนเองที่ถูกนำมาศึกษามากที่สุด คือ ปัจจัยด้านส่วนบุคคล (42.14%) และคุณภาพของงานวิจัยส่วนมากดีมาก (95%) 2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในภาพรวมสูงสุด คือ ปัจจัยด้านพฤติกรรม ([r-bar] =.445) และน้อยสุด คือ ปัจจัยด้านส่วนบุคคล ([r-bar] =.332) 3. ปัจจัยด้านพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มากกว่าปัจจัยทางด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมกายภาพและปัจจัยด้านส่วนบุคคล 4. ปัจจัยด้านส่วนบุคคล ปัจจัยด้านพฤติกรรม ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมกายภาพ และปัจจัยด้านสรีรวิทยา สามารถร่วมกันทำนายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังวัยผู้ใหญ่ได้ร้อยละ 5.7 |
Other Abstract: | The purpose this meta-analysis were: 1) to study methodological and substance characteristic to of the studies related to self management in adult patients with chronic illness; 2) to identify the factors related to self management in adult patients with chronic illness; 3) compare mean correlation coefficients across factors 4) to study the influences of factors variables on the correlation coefficients. Twenty correlation studies conducted in Thailand and foreign countries during 2000-2009 were recruited. Studies were analyzed for methodological, and substantive characteristics. Correlation coefficients were calculated using the method of Glass, McGaw & Smith (1981). This meta-analysis yielded 115 correlation coefficients. The results of this meta-analysis were as follows: 1. The majority of the study were research (70%). Almost of the studies conducted in patients with diabetic mellitus (55%). Factors related to self-management mostly investigated was the personal factor (42.10%) and more than half of them were at very good quality (95%). 2. The factor is correlation self-management was the highest behavior factor ([r-bar] = .445), and personal factor was the least correlation ([r-bar] =.332). 3. Behavior factor had mean correlation coefficients highest environmental – social factor and personal factor. 4. Personal factor, behavior factor, environmental – social factor, and physiological factor were statistically significant correlation factors related and self management in adult patients with chronic illness of 5.7% |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17151 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.819 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.819 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
jarinee_ti.pdf | 1.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.