Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17324
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณโฟเลตในอาหารที่บริโภคกับปริมาณโฟเลตในเลือดและน้ำนมแม่ของสตรีให้นมบุตร ณ โรงพยาบาลศรีวิชัย 2
Other Titles: Relationships between dietary folate intake and folate contents in blood and breast milk of lactating women at Srivichai 2 hospital
Authors: ประภาพรรณ เตชธนัง
Advisors: อรอนงค์ กังสดาลอำไพ
ธิติรัตน์ ปานม่วง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Oranong.K@Chula.ac.th
Thitirat.P@Chula.ac.th
Subjects: มารดาและทารก
มารดาและบุตร
น้ำนมคน
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
กรดโฟลิก
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โฟเลตเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโต และการแบ่งตัวของเซลล์ในร่างกายในสตรีตั้งครรภ์และสตรีให้นมบุตร การได้รับปริมาณโฟเลตไม่เพียงพออาจส่งผลให้ทารกเกิดภาวะโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงใหญ่ได้ การศึกษานี้ได้วิเคราะห์ปริมาณโฟเลตในเลือด และน้ำนมในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสตรีให้นมบุตรจำนวน 75 คนที่มาพบแพทย์ ณ คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลศรีวิชัย 2 ด้วยวิธีทางจุลชีววิทยาโดยใช้เชื้อ Lactobacillus casei, ATCC. No. 7469 และประเมินพฤติกรรมการบริโภคโดยใช้แบบสอบถามอาหารที่บริโภคย้อนหลัง 24 ชั่วโมง และแบบสอบถามความถี่อาหารบริโภคกึ่งปริมาณ ปริมาณโฟเลตที่ได้รับจากอาหารจากการคำนวณจากแบบสอบถามอาหารที่บริโภคทั้ง 2 แบบ พบว่ากลุ่มตัวอย่างได้รับโฟเลตจากอาหาร 289.69 ± 21.10 และ 405.32 ± 22.60 ไมโครกรัม ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าความต้องการสำหรับสตรีให้นมบุตร และพบว่าปริมาณโฟเลตเฉลี่ยในซีรัม ในเม็ดเลือดแดง และในน้ำนมแม่ 9.31 ± 2.17, 305.19 ± 12.06 และ 34.09 ± 3.48 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ซึ่งปริมาณโฟเลตในน้ำนมแม่มีปริมาณที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของทารก เนื่องจากทารกในช่วง 2-3 เดือนแรกจะได้รับโฟเลตจากนมเท่านั้น สำหรับปริมาณโฟเลตที่ได้รับจากอาหารซึ่งคำนวณจากการบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณโฟเลตในซีรัม (r = 0.733, p = 0.001) จากแบบสอบถามความถี่อาหารบริโภคกึ่งปริมาณมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณโฟเลตในเม็ดเลือดแดง และในน้ำนมแม่ (r = 0.672, 0.668; p = 0.001 ตามลำดับ) นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่าปริมาณโฟเลตในน้ำนมแม่สัมพันธ์กับปริมาณโฟเลตในเม็ดเลือดแดง (r = 0.878, p = 0.001) เนื่องจากปริมาณโฟเลตในน้ำนมแม่จะสัมพันธ์กับปริมาณโฟเลตที่แม่ได้รับจากอาหารที่บริโภคและภาวะโฟเลตของแม่ ดังนั้นสตรีให้นมบุตรควรได้รับคำแนะนำและส่งเสริมให้บริโภคอาหารที่มีโฟเลตสูงเพื่อเฝ้าระวังภาวะขาดโฟเลตในทารก
Other Abstract: Folate, a B vitamin, is essential for normal growth and proliferation of human cells. In pregnant and lactating women, inadequate folate intake results in megaloblastic anemia in infant. This study investigated the folate contents in blood and breast milk of 75 lactating women at Maternal Milk Clinic, Srivichai 2 Hospital by microbiological method using Lactobacillus casei, ATCC. No.7469. The subjects also completed the 24-hour recalled questionnaire and semiquantitative food frequency questionnaire (SFFQ) to assess dietary folate intakes. The calculated average dietary folate intake was found to be 289.69 ± 21.10 and 405.32 ± 22.60 microgram per day base on 24-hour recalled questionnaire and SFFQ, respectively, which were lower than the requirement for lactating women. The mean folate contents of serum, red blood cell and breast milk were 9.31 ± 2.17, 305.19 ± 12.06 and 34.09 ± 3.48 nanogram per milliliter, respectively. The breast milk folate in this study was inadequate for infant as it was the only source of folate for infants in the first few months of life. The calculated dietary folate intake base on 24-hour recalled questionnaire was significantly correlated with serum folate (r = 0.733, p = 0.001). There were significant relationships between calculated dietary folate intake base on SFFQ and red blood cell folate (r = 0.672, p = 0.001) and breast milk (r = 0.668, p = 0.001). In addition, the results showed that the folate content in breast milk was significantly correlated with that in red blood cell (r = 0.878, p = 0.001). As folate content in breast milk is correlated with the folate content in maternal diet and her folate nutritional status, therefore, to prevent folate deficiency in infant, nursing mother should be informed and promoted to take high folate food
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17324
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1391
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1391
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prapaphan_te.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.