Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17334
Title: บทบาทและการใช้พื้นที่ในสวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Roles and space utilization in Lumphini park, Bangkok
Authors: พงศธร เนตรวิเชียร
Advisors: ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sakchai.K@Chula.ac.th
Subjects: การใช้ที่ดินในเมือง
พื้นที่สาธารณะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
สวนลุมพินี (กรุงเทพฯ)
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของสวนลุมพินี 2) วิเคราะห์รูปแบบและใช้พื้นที่ทางด้านกายภาพภายในสวนลุมพินี 3) ศึกษาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่สวนลุมพินี ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อเสริมสร้างความคุ้มค่าทางกายภาพ มีวิธีการศึกษาโดย ใช้การแจกแบบสอบถามจำนวน 390 ชุด โดยใช้วิธีการสุ่มแจกผู้ที่เข้ามาใช้สวนลุมพินีตลอดช่วงเวลาที่เปิดให้บริการ และการสังเกตการณ์โดยการบันทึกรูปแบบ ประกอบด้วย 1) บันทึกอัตราการสัญจรผ่าน (Gate Method) เป็นการนับปริมาณคนเดินเท้าที่สัญจรในแต่ละด่าน (Gate) ที่เข้ามาใช้พื้นที่ภายในสวนลุมพินี โดยการกำหนดตำแหน่งของด่าน ณ ประตูทางเข้า-ออก 2) บันทึกรูปแบบการสัญจรผ่าน (Movement Trace) เป็นการบันทึกเส้นทางสัญจรของคนเดินเท้าเข้ามาในพื้นที่สวนลุมพินี โดยการสะกดรอยเริ่มต้นเมื่อผู้ถูกติดตามเข้ามาในพื้นที่ ณ จุดประตูเข้า-ออก 3) บันทึกรูปแบบกิจกรรมการจับจองพื้นที่ (Static Snapshots) เป็นการบันทึกรูปแบบกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะอย่างเป็นระบบ โดยจะทำการบันทึกตำแหน่งของคนที่ทำกิจกรรมต่างๆ ลงในแผนที่ มีการแบ่งแยกสัญลักษณ์ตามประเภทคนและกิจกรรมการศึกษาเพื่อบันทึกรูปแบบกิจกรรมการจับจองที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า สวนลุมพินีมีรูปแบบการใช้พื้นที่ ดังนี้ 1) การบันทึกอัตราการสัญจรผ่าน ประตูที่มีการสัญจรผ่านเข้ามาในพื้นที่มากทีสุดคือ ประตู 3 (ถนนพระรามที่ 4) ประตู 4 (พระบรมรูป ร.6) 2) การบันทึกรูปแบบการสัญจรผ่าน (1) รูปแบบการสัญจรระยะยาว คือการสัญจรที่มีจุดหมายปลายทางอยู่ใจกลางพื้นที่และระยะสั้นในพื้นที่ คือการสัญจรที่มีจุดหมายปลายทางอยู่ใกล้บริเวณประตูทางเข้า-ออก (2) รูปแบบการสัญจรผ่าน-ออกนอกพื้นที่ คือใช้สวนลุมพินีเป็นเพียงทางสัญจรผ่านเท่านั้น (3) รูปแบบจุดหมายปลายทางที่มีการทับซ้อนของพื้นที่ คือบริเวณที่มีจุดหมายปลายทางของผู้ที่สัญจรผ่านเข้าไปใช้ทำกิจกรรมในช่วงเวลาเดียวกัน 3) บันทึกอัตราการสัญจรผ่าน มีรูปแบบคือ (1) การจับจองพื้นที่ที่มีการถูกใช้งานตลอดเวลา คือพื้นที่ที่ถูกใช้งานอยู่ตลอดเวลาและมีกิจกรรมที่เกิดเพียงกิจกรรมเดียวเท่านั้น เช่น บริเวณเก้าอี้ม้านั่ง บริเวณที่ตั้งเครื่องออกกำลังกาย (2) การจับจองพื้นที่ที่มีการถูกใช้งานเป็นช่วงเวลา คือพื้นที่ที่ถูกใช้ทำกิจกรรมเดียว แต่จะถูกใช้ตามช่วงเวลาของกิจกรรมที่เกิดขึ้นเท่านั้น เช่น บริเวณลานหลังพระบรมรูป ร.6 (3) การจับจองพื้นที่ที่มีการถูกใช้งานในพื้นที่เดียวกันโดยมีการสับเปลี่ยนกิจกรรมตามช่วงเวลา คือพื้นที่ที่เดียวแต่จะถูกใช้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย ในช่วงเวลาต่างๆ เช่นบริเวณโดยรอบพื้นที่สวนปาล์ม และบทบาทของสวนลุมพินีประกอบดังนี้ 1) สนองตามพระราชประสงค์ พระสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 2) อยู่ใจกลางเมืองล้อมรอบด้วยย่านๆต่างที่สำคัญ และมีระบบขนส่งสาธารณะที่สะดวกในการเดินทางเข้าถึงพื้น 3) แหล่งศูนย์รวมทางสังคม เป็นสถานที่พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน 4) ศูนย์รวมความหลากหลายของกิจกรรม สวนลุมพินีนับได้ว่าเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด และเป็นที่เหมาะสมต่อกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายที่สามารถใช้พื้นที่พื้นที่เดียวที่จัดกิจกรรมในช่วงเวลาเดียวกัน 5) สภาพทางเศรษฐกิจ สวนลุมพินีเป็นแหล่งลงทุนและให้บริการแก่ผู้มาใช้บริการในการแลกเปลี่ยน-ซื้อสินค้า และส่งเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชนรวมถึงประหยัดค่าใช้ในการรักษาพยาบาล และประหยัดเวลาในเดินทาง6) การใช้พื้นที่ปัจจุบัน ช่วงเวลาที่เกิดการใช้พื้นที่สูงสุด กล่าวคือช่วงเวลาที่เกิดความหนาแน่นของผู้ที่เดินทางเข้ามาใช้พื้นที่ภายในสวนลุมพินีมากที่สุด คือ ช่วงเวลา 4.30 – 8.30 น. ในตอนเช้า และช่วงเวลา 16.30 – 18.30 น. ในตอนเย็น จากผลของการศึกษาทั้งหมด แสดงให้เห็นว่าสวนลุมพินีมีความโดดเด่นของที่ตั้ง และมีการใช้ประโยชน์เป็นปอดขนาดใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ที่มีคุณสมบัติที่ดีและมีคุณค่าต่อเมือง
Other Abstract: The objectives of this thesis are 1) to study the role of Lumphini Park, 2) to analyze its size, form and how the space is being used within the park area and 3) to develop a possible approach to reinvent and improve the Lumphini Park area to make it more attractive to residents. To analyze the role and importance of Lumphini Park a questionnaire was used to interview random visitors of the park area within the opening times. Furthermore a statistical evaluation was performed to record 1) the usage ratio of all the Parks entrances (Gate Method) by counting the number of visitors by each entrance point.2) Additionally a movement trace study was used to collect and analyze the movement patterns of visitors differentiated by the used entrance point. 3) Subsequently an activity map was created to show different activities within the Park Area (Static Snapshots) to analyze the Lumphini Parks usage in more detail for further improvements. The results of the survey are: 1) The entrances most used by visitors are Gate III (Rama IV Road) and Gate IV (King Rama the VI Statue) 2) Movement trace findings 2.1) People who visited the Park for a longer period of time usually stayed in the center area, short term visitors mostly stayed closer to the entrances. 2.2) Most people that stayed in the outer areas mostly used the Park as a mean to reach another area of the city. 2.3) Park Visitors usually tend to use their destinations within the Park for more than one activity. 3) Usage data findings 3.1) Many areas of the Park are only used for one single purpose. For example places with benches for people to just rest and relax, while other places are only used to do physical exercise. 3.2) Other areas are used for several activities but scheduled by a defined time table. Good example is the Royal Plaza behind the Rama 6th Statue. 3.3) Other places could also be used for alternative activities instead of just being used for a single purpose also scheduled by a defined time table. Example is an area of palm tree garden. The purpose of the Lumphini Park is: 1) To serve the King Mongkutklaos purpose (King Rama VI) 2) The Lumphini Park is located in a central location in downtown surrounded by public transport stations (Bus, BTS and MRT) 3) Central area of marketplace and social activities 4) Lumphini Park is the largest area in Bangkok to offer a great variety of activities within its main area and vicinity. 5) From an economical point of view Lumphini Park and surroundings is a great area for investment that not only includes opportunities of shopping areas but also includes possibilities for medical treatment facilities to serve the local residents. 6) The prime times of the Park area are between 4.30 – 8.30 am and 4.30 – 8.30 pm. In these periods of time the Park usually has its peak of visitors. In conclusion it can be said that the Lumphini Park fulfills its outstanding role as a central hub to provide many different activities to the local residents. Additional improvements can strengthen its important role as a place to meet and greet within downtown Bangkok
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17334
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1415
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1415
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phongsatorn_ne.pdf14.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.