Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17363
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์ | - |
dc.contributor.author | อรชุมา สุขลิ้ม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-03T08:34:50Z | - |
dc.date.available | 2012-03-03T08:34:50Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17363 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | ที่มาการประเมินความเสี่ยงด้านภูมิคุ้มกันก่อนการปลูกถ่ายอวัยวะมีผลต่อการทำงานของไต การตรวจหาแอนติบอดีที่จำเพาะต่อผู้บริจาคถือเป็นการประเมินขั้นพื้นฐานก่อนการปลูกถ่ายไต โดยการตรวจพบแอนติบอดีที่จำเพาะต่อผู้บริจาคก่อนการปลูกถ่ายอวัยวะจะมีผลต่อการทำงานไตที่ลดลงและเกิดการปฏิเสธไตมากขึ้น แต่การประเมินในด้านการตอบสนองของเซลล์ก่อนการปลูกถ่ายไตต่อการทำงานของไตนั้นไม่ได้ทำการศึกษากันทั่วไป การตรวจปฏิกิริยาลิมโฟไซต์ระหว่างเซลล์ของผู้บริจาคและผู้รับไตนั้นจัดเป็นการประเมินด้านการตอบสนองของเซลล์ชนิดหนึ่ง จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้ที่ต้องการหาความสัมพันธ์ระหว่างปฏิกิริยาลิมโฟไซต์ก่อนการปลูกถ่ายไตกับผลลัพธ์ที่ได้หลังการปลูกถ่ายไต วิธีการศึกษา ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการตรวจปฏิกิริยาลิมโฟไซต์โดยใช้สี CFSE เป็นตัวตรวจวัดการแบ่งตัวของลิมโฟไซต์ก่อนการปลูกถ่ายไต ซึ่งแสดงผลเป็นค่าดัชนีการกระตุ้น และหลังจากติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 3 เดือน ทำการเก็บข้อมูลด้านการทำงานของไต เช่น ครีเอตินีนเพื่อนำมาคำนวณค่าการกรองของไตและการเกิดการปฏิเสธไต จากนั้นนำค่าดัชนีการกระตุ้นที่ได้มาหาความสัมพันธ์กับการทำงานของไตและการปฏิเสธไตที่ 3 เดือน ผลการศึกษา ผู้ป่วย 11 รายที่เข้าร่วมการศึกษาเกิดการปฏิเสธไตทั้งสิ้น 2 ราย พบว่าผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี มีค่าดัชนีการกระตุ้นจากปฏิกิริยาลิมโฟไซต์สูงกว่าผู้ป่วยที่มีอายุมีมากกว่า 40 ปี (7.89 ± 6.87/3.32 ± 5.14, p = 0.04) ผู้ป่วยที่เกิดการปฏิเสธไตมีค่าดัชนีการกระตุ้นสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่เกิดการปฏิเสธไต (9.99 ± 8.23/3.36 ± 4.81, p = 0.05) ผู้ป่วยที่มี PRA มากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์, HLA mismatch มากกว่า 3 และไตไม่ทำงานทันทีหลังผ่าตัดมีแนวโน้มของค่าดัชนีการกระตุ้นสูงกว่าแต่ไม่พบแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและการศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ของค่าดัชนีการกระตุ้นกับค่าการกรองของไตที่ 3 เดือนหลังปลูกถ่ายไต สรุปผลการศึกษา ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยและเกิดการปฏิเสธไตมีค่าดัชนีการกระตุ้นจากปฏิกิริยาลิมโฟไซต์สูงกว่าผู้ป่วยที่มีอายุมากและไม่เกิดการปฏิเสธไต ปฏิกิริยาลิมโฟไซต์ก่อนการปลูกถ่ายไตน่าจะมีประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงต่อการปฏิเสธไตได้ | en |
dc.description.abstractalternative | Background: Pre-transplant immunologic risk assessments determine renal allograft outcomes. Pre-transplant humoral immunologic risk evaluations include panel reactive antibody (PRA) and crossmatching which are standard protocols. The pre-transplant cellular immunologic risk evaluation has not been routinely assessed. This study was aimed to evaluate role of pre-transplant cellular immunologic risk assessment by the MLR and renal allograft outcomes. Method: The MLR by CFSE assay were performed prior to kidney transplantation. CFSE-labeling was used as the lymphocyte proliferate marker. The renal allograft outcomes, creatinine, estimated glomerular filtration rate (eGFR), and acute rejection at 3 months were evaluated. The eGFR was calculated by abbreviated MDRD formula. The MLR was expressed as stimulation index (SI). Results: There were 11 patients participating in this study. Eight and three underwent living-related and cadaveric kidney transplantation, respectively. Biopsy proven acute rejection was diagnosed in two recipients. The younger recipients (< 40 yr) had significantly higher SI when compared with the older recipients (≥ 40 yr) (7.89 ± 6.87 vs 3.32 ± 5.14, p=0.04). The SI by MLR was higher in rejected patients than non-rejected recipients (9.99 ± 8.23 vs 3.36 ± 4.81, p=0.05). The cadaveric renal transplant recipients had slightly higher SI when compared with the living-related renal transplant recipients. There were tendencies to have higher SI in recipients who had higher PRA (≥ 25 %) (6.31 ± 6.35 vs 3.5 ± 5.54), higher HLA mismatch (≥ 3) (5.97 ± 6.83 vs 2.10 ± 1.50), and delayed graft function (DGF) (6.82 ± 7.97 vs 3.71 ± 5.01) but not statistically significant. There was no correlation between SI by MLR and the eGFR. Conclusion: The younger recipients and the recipients who had acute rejection had higher pretransplant SI by MLR-CFSE assay than the older and non-rejected recipients. The SI by MLR-CFSE assay may be beneficial to evaluate the cellular immunologic risk of acute rejection. | en |
dc.format.extent | 1764638 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.275 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ไต--การปลูกถ่าย | en |
dc.subject | ลิมโฟไซต์ | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิกิริยาลิมโฟไซต์ก่อนการปลูกถ่ายไตกับผลลัพธ์ที่ได้หลังการปลูกถ่ายไต | en |
dc.title.alternative | The association of pre-transplant mixed lymphocyte reaction (MLR) by carboxy-fluorescein diacetate succinimidyl ester (CFSE) assay and renal allograft outcomes | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | kearkiet@hotmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.275 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Onchuma_So.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.