Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17367
Title: ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยจิตเภท
Other Titles: Selected factors related to perceived stigma of schizophrenic patients
Authors: อุบลรัตน์ สิงหเสนี
Advisors: เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Pennapa.D@Chula.ac.th, dnayus@yahoo.com
Subjects: ผู้ป่วยจิตเภท
การรับรู้
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยจิตเภทและศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่าง กลุ่มอาการทางบวกทางลบ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความหวัง การเห็นคุณค่าในตนเอง การปรับตัวทางสังคม การสนับสนุนทางสังคม กับการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการรักษาต่อเนื่องที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลศรีธัญญา และโรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา จำนวน 120 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการทางจิต แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบประเมินความหวัง แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามการปรับตัวทางสังคม (ด้านการทำกิจกรรมประจำวัน ด้านการทำกิจกรรมยามว่าง) แบบสอบถามสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการรับรู้ตราบาป ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงของเครื่องมือ มีค่าความเที่ยง .72 .92 .94 .74 .86 .76 .98 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้ 1. การรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยจิตเภทโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 50.52, SD = 11.71) 2. การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความหวัง การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.405, -.398, -.383 ตามลำดับ) 3. กลุ่มอาการทางบวกทางลบ การเห็นคุณค่าในตนเอง การปรับตัวทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ตราบาปของผู้ป่วยจิตเภท
Other Abstract: The purposes of this descriptive correlation study were to examine the level perceived stigma and to study the relationships between positive negative symptoms, self-efficacy, hope, self-esteem, social adjustment, social support, satisfaction perceived stigma of schizophrenic patients. The subjects were 120 out patients with schizophrenia at Srithanya Hospital and Chachoengsao Hospital. They were selected by simple random sampling technique. Data was collected by using the Demographic Data Form, Brief Psychiatric Rating Scale (BPRS), Self-Efficacy scale, Hope scale, Rosenberg Self Esteem scale, Katz Adjustment scale, Social Support Questionnaire, and Consumer Experiences of Stigma Questionnaire (CESQ). The instruments were tested for content validity by a panel of experts. They demonstrated acceptable reliability with Cronbach’s alphas at .72 .92 .94 .74 .86 .76 .98 and .80 respectively Statistical technique used in data analysis were descriptive statistics and Pearson’s product-moment correction. Major findings of this study were as follows: 1 Mean score of adherence to Perceived stigma of schizophrenic patients was at moderate level (X̅ = 50.52, SD = 11.71) 2 Adequacy of self-efficacy, hope, social support of control were negative and significantly related to Perceived stigma of schizophrenic patients, at.05 level. (r= -.405, -.398, -.383 spectively.) 3 Positive negative symptom, self-esteem, social adjustment, was not significantly related to Perceived stigma of schizophrenic patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17367
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.837
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.837
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ubonrat_si.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.