Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17424
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทองอินทร์ วงศ์โสธร-
dc.contributor.authorพราวมาศ นนทยาธร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-07T02:47:48Z-
dc.date.available2012-03-07T02:47:48Z-
dc.date.issued2520-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17424-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520en
dc.description.abstractความมุ่งหมายของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาคุณลักษณะของนักเรียนด้านสถานภาพส่วนตัวและสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของครอบครัว และต้องการหาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านสถานภาพส่วนตัว สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม องค์ประกอบทางจิตวิทยา และองค์ประกอบอื่นๆ กับความคาดหวังทางการศึกษาต่อของนักเรียน โดยใช้แบบสอบถามที่ครอบคลุมองค์ประกอบต่างๆ เหล่านั้น เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2519 โรงเรียนมัธยมแบบประสมในกรุงเทพมหานคร 5 โรง จำนวนกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งหมด 681 คน แล้วนำมาตรวจสอบด้วยไคสแควร์ (Chisquare Test) พร้อมทั้งหาค่าสัมประสิทธิ์การณ์จร (Coefficient of Contingency) ซึ่งจะแสดงถึงระดับของความสัมพันธ์ดังกล่าว เปรียบเทียบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบระดับต่างๆ ทีละคู่ กรณีพบว่าองค์ประกอบนั้นมีความสัมพันธ์กับความคาดหวัง ด้วยไคสแควร์ (Chisquare Test) อีกครั้ง และวิเคราะห์หาสัดส่วนความคาดหวังทางการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนที่มีองค์ประกอบระดับต่างกันในแต่ละระดับของความคาดหวัง ด้วยการทดสอบความแตกต่างของสัดส่วนทีละคู่ โดยการทดสอบด้วยค่าซี (z-test) ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. สถานภาพส่วนตัว ได้แก่ โรงเรียน เพศ สัมฤทธิผลทางการเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไม่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังทางการศึกษาต่อของนักเรียน แต่แผนกวิชา และอายุ มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังทางการศึกษา กล่าวคือ นักเรียนแผนกวิทย์ และแผนกทั่วไป มีความคาดหวังไม่แตกต่างกัน แต่นักเรียนแผนกศิลป์มีความคาดหวังแตกต่างจากแผนกอื่น อย่างมีนัยสำคัญ คือแตกต่างจากแผนกวิทย์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 และแตกต่างจากแผนกทั่วไป ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .001 ผู้มีความคาดหวังสูงส่วนใหญ่มาจากนักเรียนแผนกศิลป์ และผู้มีความคาดหวังต่ำส่วนใหญ่มาจากแผนกทั่วไป นักเรียนที่มีอายุปฏิทินต่ำกว่าชั้นเรียน มีความคาดหวังแตกต่างจากกลุ่มที่มีอายุปฏิทินสูงกว่าชั้นเรียน ผู้มีความคาดหวังต่ำส่วนใหญ่มาจากกลุ่มที่มีอายุปฏิทินสูงกว่าชั้นเรียน แต่ในระดับอื่นมีสัดส่วนไม่แตกต่างกัน 2. สถานภาพทางเศรษฐกิจต่อสังคมของครอบครัว ได้แก่ จำนวนพี่น้อง ภูมิลำเนา อาชีพบิดา อาชีพมารดา อาชีพผู้ปกครอง รายได้ผู้ปกครอง และสถานภาพสมรสของบิดามารดา ไม่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังทางการศึกษาต่อของนักเรียน แต่การศึกษาของบิดามารดา และรายได้ของบิดามารดา มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความคาดหวังของนักเรียน 3. องค์ประกอบทางจิตวิทยา มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความคาดหวังทางการศึกษาต่อของนักเรียน กล่าวคือ ผู้มีความคาดหวังสูงส่วนใหญ่มาจากนักเรียนที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองต้องการให้ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา และให้คำแนะนำบ่อยที่สุด ผู้มีความคาดหวังต่ำส่วนใหญ่มาจากนักเรียนที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไม่ต้องการให้ศึกษาต่อ และให้คำแนะนำบางครั้งบางคราว และนานๆ ครั้งหรือไม่เคยเลย 4. องค์ประกอบด้านอื่นๆ ได้แก่ การเตรียมตัวดูหนังสือสอบ การเลือกแขนงวิชาในการศึกษาต่อ และบุคคลที่นักเรียนปรึกษาหารือ ไม่มีความสัมพันธ์กับความคาดหวังทางการศึกษาต่อของนักเรียน-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this thesis were : to study the student characteristics and the socio- economic status of their family; and to determine the relationships of student characteristics, socio- economic status, psychological and other factors to their educational aspirations. The questionnaires were constructed to obtain information concerning students characteristics, socio- economic status, psychological variables and other factors. They were mailed to 681 M.S. 5 students of 5 comprehensive high schools. The data were analyzed by x²- test, coefficient of contingency and z-test. The study revealed that students' educational aspirations were not related to schools, sex or students' academic abilities; however they were related to students' program and age. The educational aspirations of Science students and General students were not different, but Art students differed significantly from the others. The majority of students with high aspirations come from Art while the majority of students with low aspirations were from General programs. Also the majority of students with low aspirations came from the elder groups. The aspirations were significantly related to socio- economic status of the family such as patents' education, and parents' income, but they were not related to the number of children, parents' residences, parents' occupations, and marital status of the parents. The relationship between the psychological factors and students' educational aspirations was also found. The majority of high aspiration students tended to come from parents with continuing encouragement and guidance. The opposite was true for students with low aspirations. There was no relationship between educational aspirations and other factors such as method of preparation and choice of the disciplines.-
dc.format.extent332511 bytes-
dc.format.extent354260 bytes-
dc.format.extent529506 bytes-
dc.format.extent304131 bytes-
dc.format.extent668653 bytes-
dc.format.extent339821 bytes-
dc.format.extent565670 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนักเรียน -- การสำรวจen
dc.titleความคาดหวังในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมแบบประสม ในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeAspirations for post-secondary education of comprehensive high school students in Bangkok Metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prawmas_No_front.pdf324.72 kBAdobe PDFView/Open
Prawmas_No_ch1.pdf345.96 kBAdobe PDFView/Open
Prawmas_No_ch2.pdf517.1 kBAdobe PDFView/Open
Prawmas_No_ch3.pdf297 kBAdobe PDFView/Open
Prawmas_No_ch4.pdf652.98 kBAdobe PDFView/Open
Prawmas_No_ch5.pdf331.86 kBAdobe PDFView/Open
Prawmas_No_back.pdf552.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.