Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17453
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์ | - |
dc.contributor.author | ศุภมัย พรหมแก้ว | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-07T07:19:25Z | - |
dc.date.available | 2012-03-07T07:19:25Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17453 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | ประชาคมโคพีพอดในอ่าวปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราชในฤดูแล้ง (เดือนตุลาคม 2550) และฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม 2551) ประกอบด้วยโคพีพอด 29 ชนิด จาก 5 ลำดับ ได้แก่ อับดับ Calanoida 16 ชนิด จาก 6 ครอบครัว อันดับ Harpacticoida 5 ชนิด จาก 4 ครอบครัว อันดับ Cyclopoida 3 ชนิด จาก 2 ครอบครัว อันดับ Poicelostomatoida 4 ชนิด จาก 3 ครอบครัว และ Siphonostomatoida 1 ชนิด และโคพีพอดที่เป็นชนิดเด่นในบริเวณอ่าวปากพนัง ได้แก่ Pseudodiaptomus annandalei, Psuedodiaptomus sp. และ Acartia sinjiensis การศึกษานิเวศวิทยาการกินอาหารของโคพีพอดชนิดเด่นทั้ง 3 ชนิดในฤดูฝนและในฤดูแล้ง โดยศึกษาการเรืองแสงของอาหารในกระเพาะ (gut fluorescence) พบว่าโคพีพอดทั้ง 3 ชนิดกินแพลงก์ตอนพืชเป็นอาหารหลัก โดยเฉพาะแพลงก์ตอนพืชกลุ่ม cyanobateria ซึ่งเป็น autotrophic prokaryotes ที่มีขนาดตั้งแต่พิโคแพลงก์ตอนจนถึงไมโครแพลงก์ตอน และ/หรือแพลงก์ตอนพืชกลุ่ม haptophytes ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนพืชขนาดนาโนแพลงก์ตอน สอดคล้องกับการที่พบว่านาโนแพลงก์ตอนมีมวลชีวภาพในรูปคลอโรฟิลล์ เอ สูงกว่าแพลงก์ตอนพืชขนาดอื่น ประชากรโคพีพอดทั้งสามชนิดที่อาศัยอยู่บริเวณอ่าวปากพนังตอนใน (ปากแม่น้ำปากพนัง) และอ่าวปากพนังตอนนอก (ปากคลองปากนครและปลายแหลมตะลุมพุก) มีปริมาณ gut chlorophyll a และ gut phaeopigment สูงกว่าประชากรโคพีพอดในบริเวณป่าชายเลน และโคพีพอดเพศเมียมีปริมาณ gut chl a และ gut phaeopigment สูงกว่าเพศผู้ตลอดเวลาที่ศึกษา โคพีพอดชนิด P. annandalei เพศเมียในบริเวณปากแม่น้ำปากพนังในฤดูฝน มีปริมาณ gut chl a และ gut phaeopigment สูงกว่าในบริเวณอื่นๆ ส่วนโคพีพอดเพศผู้ที่พบบริเวณปลายแหลมตะลุมพุกนั้น มีค่า gut chl a และ gut phaeopigment สูงกว่าโคพีพอดเพศผู้ในบริเวณอื่น ในขณะที่ P. annandalei เพศเมียที่พบบริเวณปากคลองปากนครในฤดูแล้งมีปริมาณ gut pigments สูงกว่าโคพีพอดเพศผู้ ส่วนโคพีพอดชนิด A. sinjiensis ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีค่า gut pigments ต่ำกว่า 0.20 µg ind-1 ในขณะที่โคพีพอดชนิด Pseudodiaptomus sp. มีปริมาณ gut chl a และ gut phaeopigment สูงสุดในบริเวณป่าชายเลนฝั่งตะวันตก ปริมาณของ gut phaeopigment ในโคพีพอดทั้งสามชนิดมีแนวโน้มแปรผกผันกับปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ จากแพลงก์ตอนพืชขนาดนาโนและพิโคแพลงก์ตอน ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนพืชกลุ่มที่มีมวลชีวภาพในรูปคลอโรฟิลล์ เอ สูงกว่า 80% ของคลอโรฟิลล์เอ ทั้งหมด ในบริเวณที่ศึกษา เนื่องจากรยางค์ในการกินอาหารของโคพีพอดทั้งสามชนิดมีระยะห่างระหว่าง plumose setae ต่ำกว่า 3 ไมโครเมตร นอกจากนี้การศึกษาการกินอาหารของโคพีพอดในรอบวันพบว่าโคพีพอดชนิด P. annandalei มีการกินอาหารสูงสุดในช่วงที่น้ำกำลังขึ้นในช่วงกลางคืน เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของรงควัตถุในกระเพาะของโคพีพอด พบรงควัตถุ 4 กลุ่ม ได้แก่ chlorophyll c, diatoxanthin, astaxanthin และ unidentified pigment โดย astaxanthin เป็นรงควัตถุที่เปลี่ยนรูปมาจาก β–carotene ซึ่งเป็นรงควัตถุที่สามารถพบได้ในแพลงก์ตอนพืชกลุ่ม chromophyta จึงสามารถบ่งชี้ได้ว่าอาหารของโคพีพอดส่วนใหญ่เป็นแพลงก์ตอนพืชในกลุ่มไดอะตอม ไดโนแฟลกเจลเลต และ haptophytes ส่วนแพลงก์ตอนสัตว์ที่พบในบริเวณอ่าวปากพนังมีโคพีพอดระยะ nauplius เป็นกลุ่มเด่น และมีแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่ม herbivorous calanoid copepods, cirripedia larvae และ rotifers ที่น่าจะกินอาหารอย่างเดียวกับโคพีพอดชนิดเด่นในบริเวณนี้ | en |
dc.description.abstractalternative | Copepods community in Pak Phanang estuary, Nakhon Si Thammarat Province were collected in wet season (October 2007) and dry season (May 2008). The result found 29 species of copepods from 5 order composed of order calanoida 16 species from 6 families, order harpacticoida 5 species from 4 families, order cyclopoid 3 species from 2 families, order poicelostomatoid 4 species from 3 families and a species from order poicelostomatoida. Pseudodiaptomus annandalei, pseudodiaptomus sp. and acartia sinjiensis were the dominant species in Pak Phanang estuary. Feeding ecology of dominant calanoid copepods from 2 seasons were studied by gut fluorescence analysis. The result indicated that the dominant copepod species fed on phytoplankton as food especially cyanobacteria with cell size varied from picoplankton to microplankton and/or haptophyte, nanophytoplankton, which was the dominant group of phytoplankton in term of chlorophyll biomass. Dominant copepod species in the inner bay and the outer bay of Pak Phanang showed higher gut chlorophyll a and gut phaeopigment than those in mangrove areas. Higher gut pigments were noticed in female copepods than in male copepods in both season. In wet season, the highest gut chl a and gut phaeopigment from female P. anandalei were recorded from Pak Phanang estuary, while gut chl a and gut phaeopigment from male P. annandalei had high level in Leam Talumpuk. In dry season, gut pigments of female P. annandalei in Pak Nakhon river mouth were higher than the male one. Gut pigments from A. sinjiensis were lower than 0.20 µg ind-1 in both sexes. Gut pigments in pseudodiaptomus sp. were highest in the western part of mangrove plantation. Gut phaeopigment of three dominant calanoid copepods tended to decrease with the increase in chlorophyll a content from nano- and picoplankton which accounted for 80% of phytoplankton biomass in term of chlorophyll a. This may due to the narrow distance between plumose setae of feeding appendage which was lower than 3 µm. The gut fluorescence of P. annandalei in 24 hrs revealed the high feeding rate during and incoming high tide. Pigment composition analyzed by HPLC analysis from guts of dominant copepods composed of 4 pigments: chlorophyll c, diatoxanthin, astaxanthin and unidentified pigment. Astaxanthin is a derivative of β–carotene, a pigment presents in chromophyta, indicating that phytoplankton food of these dominant calanoid copepods consisted of diatom, dinoflagelate and haptophytes. Zooplankton communities in Pak Phanang bay were dominated by copepods nauplii and other herbivorous calanoid copepods, cirripedia larvae and rotifers that could compete with the dominant calanoid copepods for the same foods | en |
dc.format.extent | 18966629 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1159 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โคพีพอด | en |
dc.subject | แพลงค์ตอนสัตว์ | en |
dc.subject | อ่าวปากพนัง (นครศรีธรรมราช) | en |
dc.title | นิเวศวิทยาการกินอาหารของโคพีพอดชนิดเด่นบริเวณอ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช | en |
dc.title.alternative | Feeding ecology of dominant copepods in Pak Phanang bay, Nakhon Si Thammarat province | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์ทางทะเล | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ajcharap@sc.chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.1159 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
suppamai_pr.pdf | 18.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.